หลักการใช้ Verb to be (is am are)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

is am are 😃😛👩‍🏭

is am are แปลว่า เป็น อยู่ คือ แต่บางทีก็ไม่ต้องแปลนะครับ แบบไหนแปลว่าเป็นหรือคือ แบบไหนแปลว่าอยู่ และแบบไหนที่ไม่ต้องแปล เดี๋ยวมาไล่เรียงกันทีละตัวกันเลย

ความหมายของ is am are

  • is am are + สถานที่ แปลว่า อยู่
    I am at home. ฉัน อยู่ ที่ บ้าน
  • is am are + คำนาม แปลว่า เป็น หรือ คือ
    I am a boy. ฉัน เป็น เด็กผู้ชาย
  • is am are + คำคุณศัพท์ ไม่ต้องแปล
    I am beautiful. ฉัน สวย

 is am are จำง่ายๆว่า หนึ่งคนใช้ is หลายคนใช้ are ส่วน I ใช้ am

โครงสร้าง is am are

Iam
He, She, It, สิ่งเดียว,คนเดียวis
You, We, They,หลายสิ่ง,หลายคนare

หลักการใช้ is am are

Is Am Are ใช้ใน Tense ต่างๆ ซึ่งการจะแปลความหมายนั้นต้องพึงระวังนิดหนึ่ง เพราะบางทีมันเป็นแค่กริยาช่วย ซึ่งไม่ต้องแปลแต่อย่างใด มาดูหลักการนำไปใช้กันเลย

1. ใช้ใน Present Simple Tense   

  • is am are แปลว่า เป็น อยู่ คือ  
  • ประธาน+ is, am, are 

am a student. ผมเป็นนักเรียน (student = นาม)
He is in the room. เขาอยู่ในห้อง (room = นาม)
We are tigers. พวกเราคือเสือ (tigers = นาม)

  • แต่บางครั้ง is am are ไม่ต้องแปล  (ประธาน+ is, am, are, + คุณศัพท์) 

am tall. ผมสูง (tall = คุณศัพท์)
She is short. หล่อน เตี้ย ( short= คุณศัพท์)
They are smart. พวกเขาเทห์ ( smart=คุณศัพท์)

2. ใช้ใน Present Continuous  (เรียนรู้เต็มๆในเรื่อง Present continuous)

  • is am are อย่าแยกแปล ให้แปลควบกับคำกริยาที่เติม ing  แปลว่า กำลัง…
  • ประธาน+ is, am, are  + กริยาเติม ing

am eating. ผม กำลังกิน
He is running. เขา กำลังวิ่ง
We are swimming. พวกเรากำลังว่ายน้ำ

3. ใช้ใน Passive Voice ของ Present Simple Tense (บทเรียนขั้นสูง)   

  • is am are อย่าแยกแปล ให้แปลควบกับคำ กริยาช่อง 3 แปลว่า ถูก…
  • ประธาน+ is, am, are + กริยาช่อง 3

Rice is grown by Thai people.
ข้าวถูกปลูกโดยคนไทย

Rice is grown in China, India, Thailand, Vietnam etc.
ข้าวถูกปลูกในประเทศจีน อินเดีย ไทย เวียดนาม และอื่นๆ

การย่อรูป

I am = I’m ( ไอ แอม = ไอม)
I am not = I’m not (ไอ แอม น็อท = ไอม น็อท)

He is = He’s (ฮี อิส = ฮีส)
He is not = He’s not/ He isn’t ( ฮี อิส น็อท = ฮีส น็อท / ฮี อิสเซินท)

She is = she’s (ชี อิส = ชีส)
She is not = She’s not/ She isn’t (ชี อิส น็อท = ชีส น็อท/ ชี อิสเซินท)

It is = It’s (อิท อิส = อิทส)
It is not = It’s not/ It isn’t (อิท อิส น็อท = อิทส น็อท / อิท อิสเซินท)

You are = You’re (ยู อา = ยัว)
You are not = You’re not / You aren’t (ยู อา น็อท = ยัว น็อท / ยู อ้านท)

We are = We’re (วี อา = เวีย)
We are not = We’re not / We aren’t (วี อา = เวีย น็อท / วี อ้านท)

They are = They’re (เด อา = แด)
They are not = They’re not / They aren’t  (เด อา น็อท = แด น็อท / เด อ้านท)

ประโยคบอกเล่า

  • ประโยคบอกเล่าจะเป็นโครงสร้างธรรมดา คือ ประธาน + is, am, are + ส่วนขยาย (นาม, คุณศัพท์)

am a doctor. ผมเป็นหมอ

He is smart. เขาเท่ห์
She is a girl. หล่อนเป็นผู้หญิง
It is a dog. มันเป็นหมา
A cat is black. แมวสีดำ

You are my friend. คุณเป็นเพื่อนของฉัน
We are from Thailand. พวกเรามาจากประเทศไทย
They are students. พวกเขาเป็นนักเรียน
Cats are white. แมวสีขาว

ประโยคบอกปฏิเสธ

 โครงสร้างปฏิเสธคล้ายประโยคบอกเล่า เพียงแค่เอาคำว่า not มาวางหลัง is, am, are

I am not a doctor. ผมไม่เป็นหมอ

He is not smart. เขาไม่เท่ห์
She is not a girl. หล่อนไม่เป็นผู้หญิง
It is not a dog. มันไม่เป็นหมา
A cat is not black. แมวไม่สีดำ

