การโคลน (cloning) หมายถึง การเพิ่มเซลล์จำนวนมากโดยการแบ่งตัวแบบไมโทซิสจากเซลล์ตั้งต้นหนึ่งเซลล์ หรือการเพิ่มประชาการสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกันโดยวิธีการไม่อาศัยเพศจากสิ่งมีชีวิตตั้งต้นเพียงหนึ่งเซลล์
ดร.เอียน วิลมุต (Dr.Ian Wilmut) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวสกอต ได้ทำการโคลนดอลลีสำเร็จด้วยวิธีการตามขั้นตอนดังนี้
ตัวอย่างการโคลนแกะดอลลีมีขั้นตอน ดังนี้
- นำเซลล์เต้านมมาจากแม่แกะฟินน์ดอร์เซต อายุ 6 ปี ซึ่งตั้งท้องมากกว่า 100 วัน แล้ว (แกะตั้งท้อง 150 วัน) ภายในเซลล์เต้านมทุกเซลล์จะบรรจุยีนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตเป็นตัวแกะไว้ครบทุกยีน แต่จะมีเฉพาะยีนที่สร้างโปรตีนสำหรับการเจริญเป็นเซลล์เต้านมเท่านั้นที่ทำงาน ส่วนยีนอื่น ๆ จะถูกปิสวิตช์ไว้ไม่ให้ทำงาน
- นำเซลล์เต้านมมาเพาะเลี้ยงในภาวะอดอาหารประมาณ 5 วัน โดยลดเซรุ่มในสารเพาะเลี้ยงเซลล์ให้เหลือเพียง 1 ใน 20 เพื่อให้เซลล์เข้าสู่ระยะพักตัว และหยุดการแบ่งตัว ณ ภาวะเช่นนี้ ยีนทุกยีนภายในเซลล์จะเริ่มปิดสวิตช์ใหม่อีกครั้ง
- เก็บเซลล์ไข่ที่ยังไม่ปฏิสนธิมาจากท่อนำไข่ของแม่แกะหน้าดำพันธุ์สกอต หลังจากฉีดฮอร์โมนกระตุ้นการตกไข่ไปแล้ว 28 – 33 ชั่วโมง
- ดูดนิวเคลียสของเซลล์ไข่ออกไป ภายในเซลล์ไข่จะว่างเปล่า เหลือแต่เพียงองค์ประกอบ ภายในไซโทพลาซึม ที่จำเป็นต่อการสร้างตัวอ่อน
- นำเซลล์เต้านมและเซลล์ไข่ มาหลอมรวมกันโดยใช้กระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ กระตุ้นเมื่อกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าอีกครั้ง เซลล์ไข่เริ่มยอมรับนิวเคลียส ใหม่และเหนี่ยวนำให้ยีนทุกยีน ในนิวเคลียสเริ่มต้นทำงาน และแบ่งตัวเพื่อพัฒนาเป็นตัวอ่อนขึ้นมาใหม่
- ปล่อยให้เซลล์แบ่งตัวประมาณ 6 วัน เซลล์ของตัวอ่อนจะเข้าสู่ระยะบลาสโทซิสต์
- นำตัวอ่อนในระยะบลาสโทซิสต์ไผฝังในมดลูกของแม่แกะหน้าดำอีกตัวหนึ่งซึ่งรับหน้าที่อุ้มท้อง
- แม่แกะหน้าดำที่อุ้มท้อง ให้กำเนินลูกแกะฟินน์ดอร์เซต ซึ่งมีลักษณะทางพันธุกรรม เหมือนแม่แกะฟินน์ดอร์เซต เจ้าของเซลล์เต้านมทุกประการ
ข้อดีของการโคลน
- เมื่อทำการโคลนพืชและสัตว์ขึ้นมาจำนวนมาก เท่ากับเป็นการเพิ่มปริมาณพืชและสัตว์ให้เพียงพอกับความต้องการทางเศรษฐกิจ
- การโคลนทำให้ได้พืชและสัตว ์ที่มีลักษณะเหมือนต้นแบบทุกประการขึ้นมา ทำให้สามารถคัดเลือกพันธุ์พืชและสัตว์ที่ดี ๆ มาเผยแพร่ได้ โดยไม่ต้องเกรงว่าจะเกิดการกลายเหมือนการผสมเทียม
- ใช้ในการผลิตคิดค้นตัวยาใหม่ ๆ เนื่องจากสัตว์และพืชที่เกิดจากการโคลนจะมีพันธุกรรมเหมือนกัน ดังนั้น ทำให้ผลการทดลอง ยามีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น เพราะไม่เกิดปัญหาเรื่องตัวแปรอันเกิดจากความแตกต่างของสัตว์ทดลองในชุดเดียวกัน
- การโคลนมนุษย์เพื่อประโยชน์ ในแง่อะไหล่อวัยวะ แต่ประโยชน์ข้อนี้เป็นที่ยอมรับได้ยาก เนื่องจากเป็นประโยชน ์เฉพาะตัวผู้โคลนเองโดยเฉพาะ
- ช่วยให้ครอบครัวที่ไม่มีบุตรสามารถมีบุตรได้
- ในกรณีที่สัตว์หายากสูญพันธุ์ไปแล้วก็สามารถใช้การโคลนเป็นการเพิ่มปริมาณและขยายพันธุ์สัตว์ได้
ข้อเสียของการโคลน
- เมื่อทำการโคลนพืช และสัตว์ขึ้นมามาก จะทำให้ขาดความหลากหลายในสายพันธุ์ เมื่อมีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้น เช่น เกิดโรคระบาย มีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศก็จะทำให้พืชและสัตว์ล้มตายกันหมด
- ในพืชและสัตว์ที่เกิดการโคลนจะต้องใช้สารเคมีและฮอร์โมนต่าง ๆ ดังนั้น สารเคมีและฮอร์โมนบางชนิดจะตกค้างอยู่ในเซลล์ เมื่อนำมาบริโภคอาจจะเกิดผลร้ายแก่ร่างกายผู้บริโภคได้
- ในแง่การโคลนเพื่อนำอวัยวะมาใช้ ถ้าเป็นไต ไขกระดูก สามารถทำมนุษย์โคลนขึ้นมามีชีวิตอยู่ต่อไปได้ แต่ถ้าอวัยวะสำคัญ เช่น หัวใจ ปอด เช่นนี้ก็จะเป็นโคลนขึ้นมาเพื่อฆ่า ถือว่าผิดศีลธรรมอย่างมาก
- เกิดปัญหาทางสังคม สภาพทางครอบครัว เพราะถ้ามีการโคลนมนุษย์ขึ้นมาเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ แล้ว เด็กที่เกิดมาจะถือว่ามีสถานภาพเป็นอะไร และเมื่อเด็กเหล่านี้ขาดความรักและการดูแลเอาใจใส่จากครอบครัวแล้ว ทำให้ต่อไปอาจก่อเป็นปัญหาทางสังคมขึ้นมาได้
- เมื่อทำการโคลนแล้ว มนุษย์จะมีลักษณะเหมือนกันทุกประการไม่ว่าเลือด ดีเอ็นเอ ลายนิ้วมือ ทำให้ถ้ามีการทำผิดกฎหมายก็จะจับแยกแยะไม่ได้ว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำ