ชีวิตสัตว์ ระบบหายใจ 

กลไกของสิ่งมีชีวิต
กลไกของสิ่งมีชีวิต
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การหายใจ (respiration) ของสัตว์เป็นกระบวนการนำอากาศเข้าและออกจากร่างกาย เป็นการนำแก๊สออกซิเจน ไปใช้ทำปฏิกิริยากับสารอาหาร เพื่อให้ได้พลังงาน น้ำ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ที่จะปลดปล่อยออกมากับลมหายใจออก เช่นเดียวกับ กระบวนการหายใจของมนุษย์ แต่อาจจะมีข้อแตกต่างกันเล็กน้อย ครอบคลุม (1) การแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์น้ำบางชนิด (2) การแลกเปลี่ยนแก๊สของแมลง (3) การแลกเปลี่ยนแก๊สของแมงมุม และ (4) การแลกเปลี่ยนแก๊สของไฮดรา

1. การแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์น้ำบางชนิด

อวัยวะแลกเปลี่ยนแก๊สของปลาและสัตว์น้ำบางชนิด เช่น หอย ปู กุ้ง คือ เหงือก มีลักษณะเป็นซี่เล็ก ๆ เรียงกันเป็นแผง เหงือกแต่ละซี่มีหลอดเลือดฝอยจำนวนมาก

ภาพที่ 8 โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของปลา
ที่มา: หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 26

เหงือกของปลามีลักษณะเป็นซี่เส้นเล็ก ๆ เรียกว่า เส้นเหงือก ซึ่งงอกออกมาจากกระดูกค้ำเหงือกเมื่อปลาฮุบน้ำ ส่วนที่เป็นกระดูกแก้มจะเปิดออกเพื่อให้น้ำไหลผ่านเส้นเหงือก และหลอดเลือดฝอยเมื่อน้ำไหลผ่านจะมีการแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดขึ้น โดยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จะแพร่ออกจากหลอดเลือดฝอย และแก๊สออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำจะแพร่เข้าสู่หลอดเลือดฝอย แล้วลำเลียงไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

2. การแลกเปลี่ยนแก๊สของแมลง

โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของแมลงประกอบด้วย รูหายใจ ซึ่งเป็นรูเล็ก ๆ อยู่ข้างลำตัว อากาศซึ่งมีแก๊สออกซิเจนจะผ่านจากรูหายใจเข้าสู่ท่อลม ซึ่งเป็นท่อเล็ก ๆ อยู่ภายในร่างกาย ท่อลมจะแตกแขนงมีขนาดและผนังบางลงเรื่อย ๆ เรียกว่า ท่อลมฝอย ซึ่งจะแทรกไปตามเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย หลังจากเซลล์เหล่านั้นได้รับแก๊สออกซิเจน เกิดการหายใจระดับเซลล์ ได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เข้าสู่ท่อลมฝอย ซึ่งจะผ่านต่อไปยังท่อลม แล้วออกไปทางรูหายใจสำหรับแมลงที่บินได้ ท่อลมจะมีถุงลมช่วยในการบินของแมลง

แผนผัง การแลกเปลี่ยนแก๊สของแมลง

3. การแลกเปลี่ยนแก๊สของแมงมุม

  แมงมุมใช้ปอดแผงหรือบุ๊คลัง (book lung) เป็นอวัยวะในการแลกเปลี่ยนแก๊ส ปอดแผงมีลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ เรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ แก๊สออกซิเจนจะแพร่เข้าสู่ของเหลวภายในปอดแผงและถูกลำเลียงแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากเนื้อเยื่อมากำจัดออกนอกร่างกายที่ปอดแผงเช่นกัน

ภาพที่ 10 ปอดแผงของแมงมุม
ที่มา: หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 26

4. การแลกเปลี่ยนแก๊สของไฮดรา

   ไฮดราไม่มีอวัยวะที่ใช้ในการหายใจ แก๊สออกซิเจนที่ละลายในน้ำแพร่เข้าสู่เซลล์ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ก็แพร่ออกจากเซลล์ ดังภาพ

ภาพที่ 11 โครงสร้างที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊สของไฮดรา
ที่มา: หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 27
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com