1.1.3 โครงสร้างผังงาน

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การกำหนดโครงสร้างของการเขียนผังงาน เพื่อนำไปใช้ในการเขียนโปรแกรม เป็นการกำหนดขั้นตอนให้โปรแกรมทำงาน โดยมีโครงสร้างการควบคุมพื้นฐาน 3 หลักการ ดังนี้

  1. โครงสร้างแบบลำดับ (Sequence Structure)
  2. โครงสร้างแบบเลือกทำ หรือมีเงื่อนไข (Selection Structure)
  3. โครงสร้างแบบการทำซ้ำ (Repetition Structure)

ซึ่งการกำหนดโครงสร้างของผังงาน จะช่วยให้การทำงานเป็นขั้นตอนตามลำดับ สามารถเข้าใจถึงความต้องการนำไปสู่การแก้ไขที่ตรงจุดได้ ช่วยลดข้อผิดพลาดและสามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดได้ง่าย และยังช่วยพัฒนาทักษะที่ดีในการวางแผน การวิเคราะห์ปัญหาในการทำงาน และปัญหาที่พบเจอในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย

Read more: 1.1.3 โครงสร้างผังงาน

การเขียนผังงาน จะช่วยให้การทำงานเป็นขั้นตอนตามลำดับ สามารถเข้าใจถึงความต้องการนำไปสู่การแก้ไขที่ตรงจุดได้ ช่วยลดข้อผิดพลาดและสามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดได้ง่าย และยังช่วยพัฒนาทักษะที่ดีในการวางแผน การวิเคราะห์ปัญหาในการทำงาน และปัญหาที่พบเจอในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย ซึ่งการกำหนดโครงสร้างของการเขียนผังงาน เพื่อนำไปใช้ในการเขียนโปรแกรม เป็นการกำหนดขั้นตอน ให้โปรแกรมทำงาน โดยมีโครงสร้างการควบคุมพื้นฐาน 3 หลักการ ดังนี้

1. โครงสร้างแบบลำดับ (Sequence Structure)

โครงสร้างแบบลำดับ (Sequence Structure) คือการเขียนให้การทำงานจากบนลงล่าง เขียนคำสั่งเป็นบรรทัด และทำทีละบรรทัด จากบรรทัดบนสุด ลงไปจนถึงบรรทัดล่างสุด

2. โครงสร้างแบบเลือกทำ หรือมีเงื่อนไข (Selection Structure)

โครงสร้างแบบเลือกทำ หรือมีเงื่อนไข (Selection Structure) เป็นโครงสร้างที่มีเงื่อนไข ขั้นตอนการทำงานบางขั้นตอนต้องมีการตัดสินใจ เพื่อเลือกวิธีการประมวลผลขั้นต่อไป และจะมีบางขั้นตอนที่ไม่ได้รับการประมวลผล การตัดสินใจ อาจมีทางเลือก หนึ่งทาง หรือมากกว่าก็ได้ โดยแต่ละโครงสร้างมีชื่อเรียก ดังนี้

  1. โครงสร้างที่มีทางเลือกเพียง 1 ทาง เรียกชื่อว่าโครงสร้างแบบ if 
  2. โครงสร้างที่มีทางเลือกเพียง 2 ทาง เรียกชื่อว่าโครงสร้างแบบ if…then…else
  3. โครงสร้างที่มีทางเลือกมากกว่า 2 ทาง เรียกชื่อว่า โครงสร้างแบบ switch case  และโครงสร้างแบบ if – elseif

3. โครงสร้างแบบการทำซ้ำ (Repetition Structure)

โครงสร้างแบบการทำซ้ำ (Repetition Structure) เป็นโครงสร้างที่มีการทำกระบวนการหนึ่งหลายครั้ง เป็นโครงสร้างที่ขั้นตอนการทำงานบางขั้นตอนได้รับการประมวลผลมากกว่าหนึ่งครั้ง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขบางประการโครงสร้างแบบทำซ้ำนี้ต้องมีการตัดสินใจในการทำงานซ้ำ และลักษณะการทำงานของโครงสร้างแบบนี้มี 2 ลักษณะ ดังนี้

  1. การทำซ้ำแบบ do while คือ มีการตรวจสอบเงื่อนไขในการทำซ้ำทุกครั้งก่อนดำเนินการกิจกรรมใดๆ ถ้าเงื่อนไขเป็นจริงจะทำงานซ้ำไปเรื่อย ๆ และหยุดเมื่อเงื่อนไขเป็นเท็จ โครงสร้างที่มีทางเลือกเพียง 2 ทาง เรียกชื่อว่าโครงสร้างแบบ if…then…else
  2. การทำซ้ำแบบ do until คือ กิจกรรมซ้ำเรื่อย ๆ จนกระทั่งเงื่อนไขที่กำหนดเป็นจริงแล้วจึงหยุดการทำงาน โดยแต่ละครั้งที่เสร็จสิ้นการดำเนินการแต่ละรอบจะต้องมีการตรวจสอบเงื่อนไข

การใช้ผังงานในการเขียนโปรแกรม หรือใช้ในการอธิบายกระบวนการทำงานจะช่วยทำให้ตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรมได้ง่าย และยังทำให้ผู้อื่นสามารถศึกษาการทำงานของโปรแกรมและแก้ไขโปรแกรม หรือกระบวนการทำงานได้ง่าย

โดยสรุป ในชีวิตประจำวันเรามักจะพบเจอกับปัญหาต่างๆ มากมาย ซึ่งในทุกปัญหา สามารถนำมาเขียนเป็นผังงาน เพื่อให้มองเห็นภาพรวมของกระบวนการทำงาน ช่วยให้เราสามารถแก้ปัญหาได้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับการเขียนโปรแกรม จำเป็นจะต้องเขียนผังงานตามโครงสร้าง เพื่อให้โปรแกรม หรือคอมพิวเตอร์ทำงานตามขั้นตอน สามารถเข้าใจถึงความต้องการ นำไปสู่การแก้ไขที่ตรงจุดได้และยังช่วยลดข้อผิดพลาดและสามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดได้ง่าย

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิธีการปกป้องข้อมูลส่วนตัว

การปกป้องข้อมูลส่วนตัวเป็นเรื่องสำคัญที่เราทุกคนต้องเรียนรู้ เพื่อป้องกันไม่ให้คนที่ไม่หวังดีนำข้อมูลของเราไปใช้ในทางที่ไม่ดี เรามีวิธีหลายอย่างในการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของเรา วิธีการปกป้องข้อมูลส่วนตัว: ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวกับคนแปลกหน้า: ไม่บอกชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ให้กับคนที่เราไม่รู้จัก ไม่นัดเจอคนที่เราคุยด้วยทางอินเทอร์เน็ต หากไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง ระมัดระวังในการพูดคุยกับคนแปลกหน้าในเกมออนไลน์ หรือแอปพลิเคชันต่างๆ สร้างรหัสผ่านที่ปลอดภัย: ใช้รหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก โดยใช้ตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ผสมกัน ไม่ใช้รหัสผ่านเดียวกันในหลายบัญชี เก็บรักษารหัสผ่านเป็นความลับ ไม่บอกให้ใครรู้ ระมัดระวังในการใช้งานอินเทอร์เน็ต: ไม่คลิกลิงก์ หรือเปิดไฟล์แนบจากอีเมล หรือข้อความที่ไม่รู้จัก ไม่ดาวน์โหลดโปรแกรม หรือแอปพลิเคชันจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวในโซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชันต่างๆ บอกผู้ปกครองหรือคุณครู เมื่อเจอสิ่งผิดปกติ: หากมีคนแปลกหน้าทักมา หรือขอข้อมูลส่วนตัวของเรา หากเจอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม หรือน่ากลัวบนอินเทอร์เน็ต หากถูกกลั่นแกล้ง...

ทำไมเราต้องปกป้องข้อมูลส่วนตัว?

ข้อมูลส่วนตัวของเรานั้นสำคัญมาก เหมือนกับกุญแจที่ใช้เปิดบ้าน ถ้ามีคนที่ไม่หวังดีได้กุญแจไป เขาอาจจะเข้ามาในบ้านของเราและทำสิ่งที่ไม่ดีได้ ข้อมูลส่วนตัวก็เช่นกัน ถ้าคนที่ไม่หวังดีได้ข้อมูลส่วนตัวของเราไป เขาอาจจะนำไปใช้ในทางที่ไม่ดี ทำให้เราเดือดร้อนได้ เหตุผลที่เราต้องปกป้องข้อมูลส่วนตัว: ป้องกันการถูกแอบอ้าง: คนที่ไม่หวังดีอาจนำข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้แอบอ้างเป็นตัวเรา เช่น สมัครบัญชีออนไลน์ หรือทำธุรกรรมต่างๆ ในชื่อของเรา ทำให้เราต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เราไม่ได้ทำ ป้องกันการถูกหลอกลวง: คนที่ไม่หวังดีอาจใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการหลอกลวง เช่น ส่งอีเมลหรือข้อความหลอกลวงให้เราโอนเงิน หรือให้ข้อมูลส่วนตัวเพิ่มเติม ป้องกันการถูกกลั่นแกล้ง: คนที่ไม่หวังดีอาจใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ เช่น เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของเราให้คนอื่นรู้ หรือใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการสร้างข่าวลือที่ไม่ดี ป้องกันการถูกขโมยข้อมูล: คนที่ไม่หวังดีอาจขโมยข้อมูลส่วนตัวของเราไปขาย หรือนำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย ป้องกันอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน: ข้อมูลส่วนตัวบางอย่างเช่น...

ข้อมูลส่วนตัวคืออะไร?

ข้อมูลส่วนตัว คือ ข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนของเราได้ ข้อมูลเหล่านี้สำคัญมาก เพราะหากมีคนรู้ข้อมูลส่วนตัวของเรา อาจนำไปใช้ในทางที่ไม่ดีได้ ตัวอย่างข้อมูลส่วนตัว: ชื่อ-นามสกุล: ชื่อจริงและนามสกุลของเรา ที่อยู่: บ้านเลขที่ ถนน ตำบล อำเภอ จังหวัด รหัสไปรษณีย์ เบอร์โทรศัพท์: เบอร์โทรศัพท์บ้านหรือเบอร์โทรศัพท์มือถือของเรา วันเดือนปีเกิด: วัน เดือน และปีที่เราเกิด รูปภาพ: รูปถ่ายของเรา ข้อมูลโรงเรียน: ชื่อโรงเรียน ชั้นเรียน...

พัฒนาอินโฟกราฟิกให้ปัง! ด้วยการรับฟังและปรับปรุงผลงาน

ความสำคัญของการรับฟังความคิดเห็น: ช่วยให้เข้าใจมุมมองและความต้องการของผู้ฟัง ช่วยให้เห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของผลงาน ช่วยให้สามารถปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้น ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็น: 1. เปิดใจรับฟัง: ตั้งใจฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างตั้งใจ หลีกเลี่ยงการโต้แย้งหรือตัดสินความคิดเห็น 2. จดบันทึก: จดบันทึกความคิดเห็นที่สำคัญ เพื่อนำมาพิจารณา 3. วิเคราะห์ความคิดเห็น: แยกแยะความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ พิจารณาว่าความคิดเห็นใดที่สามารถนำมาปรับปรุงผลงานได้ 4. ปรับปรุงผลงาน: นำความคิดเห็นที่ได้มาปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้น ทดสอบผลงานที่ปรับปรุงแล้วกับกลุ่มเป้าหมาย 5. ขอบคุณผู้ให้ความคิดเห็น: แสดงความขอบคุณต่อผู้ที่ให้ความคิดเห็น แสดงให้เห็นว่าความคิดเห็นของพวกเขาได้รับการนำไปใช้ประโยชน์ เทคนิคการรับฟังความคิดเห็น: ตั้งคำถามปลายเปิด เพื่อให้ผู้ฟังแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ แสดงความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้ฟัง สรุปความคิดเห็นของผู้ฟัง เพื่อให้แน่ใจว่าเข้าใจถูกต้อง ขอคำแนะนำเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน การนำเสนอผลงาน และรับฟังความคิดเห็น หลังจากนำเสนอผลงาน Infographic เสร็จ ควรเปิดโอกาศให้ผู้ร่วมรับชมผลงานนั้น ได้แสดงความคิดเห็น จดบันทึกคำถาม และข้อสงสัยต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขผลงาน กิจกรรม: ให้นักเรียนนำเสนออินโฟกราฟิกที่ตนเองสร้าง และรับฟังความคิดเห็นจากเพื่อนๆ หรือครู ให้นักเรียนปรับปรุงอินโฟกราฟิกของตนเองตามความคิดเห็นที่ได้รับ ให้นักเรียนสะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นและการปรับปรุงผลงาน คำถามทบทวน: ทำไมการรับฟังความคิดเห็นจึงสำคัญ? มีขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นอย่างไร? มีเทคนิคอะไรบ้างในการรับฟังความคิดเห็น?...

About ครูออฟ 1711 Articles
https://www.kruaof.com