ความสัมพันธ์ของระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์

สารอาหารกับการดำรงชีวิต
สารอาหารกับการดำรงชีวิต
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

    ระบบต่าง ๆ ของร่างกายจะทำงานสัมพันธ์กัน และสิ่งที่สำคัญ คือ การรับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ การออกกำลังกาย มีสุขภาพจิตที่ดี และทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต

ระบบ/ส่วนประกอบหน้าที่ความสัมพันธ์ของระบบต่าง ๆ
1. ระบบประสาท
ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาท
– ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลและรวบรวมข้อมูล เพื่อควบคุม  การทำงานและการตอบสนอง
ต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ
ของร่างกายที่อยู่ในระบบต่าง ๆ
– ถ้าสมองได้รับการกระทบกระเทือนจนเป็นอันตรายจะสั่งการไม่ได้ ทำให้ควบคุม การทำงานของอวัยวะไม่ได้
– ถ้าเซลล์สมองเสื่อมจะทำให้ความจำเสื่อม
– ถ้าไขสันหลังได้รับการกระทบกระเทือนจนรับ – ส่งคำสั่งไม่ได้ จะทำให้เป็นอัมพฤกษ์หรือรุนแรงถึงเป็นอันตราย
2. ระบบย่อยอาหาร
ประกอบด้วยปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ตับ ตับอ่อน ถุงน้ำดี และลำไส้ใหญ่
– ทำหน้าที่ย่อยอาหารที่รับประทานให้โมเลกุลของสารอาหารที่ขนาดเล็กลงจนสามารถซึมเข้าสู่หลอดเลือดได้ และมีกากอาหารที่ย่อยไม่ได้ถูกกำจัดออกจากร่างกาย– สารอาหารที่ย่อยแล้วจะซึมเข้าไปสู่
หลอดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ช่วยทำให้ร่างกายเจริญเติบโต เมื่อหายใจเข้า (ระบบหายใจ) ไปยังปอด เม็ดเลือดแดงจะรับออกซิเจนและ ลำเลียงผ่านหลอดเลือดแดงไปยังเซลล์ (ระบบไหลเวียนของเลือด) เกิดปฏิกิริยาสันดาประหว่างแก๊สออกซิเจนกับสารอาหารภายในเซลล์ทำให้เกิดพลังงานเพื่อใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ และเกิดของเสีย คือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจะถูกลำเลียงมาในกระแสเลือดทางหลอดเลือดดำมายังปอด และกำจัดออกสู่ภายนอก  เมื่อหายใจออก (ระบบกำจัดของเสีย)
– ส่วนกากอาหารจะถูกกำจัดออกจากร่างกาย (ระบบกำจัดของเสีย) ทางลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ถ้าที่ลำไส้ใหญ่มีกากอาหารสะสมอยู่นานจะมีการดูดซึมน้ำเข้าสู่ร่างกายทำให้อุจจาระแข็ง ท้องผูกเสี่ยงต่อการเป็นโรคริดสีดวงทวารและมะเร็งลำไส้ใหญ่
3. ระบบหายใจ
ประกอบด้วยจมูก หลอดลม
ปอด และกะบังลม
– ทำหน้าที่นำอากาศเข้า – ออกจากร่างกาย โดยจมูกและหลอดลมนำแก๊สออกซิเจนไปยังปอดและเข้าสู่กระแสเลือดแล้วรับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อส่งออกสู่ภายนอกร่างกายทาง
หลอดลมและจมูก
– ระบบหายใจเป็นระบบที่สัมพันธ์กับระบบไหลเวียนของเลือดและระบบกำจัดของเสีย คือระบบไหลเวียนของเลือดจะให้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นของเสียออกจากร่างกายผ่านทางปอดและรับแก๊สออกซิเจนเข้ามาและลำเลียงไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
4. ระบบหมุนเวียนเลือด
ประกอบด้วยหัวใจและหลอดเลือด
– ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารและแก๊สออกซิเจนไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย และนำของเสียจากเซลล์ต่าง ๆ ออกสู่ายนอกร่างกายทางปอดผิวหนัง และไต– ระบบไหลเวียนของเลือดจะสัมพันธ์กับระบบหายใจและระบบ กำจัดของเสีย
5. ระบบหมุนกำจัดของเสีย
ประกอบด้วยผิวหนังปอด ลำไส้ใหญ่ และไต
– ผิวหนังทำหน้าที่กำจัดของเสียที่เรียกว่าเหงื่อ
– ปอดกำจัดของเสียออกพร้อมกับลมหายใจออก คือ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
– ไตกำจัดของเสียออกจากร่างกายทางปัสสาวะ
– กากอาหารกำจัดออกจากร่างกายทางลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
– ระบบกำจัดของเสียสัมพันธ์กับระบบหมุนเวียนของเลือดที่ไต ผิวหนัง และปอด
– ส่วนการกำจัดของเสียทางลำไส้ใหญ่และทวารหนักสัมพันธ์กับระบบย่อยอาหารโดยกากอาหารที่ย่อยไม่ได้อีกแล้วจะถูกกำจัดออกทางนี้
6. ระบบสืบพันธุ์
ประกอบด้วยอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงและเพศชาย
– อวัยวะเพศทำหน้าที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์โดยเพศชายสร้างอสุจิส่วนเพศหญิงสร้างเซลล์ไข่– ระบบสืบพันธุ์สัมพันธ์กับระบบประสาท ส่วนที่เป็นต่อมใต้สมอง ซึ่งอยู่ภายใต้ การควบคุมของสมองส่วนหน้าจะ
หลั่งฮอร์โมนกระตุ้นต่อมเพศให้ผลิตฮอร์โมนเพศ ทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงเข้า สู่วัยเจริญพันธุ์
ตารางที่ 3 ความสัมพันธ์ของระบบต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com