8 ประโยชน์ “กล้วย” ป้องกันโรคทางสมองมีฤทธิ์ต้านมะเร็งช่วยลดซึมเศร้าได้

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

“กล้วย” ผลไม้ยอดนิยมที่หลากหลายประโยชน์ ช่วยป้องกันการเป็นโรคที่เกี่ยวกับสมอง ธาตุเหล็กสูงลดอาการของโรคโลหิตจางช่วยลดอาการซึมเศร้า ผ่อนคลายหลับสบายขึ้น เช็กเหตุผลที่คุณควรกินกล้วยทุกวันได้ที่นี้!

 

กล้วย (banana) ผลไม้สุดโปรดของใครหลายคนและเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก ด้วยรสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้ถูกดัดแปลงเป็นหลากหลายผลิตภัณฑ์ทั้งคาวหวาน ขณะที่คนไทยเองก็ใช้ประโยชน์จากกล้วยทุกส่วนมาทั้งแต่สมัยโบราณ ไม่ว่าจะเป็นลำต้น หน่อกล้วย หยวกกล้วย ใบกล้วย ผลกล้วย ที่เด่นสรรพคุณไปคนละอย่าง อีกทั้งยังมีหลากหลายสายพันธุ์ ที่รู้จักกันดีอาทิ กล้วยหอม กล้วยน้ำกว้า กล้วยเล็บมือนาง เป็นต้น ยิ่งกินก่อนการออกกำลังกายก็จะมีแรงออกกำลังมากขึ้น อีกทั้งกินได้ตลอดทั้งวันโดยไม่รู้สึกเบื่อ

วันนี้เรามารู้จักประโยชน์ของกล้วยในมุมกว้างที่ใครก็กินได้ ประโยชน์เยอะ! กล้วย 1 ผล ให้พลังงานได้ราวๆ 100 แคลอรี่ และยังมีน้ำตาลจากธรรมชาติอยู่ถึง 3 ชนิดทั้งซูโครส ฟรุกโตส และกลูโคส ซึ่งจะช่วยเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย แถมยังอุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุนานาชนิดรวมไปถึงคาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามินเอ วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 และวิตามินซี ที่ช่วยกระตุ้นระบบภูมิต้านทาน นอกจากนี้ยังมีเส้นใย และกากอาหาร กล้วยจึงไม่ใช่เพียงแค่ผลไม้ที่เพิ่มพลังงานเท่านั้น แต่ยังมีคุณสมบัติช่วยเอาชนะ และป้องกันโรคต่างๆ ที่จะเกิดกับร่างกายได้อีกหลายโรค

8 ประโยชน์ของกล้วย

  • ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง ช่วยป้องกันการเป็นโรคที่เกี่ยวกับสมองได้เป็นอย่างดี
  • ลดความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง เพราะมีธาตุโพแทสเซียมสูงสุด แต่มีปริมาณเกลือต่ำ จึงช่วยในการรักษาระดับความดันโลหิต
  • ช่วยลดอันตรายจากการเกิดโรคต่างๆ ที่เกิดจากความดันโลหิต เช่น โรคเส้นเลือดฝอยแตกกระตุ้นความตื่นตัวให้กับสมอง ช่วยให้สมองทำงานได้เต็มที่ หากกินกล้วยเป็นอาหารเช้าได้ทุกวันก็จะดีมาก เพราะกล้วยจะไปเสริมสร้างกำลังของสมอง มาจากปริมาณโพแทสเซียมที่มีอยู่สูงในกล้วยสามารถช่วยให้มีความตื่นตัวในการทำงานได้มากขึ้น
  • ลดอาการของโรคโลหิตจาง เพราะในกล้วยมีธาตุเหล็กสูง จึงช่วยกระตุ้นร่างกายให้ผลิตเม็ดเลือดแดงคุณภาพดี ซึ่งช่วยป้องกันภาวะโลหิตจางได้ และยังช่วยในกรณีที่ไม่มีแรง ให้กลับมามีกำลังได้อีกด้วย
  • ช่วยแก้ปัญหาโรคท้องผูก ได้เป็นอย่างดีด้วยปริมาณเส้นใย และกากอาหารที่มีอยู่ในกล้วยจะช่วยให้ระบบการขับถ่ายของร่างกายเป็นปกติ
  • ช่วยย่อยอาหาร ทำให้กระเพาะอาหาร และลำไส้ทำงานหนักน้อย เพราะมีเอ็นไซม์ที่ช่วยในการ อีกทั้งยังช่วยลดความอ้วนและดูแลรูปร่าง เพราะช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่
  • ชะลอความแก่ ป้องกันมะเร็ง มีไฟโตเคมิคัลที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระช่วย
  • ลดอาการซึมเศร้า เพราะการกินกล้วยจะส่งผลดีต่อสมองและระบบประสาท เนื่องจากในกล้วยมีสาร Tryptophan ซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถเปลี่ยนให้เป็นสารเซโรโทนิน ที่จะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ปรับอารมณ์ให้ดีขึ้น หายจากความกังวล 4ช่วยให้นอนหลับสบายยิ่งขึ้น ถือเป็นตัวช่วยอย่างดีสำหรับผู้ที่มีปัญหาด้านการนอน หรือนอนไม่หลับเรื้อรัง

