ระบบไหลเวียนเลือด

กลไกของสิ่งมีชีวิต
กลไกของสิ่งมีชีวิต
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สัตว์มีระบบไหลเวียนเลือดคล้ายกับมนุษย์ คือ มีหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดเลือดและลำเลียงสารอาหารไปสู่เซลล์ ซึ่งเลือดของสัตว์แต่ละชนิดมีส่วนประกอบแตกต่างกัน ระบบไหลเวียนเลือดของสัตว์ แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ การไหลเวียนของเลือดแบบปิด เลือดจะอยู่ภายในหลอดเลือดตลอดทั้งวงจร กับการไหลเวียนเลือดแบบเปิดเลือด จะไม่ได้อยู่ภายในหลอดเลือด ตลอดทั้งวงจร แต่จะเข้าไปอยู่ภายในช่องว่างลำตัวด้วย

การไหลเวียนเลือดแบบปิดการไหลเวียนเลือดแบบเปิด
ลักษณะการไหลเวียนเลือด
เลือดไหลผ่านหัวใจ 1 ครั้ง ต่อ 1 รอบ 
ตัวอย่างสัตว์
ไส้เดือนดิน ปลิงน้ำจืด ปลา สัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด 
ตัวอย่างแผนผังแสดงการไหลเวียนเลือด
ปลามีหัวใจ 2 ห้อง มีเหงือกทำหน้าที่คล้ายปอด
ลักษณะการไหลเวียนเลือด
หัวใจจะบีบตัวดันเลือดออกจากหัวใจ ทางหลอดเลือดสู่ช่องว่าง ภายในลำตัว เนื้อเยื่อจะแลกเปลี่ยนแก๊ส รับออกซิเจน และคายคาร์บอนไดออกไซด์ จากรูเปิด เลือดกลับเข้าสู่หัวใจ
ตัวอย่างสัตว์
แมลง กุ้ง ปู หอย 
ตัวอย่างแผนผังแสดงการไหลเวียนเลือด
แมลงมีหัวใจเป็นท่อเล็ก ๆ มีรูเปิดเป็นระยะรอบลำตัว
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบการไหลเวียนเลือดแบบวงจรปิดและแบบวงจรเปิด

ระบบไหลเวียนเลือดของปลา 

  ปลา มีเหงือก หัวใจ และหลอดเลือดช่วยใน  การลำเลียงสาร หัวใจของปลามี 2 ห้อง ห้องบน เรียกว่า เอเทรียม (atrium) ห้องล่างเรียกว่า เวนทริเคิล (ventricle)  โดยหัวใจห้องบนรับเลือดที่มีออกซิเจนต่ำ ที่มาจากเนื้อเยื่อ แล้วสูบฉีดไปยังเหงือกเพื่อแลกเปลี่ยนแก๊ส ที่หลอดเลือดฝอยที่เหงือก แล้วเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนสูงจากบริเวณ เหงือกจะไปยังหลอดเลือดฝอยที่อวัยวะ    

ภาพที่ 5 ระบบไหลเวียนเลือดของปลา
ที่มา: หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 21

ระบบไหลเวียนเลือดของแมลง 

 แมลง เป็นสัตว์พวกอาร์โทรพอด มีระบบไหลเวียนเลือด โดยเลือดจะออกจากหัวใจไหลไปตามหลอดเลือด แล้วออกจากหลอดเลือดแทรกซึมไป ตามช่องรับเลือดที่เรียกว่า ฮีโมซีล (hemocoel) ภายในลำตัว โดยเลือดจะสัมผัส กับเนื้อเยื่อโดยตรง หลังจากเลือดแลกเปลี่ยนสาร และแก๊สกับเนื้อเยื่อแล้ว เลือดจะไหลกลับเข้าสู่หัวใจ โดยการบีบของกล้ามเนื้อลำตัว ทำให้เลือดจากฮีโมซีลไหลกับเข้าสู่หัวใจ ดังภาพ

ระบบไหลเวียนเลือดของแมลง 
ที่มาภาพ :http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=73891

กุ้ง เป็นสัตว์พวกอาร์โทพอด อีกชนิดหนึ่งที่มีการไหลเวียนของเลือดจากหัวใจ ไปตามหลอดเลือดแล้วแทรกซึม ไปตามช่องรับเลือด ในลำตัว โดยเลือดจะสัมผัสกับเนื้อเยื่อโดยตรง แล้วไหลผ่านเหงือก ซึ่งอยู่ในส่วนหัวของกุ้ง เพื่อแลกเปลี่ยนสารกับสิ่งแวดล้อม แล้วกลับเข้าสู่หัวใจ

ระบบไหลเวียนเลือด
ที่มา https://tuemaster.com/blog/การลำเลียงสารของสัตว์ใ/

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com