สารเสพติดกับการป้องกัน

สารอาหารกับการดำรงชีวิต
สารอาหารกับการดำรงชีวิต
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

   สารเสพติด หมายถึง สิ่งที่เสพเข้าไปในร่างกายแล้วทำให้ร่างกายต้องการสารนั้นในปริมาณที่เพิ่มขึ้นไม่สามารถหยุดได้ มีผลทำให้ร่างกายทรุดโทรมและสภาวะจิตใจผิดปกติ

ประเภทของสารเสพติด

ประเภทของสารเสพติดแบ่งได้ 2 ประเภท ดังนั้น
1. สิ่งเสพติดตามธรรมชาติ ส่วนใหญ่ได้มาจากพืช เช่น ฝิ่น กัญชา กระท่อม
2. สิ่งเสพติดสังเคราะห์ เกิดจากมนุษย์จัดทำขึ้น เช่น เฮโรอีน ยาบ้า ยานอนหลับ ยาระงับประสาท ยากล่อมประสาท

ชนิดของสิ่งเสพติดที่พบในประเทศไทย

สิ่งเสพติดที่พบในประเทศไทยแบ่งออกได้ดังนี้
            1. สิ่งเสพติดประเภทฝิ่นและอนุพันธ์ของฝิ่น ได้แก่

  • 1.1 ฝิ่น เป็นพืชล้มลุก สารเสพติดได้จากยางฝิ่นดับ ซึ่งกรีดจากผล มีลักษณะเหนียว สีน้ำตาลไหม้
  • 1.2 มอร์ฟีน เป็นสารแอลคาลอยด์สกัดจากฝิ่น เป็นผลึกสีขาวนวลมีฤทธิ์รุนแรงกว่าฝิ่น 10 เท่า
  • 1.3 เฮโรอีน เป็นสารที่สังเคราะห์ได้จากมอร์ฟีน มีฤทธิ์รุนแรงกว่ามอร์ฟีน 10 เท่า

           2. สิ่งเสพติดประเภทยานอนหลับและยาระงับประสาท ได้แก่

  • 2.1 เชกโคนาล เป็นแคปซูลสีแดงเรียกว่า “เหล้าแห้ง”
  • 2.2 อโมบาร์บิทอล เป็นยานอนหลับบรรจุในแคปซูลสีฟ้าที่เรียกว่า  “นกสีฟ้า”
  • 2.3 เพนโทบาร์บิทอล เป็นยานอนหลับบรรจุในแคปซูลสีเหลืองเรียกว่า “เสื้อสีเหลือง”

           3. สิ่งเสพติดประเภทแอฟเฟตามีน เป็นยาประเภทกระตุ้นประสาท มีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น ยาแก้ง่วง ยาขยัน ยาบ้า ยาบ้าหรือแอมเฟตามีนมีลักษณะเป็นผง มีผลึกสีขาว บรรจุเป็นแคปซูลหรืออัดเม็ด อาจพบปลอมปนในยาคอลเฟนิรามีนพาราเซตามอล

           4. ยาอี ยาเลิฟ และเอกซ์ตาซี (ecstasy) เป็นสารเสพติดที่ระบาดในหมู่วัยรุ่นที่เที่ยวกลางคืน สารทั้ง 3 ชนิด เป็นยาเสพติดกลุ่มเดียวกัน จะแตกต่างกันบ้างในด้านโครงสร้างทางเคมี เสพโดยการรับประทาน มีฤทธิ์ในการกระตุ้นระบบประสาทระยะสั้น ๆ หลังจากนั้นจะหลอนประสาทอย่างรุนแรง ได้ยินและมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ผิดความจริง คุมสติไม่ได้ ถ้าเสพ 2 – 3 ครั้ง สามารถทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ติดเชื้อได้ง่าย

โทษของสิ่งเสพติด

โทษเนื่องจากการเสพสิ่งเสพติดแบ่งออกได้ดังนี้
1. โทษต่อร่างกาย สิ่งเสพติดทำลายทั้งร่างกายและจิตใจ เช่น ทำให้สมองถูกทำลาย ความจำเสื่อม ดวงตาพร่ามัว น้ำหนักลด ร่างกาย ซูบผอม ตาแห้ง เหม่อลอย ริมฝีปากเขียวคล้ำ เครียด ทำลายระบบภูมิคุ้มกัน
2. โทษต่อผู้ใกล้ชิด ทำลายความหวังของพ่อแม่และทุกคนในครอบครัว ทำให้วงศ์ตระกูลเสื่อมเสีย
3. โทษต่อสังคม เกิดปัญหาทางด้านอาชญากรรม สูญเสียแรงงาน สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการปราบปรามและการบำบัดรักษา
4. โทษต่อประเทศไทย ทำลายเศรษฐกิจของชาติ ทำลายทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นกำลังสำคัญของชาติ

การป้องกันสิ่งเสพติด

วิธีการป้องกันอันตรายจากสารเสพติดมีดังต่อไปนี้
1. การป้องกันตนเอง ต้องออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ เลือกคบเพื่อนที่ไม่มั่วสุมสิ่งเสพติด ไม่ทดลองหรือเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด
2. การป้องกันในครอบครัว ต้องให้ความรักความเข้าใจ และอบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษของสิ่งเสพติด
3. การป้องกันในสถานศึกษา ควรให้ความรู้เรื่องสิ่งเสพติดจัดนิทรรศการและการณรงค์ต่อต้านสิ่งเสพติด ไปศึกษาดูงาน ณ สถานบำบัดผู้ติดยาเสพติด
4. การป้องกันในชุมชน ควรจัดสถานที่ออกกำลังกาย และจัดกลุ่มแม่บ้านเพื่อให้ความรู้เรื่องสิ่งเสพติด

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com