อย่างไรก็ตามควรรับประทานแต่พอดี เพราะกล้วยเป็นผลไม้ที่มีค่าน้ำตาลสูง โดยเฉพาะในกล้วยน้ำว้า อาจส่งผลกระทบต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน หรือทำให้ผู้ที่ป่วยโรคเบาหวานมีอาการแย่ลง ดังนั้น จึงควรรับประทานในปริมาณที่พอดี ประมาณ 1-2 ลูก/วัน อีกทั้งยังมีโพแทสเซียมสูง ผู้ที่เป็นหัวใจไตบกพร่อง ควรจำกัดการรับประทาน อีกทั้งควรเลือกกินผักผลไม้ที่หลากหลายเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเปาโล ภาพจาก : AFP

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

แนวคิดเชิงนามธรรม: แกะเปลือกปัญหาเพื่อเข้าถึงแก่นแท้

แนวคิดเชิงนามธรรมเป็นมากกว่าการประเมินความสำคัญของปัญหา มันเป็นกระบวนการที่ช่วยให้เรา มองข้ามรายละเอียดปลีกย่อย เพื่อ เห็นภาพรวม หรือ แก่นแท้ ของปัญหาอย่างชัดเจนขึ้น ลองเปรียบเทียบกับการปอกผลไม้: เปลือกผลไม้: แทน รายละเอียดปลีกย่อย หรือข้อมูลที่ไม่จำเป็นต่อการแก้ปัญหา เนื้อผลไม้: คือ แก่นแท้ของปัญหา หรือข้อมูลที่สำคัญที่เราต้องการนำมาใช้ในการวิเคราะห์และแก้ไข ทำไมแนวคิดเชิงนามธรรมจึงสำคัญ? ช่วยให้เข้าใจปัญหาได้ง่ายขึ้น: เมื่อเราตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออกไป จะทำให้เราเห็นภาพรวมของปัญหาได้ชัดเจนขึ้น และเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาได้ง่ายขึ้น ช่วยให้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ: เมื่อเราเข้าใจแก่นแท้ของปัญหาแล้ว ก็จะสามารถเลือกวิธีการแก้ไขที่เหมาะสมได้อย่างตรงจุด และประหยัดเวลาและทรัพยากรมากขึ้น ช่วยให้สื่อสารปัญหาได้อย่างชัดเจน:...

