พฤติกรรมที่พบจากการแสดงออกของสัตว์

กลไกของสิ่งมีชีวิต
กลไกของสิ่งมีชีวิต
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

    พฤติกรรมต่าง ๆ ในสัตว์จำแนกได้เป็น 2 ประเภท ครอบคลุม (1) พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด และ (2) พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้

1. พฤติกรรมที่มีมาแต่กำเนิด 

เป็นพฤติกรรมง่าย ๆ ตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยไม่ต้องผ่านการเรียนรู้หรือประสบการณ์ มีแบบแผนที่แน่นอน และแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดของสัตว์ จำแนกได้ ดังนี้
   1.1 พฤติกรรมที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าแบบไม่มีทิศทางที่แน่นอน เป็นพฤติกรรมที่พบในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น การเคลื่อนที่หนีฟองแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ของพารามีเซียม
   1.2 พฤติกรรมที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างมีทิศทางที่แน่นอน พบได้ในสิ่งมีชีวิตที่มีหน่วยรับความรู้สึก เช่น การเคลื่อนที่เข้าหาแสงของตัวพลานาเรีย    การเคลื่อนที่ของแมลงเม่าบินเข้าหาแสง
   1.3 พฤติกรรมแบบรีเฟล็กซ์ชนิดต่อเนื่อง จะประกอบด้วยพฤติกรรม ย่อย ๆ หลายพฤติกรรมซึ่งแต่เดิมเรียกว่า สัญชาตญาณ ซึ่งจะมีมาแต่กำเนิด ไม่ต้องเรียนรู้มาก่อน เป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์แต่ละชนิด เช่น
       – การสร้างรังของนก มีพฤติกรรมต่อเนื่อง เริ่มจากบินไปหาวัสดุ เลือกจิกวัสดุที่จะนำมาใช้สร้างรัง บินกลับมาสร้างรัง ทำเช่นนี้อย่างต่อเนื่องจนสร้างรังจนสำเร็จ การออกไข่ ฟักไข่ และการดูแลจนกว่าจะบินได้
       – การชักใยของแมงมุม เพื่อใช้เป็นกับดักแมลงเล็กที่บินมาติดแล้วรับจับกินเป็นอาหาร
       – การดูดนมของทารก มีพฤติกรรมต่อเนื่อง เริ่มจากสิ่งเร้า คือ ความหิว การสัมผัสกับหัวนมกระตุ้นให้เกิดการดูดนมและกลืน เป็นปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ที่ต่อเนื่องกันหลาย ๆ พฤติกรรมจนกว่าทารกจะอิ่ม
       – การอพยพของนกปากห่าง เพื่อหนีอากาศที่หนาวเย็น
       – การจำศีลของกบ เป็นพฤติกรรมการหลีกเลี่ยงความแห้งแล้งหรือความหนาวเย็น การขาดแคลนอาหาร โดยหลบไปอยู่ในรูใต้พื้นดิน หายใจอย่าง            ช้า ๆ เพื่อลดการเผาผลาญอาหารในร่างกาย

2. พฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ 

เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากประสบการณ์และการเรียนรู้ของสัตว์ พบในสัตว์ชั้นสูงที่มีระบบประสาทเจริญดี นอกจากนี้สัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นหมู่จะมีสังคมของตนเอง จึงมีพฤติกรรมในการสื่อสารติดต่อกัน ดังนี้
   2.1 การสื่อสารด้วยท่าทาง เช่น การแยกเขี้ยวของสุนัข การหมอบของสุนัขเพื่อแสดงความนอบน้อมหรือกลัว การบินและการเต้นระบำของผึ้งเมื่อพบอาหาร
   2.2 การสื่อสารด้วยเสียง เช่น การส่งเสียงร้องของกบและแมวในการเรียกหาคู่ สุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งทุกครั้งจะได้รับอาหาร ต่อมาไม่มีอาหารมาวางมีเพียงเสียงกระดิ่ง สุนัขก็จะมีน้ำลายไหลออกมาเหมือนมีอาหารมาวาง เสียงเตือนภัยของแม่ไก่ ทำให้เกิดการรวมกลุ่มของไก่
   2.3 การสื่อสารด้วยการสัมผัส เช่น สุนัขเลียปากสุนัขด้วยกันเพื่อบอกถึงความอ่อนน้อม
   2.4 การสื่อสารด้วยสารเคมี เพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม เพื่อบอกอาณาจักร หรือเพื่อการนำทาง เช่น การเดินทางไปหาอาหารของมด การฉี่ของสุนัขเพื่อครอบครองพื้นที่

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com