ระบบสืบพันธุ์

สารอาหารกับการดำรงชีวิต
สารอาหารกับการดำรงชีวิต
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

   ก่อนที่ชายและหญิงจะย่างเข้าสู่วัยรุ่น ต่อมใต้สมองซึ่งอยู่ภายใต้ การควบคุมของสมองส่วนหน้า จะหลั่งฮอร์โมน กระตุ้นต่อมเพศในชาย และหญิงให้ผลิตฮอร์โมนเพศ ทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นหนุ่มเป็นสาว ต่อมเพศในผู้ชาย คือ อัณฑะ ส่วนต่อมเพศในผู้หญิง คือ รังไข่

ระบบสืบพันธุ์เพศชาย

     ระบบสืบพันธุ์ของเพศชายประกอบด้วย
1. อัณฑะ (testis) ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ คือ ตัวอสุจิ และสร้างฮอร์โมนควบคุมลักษณะเพศชายอยู่ในถุงอัณฑะ
2. หลอดเก็บตัวอสุจิ (epididymis) ทำหน้าที่เก็บตัวอสุจิ และเป็นที่พักของตัวอสุจิจนกว่าจะแข็งแรง
3. ท่อนำตัวอสุจิ (vas deferens) อยู่ต่อจากหลอดเก็บตัวอสุจิ ทำหน้าที่ลำเลียงตัวอสุจิไปเก็บไว้ที่ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ
4. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงตัวอสุจิ (seminal vesicle) ทำหน้าที่สร้างอาหารให้ตัวอสุจิ อาหารประกอบด้วยน้ำตาลฟรุกโตส วิตามินซี โปรตีนบางชนิด สารเมือกและสารอื่น ๆ
5. ต่อมลูกหมาก (prostate gland) ทำหน้าที่สร้างสารเป็นเบสอย่างอ่อน เพื่อลดความเป็นกรดในท่อปัสสาวะ และในระบบสืบพันธุ์เพศชาย นอกจากนี้ยังช่วยให้ตัวอสุจิแข็งแรง ว่องไว

โดยทั่วไปเพศชายจะเริ่มสร้างตัวอสุจิเมื่ออายุ 12 – 13 ปี และจะสร้างไปจนตลอดชีวิต การหลั่งน้ำอสุจิออกมาแต่ละครั้งจะมีของเหลวอยู่ประมาณ 3 – 4 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีตัวอสุจิเฉลี่ยประมาณ 300 – 500  ล้านตัว น้ำอสุจิจะถูกขับออกทางท่อปัสสาวะ และออกจากร่างกายตรงปลายสุดของอวัยวะเพศชาย ตัวอสุจิเมื่อออกสู่ภายนอกจะมีชีวิตได้เพียง 2 – 3 ชั่วโมง แต่ถ้าอยู่ในมดลูกของเพศหญิงจะอยู่ได้นานประมาณ  24 – 48 ชั่วโมง

ชายที่มีปริมาณอสุจิน้อยกว่า 30 – 50 ล้านตัวต่อ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร หรือมีตัวอสุจิที่ผิดปกติมากกว่าร้อยละ 25 จัดว่าเป็นหมัน

ตัวอสุจิมีส่วนประกอบอยู่ 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนตัว และส่วนหาง ซึ่งทำให้ตัวอสุจิเคลื่อนที่ได ้ขนาดของตัวอสุจิเล็กมาก มองด้วยตาเปล่าไมเห็น ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดู

ภาพที่ 21 อวัยวะในระบบสืบพันธุ์เพศชาย
ที่มา: หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 50
ภาพที่ 22 ส่วนประกอบของตัวอสุจิ
ที่มา: หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 50

ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง

 ระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิงประกอบด้วย
1. รังไข่ (ovary) ทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ คือ เซลล์ไข่ และสร้างฮอร์โมนควบคุมลักษณะเพศหญิง
2. ปีกมดลูกหรือท่อนำไข่ (oviduct) ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของไข่ที่ออกจากรังไข่เข้าสู่มดลูก ท่อนำไข่เป็นบริเวณที่ตัวอสุจิจะเข้าปฏิสนธิกับไข่
3. มดลูก (uterus) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ชั้นในสุดเป็นเนื้อเยื่อคล้ายฟองน้ำ ซึ่งจะสร้างรกเพื่อเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนแก๊ส สารอาหาร ของเสียระหว่างแม่กับลูกขณะตั้งครรภ์ ชั้นกลางเป็นกล้ามเนื้อที่หนาให้ความแข็งแรง มีความยืดหยุ่นสูง ขยายตัวได้หลายเท่าในระหว่างตั้งครรภ์ และหลังคลอดจะหดตัวได้เล็กเท่าเดิม ชั้นนอกสุดเป็นเนื้อเยื่อบาง ๆ มดลูกทำหน้าที่เป็นที่ฝังตัวของตัวอ่อนและเป็นที่อยู่ของตัวอ่อนจนถึงกำหนดคลอด และเป็นแหล่งที่ทำให้เกิดประจำเดือนถ้าไม่มีการตั้งครรภ์
4. ช่องคลอด เป็นทางเดินให้ตัวอสุจิเข้าสู่มดลูกและปีกมดลูก หรือให้ทารกคลอดออกมา และเป็นช่องที่ประจำเดือนออกสู่ภายนอกร่างกาย

ภาพที่ 23 อวัยวะต่าง ๆ ในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
ที่มา: หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 51
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com