การใช้สื่อหรือแหล่งข้อมูลตามข้อตกลงการใช้: เข้าใจและปฏิบัติตามสัญญา Creative Commons

สัญญา Creative Commons (CC) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานสามารถกำหนดเงื่อนไขการใช้งานผลงานของตนได้อย่างชัดเจน โดยอนุญาตให้ผู้อื่นนำผลงานไปใช้ต่อได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามประเภทของสัญญา CC ทำไมต้องเข้าใจสัญญา Creative Commons? หลีกเลี่ยงการละเมิดลิขสิทธิ์: การใช้สื่อหรือแหล่งข้อมูลโดยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ อาจถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมายได้ ให้เครดิตผู้สร้าง: การให้เครดิตผู้สร้างตามที่กำหนดไว้ในสัญญา CC เป็นการแสดงความเคารพต่อผู้สร้างสรรค์ผลงาน ส่งเสริมการแบ่งปันความรู้: การใช้สื่อหรือแหล่งข้อมูลที่ได้รับอนุญาตภายใต้สัญญา CC ช่วยให้เกิดการเผยแพร่ความรู้และข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง ประเภทของสัญญา Creative Commons สัญญา...

ผลกระทบ แนวทางป้องกัน และวิธีการแก้ปัญหาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย

เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราอย่างแยกไม่ออก การใช้งานอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ นำมาซึ่งความสะดวกสบายและประสิทธิภาพในการทำงานและการสื่อสาร แต่ในขณะเดียวกันก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบหากเราไม่ระมัดระวังในการใช้งาน ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ไม่ปลอดภัย การถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว: เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต ข้อมูลส่วนบุคคล อาจนำไปสู่การถูกหลอกลวงหรือการใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด การถูกแฮ็ก: ผู้ไม่ประสงค์ดีอาจเข้าควบคุมอุปกรณ์ของเราเพื่อขโมยข้อมูลหรือทำลายระบบ การถูกคุกคามทางออนไลน์: เช่น การถูกกลั่นแกล้ง การถูกคุกคาม หรือการถูกข่มขู่ การติดไวรัส: โปรแกรมที่เป็นอันตรายอาจเข้ามาทำลายระบบคอมพิวเตอร์หรือขโมยข้อมูล การเสพติดอินเทอร์เน็ต: การใช้เวลากับอุปกรณ์ดิจิทัลมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและใจ แนวทางป้องกัน สร้างรหัสผ่านที่แข็งแกร่ง: ใช้รหัสผ่านที่ประกอบด้วยตัวอักษรตัวใหญ่ ตัวเล็ก...

วิธีการป้องกันความเป็นส่วนตัวและข้อมูลของตนเองในยุคดิจิทัล

ในยุคที่ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญและมีมูลค่าสูง การรักษาความเป็นส่วนตัวและปกป้องข้อมูลของตนเองจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ต่อไปนี้คือวิธีการป้องกันที่คุณสามารถทำได้: การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวบนโซเชียลมีเดียและแอปพลิเคชัน จำกัดการเข้าถึงข้อมูล: ปรับตั้งค่าความเป็นส่วนตัวให้แคบลง ใครบ้างที่สามารถเห็นโพสต์ รูปภาพ หรือข้อมูลส่วนตัวของคุณ ตรวจสอบแอปพลิเคชันที่ขออนุญาตเข้าถึงข้อมูล: ก่อนอนุญาตให้แอปพลิเคชันเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว เช่น สถานที่ตั้ง รายชื่อติดต่อ หรือรูปภาพ ควรพิจารณาให้รอบคอบว่าจำเป็นต้องให้สิทธิ์เหล่านั้นหรือไม่ ตรวจสอบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวเป็นประจำ: บริษัทเทคโนโลยีมักมีการปรับเปลี่ยนนโยบายความเป็นส่วนตัวอยู่เสมอ จึงควรตรวจสอบและปรับเปลี่ยนการตั้งค่าเป็นประจำ การสร้างรหัสผ่านที่แข็งแกร่ง หลีกเลี่ยงการใช้รหัสผ่านซ้ำ: ไม่ควรใช้รหัสผ่านเดียวกันสำหรับบัญชีต่างๆ สร้างรหัสผ่านที่ซับซ้อน: รวมตัวอักษรใหญ่เล็ก ตัวเลข และสัญลักษณ์ ใช้ตัวจัดการรหัสผ่าน: ช่วยในการจัดเก็บรหัสผ่านที่ซับซ้อนหลายรหัส การระวังภัยไซเบอร์ ระวังอีเมลขยะและลิงก์ที่น่าสงสัย:...

About ครูออฟ 1563 Articles
https://www.kruaof.com