หลักการใช้ have has had

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

** have ในความหมายว่า “มี” เป็น Stative verbs แสดงความเป็นเจ้าของ จะใช้ใน Continuous tenses ไม่ได้ (เติม -ing ไม่ได้) แต่ถ้าในความหมายว่า “กิน” เป็น Dynamic verbs สามารถใช้ในรูป -ing ได้

Verb to have นอกจากมีความหมายว่า “มี” แล้ว ยังใช้ในความหมายอื่น ๆ เช่น “กิน” ได้ด้วย อีกทั้งจัดอยู่ในกลุ่ม Primary auxiliary verbs คือ ทำหน้าที่เป็นได้ทั้งกริยาหลักและกริยาช่วย (เช่นเดียวกับ Verb to be และ Verb to do)

หลักการใช้ Verb to have

1.Verb to have ทำหน้าที่เป็นกริยาหลัก (Main Verbs)

Verb to have เมื่อทำหน้าที่เป็นกริยาหลักจะมีความหมายว่า “มี” และ “กิน
Has ใช้กับ He/She/it และประธานเอกพจน์อื่น ๆ
Have ใช้กับ I/You/We/They และประธานพหูพจน์อื่น ๆ
Had เป็นรูปอดีตของ Have/Has ใช้ได้กับประธานทุกตัว

Ex.1 : I have a new job. (ฉันมีงานใหม่)
Ex. 2 : The dog has a black tail. (หมามีหางสีดำ)
Ex.3 : Tom had a big house. (ทอมเคยมีบ้านหลังใหญ่)
Ex.4 : Mom and I have dinner at 7.00 pm. (แม่และฉันกินมื้อเย็นตอนหนึ่งทุ่ม)

นอกจากนี้ have/has got ก็มีความหมายว่า “มี” เช่นเดียวกัน เพียงแต่ have/has got เป็นการพูดแบบ British English ซึ่งพบในภาษาพูดมากว่าในภาษาเขียน เช่น

I have a new job. = I have got a new job. (ฉันมีงานใหม่)
Tom has a luxury car. = Tom has got a luxury car. (ทอมมีรถหรู)

หลักการทำเป็นประโยคปฏิเสธและประโยคคำถาม
เมื่อทำเป็นประโยคปฏิเสธหรือประโยคคำถามต้องใช้กริยาช่วย Verb to do เข้ามาช่วย **จำให้แม่น! Verb to have ที่เป็นกริยาหลักห้ามใส่ not หลัง have/has

ประโยคปฏิเสธ

I/You/We/They และประธานพหูพจน์อื่น ๆ + don’t have…
He/She/it และประธานเอกพจน์อื่น + doesn’t have…

Ex. 1 : I don’t have any time. (ฉันไม่มีเวลาเลย)
Ex. 2 : My boyfriend doesn’t have a car. (แฟนฉันไม่มีรถ)

ประโยคคำถาม

Yes/No Questions : Do + I/You/We/They และประธานพหูพจน์อื่น ๆ + have….?
Does + He/She/it และประธานเอกพจน์อื่น ๆ + have…?
Wh-Questions : What/When/Where/Who/How + do + I/you/we/they+ have…?
What/When/Where/Who/How + does + he/she/it + have…?

Ex. 1 : Do you have any good books for studying English? (คุณมีหนังสือดี ๆ สำหรับเรียนภาษาอังกฤษบ้างไหม?)
Ex. 2 : Does Nid have any brothers or sisters? (นิดมีพี่ชายน้องชายหรือพี่สาวน้องสาวบ้างไหม?)
Ex. 3 : Where do you usually have lunch? (ปกติคุณทานมื้อกลางวันที่ไหน?)

**ประธานเอกพจน์ เมื่อทำเป็นประโยคปฏิเสธใช้ doesn’t และประโยคคำถามใช้ does แล้ว ให้เปลี่ยน has กลับมาเป็น have นั่นเป็นเพราะว่า has คือรูปเติม s ของ have (ตามหลักไวยากรณ์ ใน Present Simple Tense ประธานเอกพจน์ V.1 ต้องเติม s/es เมื่อเป็นประโยคปฏิเสธหรือคำถาม กริยาจะกลับมาอยู่ในรูป V.1 ปกติ)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1547 Articles
https://www.kruaof.com