ระบบสืบพันธุ์

กลไกของสิ่งมีชีวิต
กลไกของสิ่งมีชีวิต
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สมบัติสำคัญประการหนึ่งของสิ่งมีชีวิต คือ การให้กำเนินสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ จากสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันซึ่งเรียก การสืบพันธุ์ โดยการสืบพันธุ์มี 2 วิธี ครอบคลุม (1) การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction) และ (2) การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (sexual reproduction)

1. การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของสัตว์

การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของสัตว์ เป็นการสืบพันธุ์ที่ให้ลูกหลานเหมือน ผู้ให้กำเนิดทุกประการ ไม่ต้องมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ การสืบพันธุ์แบบนี้พบในสัตว์ชั้นต่ำ เช่น การแตกหน่อ (budding) พบในไฮดรา การแตกหน่อ เป็นวิธีการที่สัตว์สร้างเนื้อเยื่อข้างลำตัว ให้งอกออกมาแล้วเจริญเติบโตไปเป็นตัวเล็ก ๆ มีอวัยวะต่าง ๆ เหมือนตัวแม่หลังจากติดอยู่กับตัวแม่ระยะหนึ่งก็จะหลุดออกไปเป็นตัวอิสระ มีลักษณะเหมือนตัวแม่ทุกประการ เมื่อเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยก็จะแตกหน่อต่อไปอีกรูปร่างและวิธีการแตกหน่อของไฮดราเป็นดังภาพ

ภาพที่ 13 การแตกหน่อของไฮดรา
ที่มา: หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 30

2. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของสัตว์

   การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของสัตว์ เป็นการสืบพันธุ์ที่ต้องอาศัยเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย เมื่อเซลล์สืบพันธุ์ 2 ชนิดปฏิสนธิได้ไซโกต หลังจากนั้นจะเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อน ดังแผนผัง

 ตัวอสุจิ (sperm) เป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ที่ว่ายน้ำได้ สร้างจากร่างกายของสัตว์เพศผู้มีขนาดเล็กมากจนมองไม่เห็น ตัวอสุจิของสัตว์แต่ละชนิดมีรูปร่างแตกต่างกัน   ดังภาพ

ภาพที่ 14 ตัวอย่างรูปร่างของตัวอสุจิของสัตว์บางชนิด
ที่มา: หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 31

 ไข่ (egg) เป็นเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียที่สร้างจากร่างกายของสัตว์เพศเมีย มีลักษณะค่อนข้างกลมเคลื่อนที่ไม่ได้ มีขนาดใหญ่กว่าตัวอสุจิมาก ไข่ของสัตว์แต่ละชนิดมีขนาดต่างกัน เช่น ไข่ของมนุษย์มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.25 มิลลิเมตร ไข่ไก่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 เซนติเมตร เปรียบเทียบขนาดของไข่ของสิ่งมีชีวิตบางชนิด ดังนี้

ภาพที่ 15 ตัวอย่างขนาดของไก่บางชนิด
ที่มา: หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ม.2 หน้า 31

การปฏิสนธิ คือ การที่เซลล์สืบพันธุ์ 2 เพศ เข้าผสมกัน มี 2 แบบ คือ
1. การปฏิสนธิภายใน คือ การที่ตัวอสุจิเข้าผสมกับไข่ ในขณะที่ไข่ยังอยู่ภายในร่างกายของสัตว์เพศเมีย สัตว์ที่มีการปฏิสนธิแบบนี้ เช่น มนุษย์ แมว สุนัข ช้าง เป็ด ไก่ นก
2. การปฏิสนธิภายนอก คือ การที่ตัวอสุจิเข้าผสมกับไข่ เมื่อไข่อยู่ภายนอกร่างกายของสัตว์เพศเมีย สัตว์ที่มีการปฏิสนธิแบบนี้ เช่น ปลา กบ คางคก อึ่งอ่าง

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com