You are not my friend. คุณไม่เป็นเพื่อนของฉัน
We are not from Thailand. พวกเราไม่มาจากประเทศไทย
They are not students. พวกเขาไม่เป็นนักเรียน
Cats are not white.  แมวไม่สีขาว

ประโยคคำถาม  Yes / No Question

การทำประโยคคำถามง่ายๆเอง เพียงแค่เอาคำว่า Is, Am, Are มาวางไว้หน้าประโยคแค่นั้นเองและอย่าลืมเติมเครื่องหมายคำถามท้ายประโยคด้วยนะครับ

ประโยคคำถามแบ่งออกเป็นสองประเด็นคือ ถามในรูปแบบบอกเล่า และถามรูปแบบปฏิเสธ

  • Am I a doctor? ผมเป็นหมอใช่ไหม
    Yes, you are. /No, you aren’t. ใช่ คุณเป็นหมอ / ไม่ คุณไม่เป็นหมอ
  • Is he smart? เขาเท่ห์ใช่ไหม
    Yes, he is. / No, he isn’t.  ใช่ เขาเท่ห์ / ไม่ เขาไม่เท่ห์
  • Is she a girl? หล่อนเป็นผู้หญิงใช่ไหม
    Yes, she is. / No, she isn’t. ใช่ หล่อนเป็นผู้หญิง / ไม่หล่อนไ่ม่เป็นผู้หญิง
  • Is it a dog? มันเป็นหมาใช่ไหม
    Yes, it is. / No, it isn’t. ใช่ มันเป็นหมา / ไม่ มันไม่เป็นหมา
  • Is a cat black? แมวสีดำใช่ไหม
    Yes, a cat is. / No, a cat isn’t. ใช่ แมวสีดำ / ไม่ แมวไม่สีดำ  หรือ
    Yes, it is. / No, it isn’t. ใช่ มันสีดำ / ไม่ มันไม่สีดำ
  • Are you my friend? คุณเป็นเพื่อนของฉันใช่ไหม
    Yes, I am. / No, I’m not. ใช่ผมเป็นเพื่อนคุณ / ไม่ ผมไม่เป็นเพื่อนคุณ
  • Are we from Thailand? พวกเรามาจากประเทศไทยใช่ไหม
    Yes, we are. / No, we aren’t. ใช่ เรามาจากประเทศไทย / ไม่ เราไม่มาจากประเทศไทย
  • Are they students? พวกเขาเป็นนักเรียนใช่ไหม
    Yes, they are. / No, we aren’t. ใช่ พวกเขาเป็นนักเรียน / ไม่ พวกเขาไม่เป็นนักเรียน

2. การถามในรูปแบบปฏิเสธ

การถามในรูปปฏิเสธแบ่งออกอีกสองประเด็นคือ ในรูปแบบเต็ม และรูปแบบย่อ

  • Am I not a doctor? ผมไม่เป็นหมอใช่ไหม
    Yes, you are. /No, you aren’t. ใช่ คุณเป็นหมอ / ไม่ คุณไม่เป็นหมอ
  • Isn’t he smart? เขาไม่เท่ห์ใช่ไหม
    Yes, he is. / No, he isn’t.  ใช่ เขาเท่ห์ / ไม่ เขาไม่เท่ห์
  • Is she not a girl? หล่อนไม่เป็นผู้หญิงใช่ไหม
    Yes, she is. / No, she isn’t. ใช่ หล่อนเป็นผู้หญิง / ไม่หล่อนไ่ม่เป็นผู้หญิง
  • Is it not a dog? มันไม่เป็นหมาใช่ไหม
    Yes, it is. / No, it isn’t. ใช่ มันเป็นหมา / ไม่ มันไม่เป็นหมา
  • Isn’t a cat black? แมวไม่สีดำใช่ไหม
    Yes, a cat is. / No, a cat isn’t. ใช่ แมวสีดำ / ไม่ แมวไม่สีดำ  หรือ
    Yes, it is. / No, it isn’t. ใช่ มันสีดำ / ไม่ มันไม่สีดำ

*** ไม่ว่าคำถามจะเป็นอย่างไร ถ้าใช่ก็บอกว่าใช่ ถ้าไม่ใช่ก็บอกว่าไม่ เช่น แมวตัวนี้สีขาว แล้วมีคนถามว่า

Is a cat black? แมวสีดำใช่ไหม
No, it isn’t. ไม่ มันไม่ใช่สีดำ

Isn’t a cat black? แมวไม่ใช่สีดำใช่ไหม
No, it isn’t. ไม่ มันไม่ใช่สีดำ
ห้ามตอบ yes นะครับ ถ้าตอบ yes จะหมายความว่ามันมีสีดำ

ประโยคคำถาม Wh- Question

ให้เอาคำเหล่านี้ (Who, What, Where, When, Why, How) นำหน้าประโยค ตามด้วย  is, am, are

Who is that? นั่นคือใคร
That is a doctor. นั่นคือหมอ

What is it? มันคืออะไร
It is a dog. มันคือหมา

Where is my pen? ปากกาของฉันอยู่ไหน
It’s on the table. มันอยู่บนโต๊ะ

When is your birthday? วันเกิดของคุณเมื่อไหร่
It’s in July. มันอยู่ในเดือนกรกฎาคม

Why is the world round? ทำไมโลกกลม
I don’t know. ฉันไม่รู้

How are you? คุณเป็นอย่างไร
I’m O.K. ฉันสบายดี

ทำแบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com