1.1.4 ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Programming Language) คือ ชุดคำสั่งที่นักเขียนโปรแกรม หรือโปรแกรมเมอร์ (Programmer) เขียนโปรแกรมซอร์สโค้ด (Source Code) ที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ของภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสาร ควบคุมการรับส่งข้อมูล และสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่นักเขียนโปรแกรมต้องการได้

          การเขียนโปรแกรมแบบ Block-based programming คือ การเขียนโปรแกรมในลักษณะการนำ Block ของคำสั่งมาต่อๆ กัน คล้ายการต่อจิ๊กซอว์ โดยใชวิธีการลากวาง (Drag and Drop) เพื่อให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับผู้เริ่มต้น

Read more: 1.1.4 ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
คลิปวิดีโอ  Real Steel (2011) Final Round (4K)

“คอมพิวเตอร์ หรือหุ่นยนต์ รวมถึงอุปกรณ์อัจฉริยะอื่นๆ เข้าใจคำสั่งของเราได้อย่างไร?”

คลิปวิดีโอ หุ่นยนต์ดินสอ-รายการลุยไม่รู้โรย TPBS

ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Programming Language) คือ ชุดคำสั่งที่นักเขียนโปรแกรม หรือโปรแกรมเมอร์ (Programmer) เขียนโปรแกรมซอร์สโค้ด (Source Code) ที่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ของภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสาร ควบคุมการรับส่งข้อมูล และสั่งให้คอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ หรืออุปกรณ์อัจฉริยะต่าง ๆ ทำงานตามที่นักเขียนโปรแกรมต้องการได้

โดยภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน มีหลายภาษาให้เลือกใช้งาน ขึ้นอยู่กับความถนัด หรือความสามารถของนักพัฒนาโปรแกรม (Programmer) ที่จะเลือกใช้ภาษาโปรแกรมให้เหมาะกับโปรแกรม หรือเหมาะสมกับงานที่จะนำไปใช้ เช่น ภาษา C, ภาษา HTML,ภาษา python, ภาษา javascript, ภาษา Scratch และ ภาษา kidbright

ซึ่ง ภาษา ภาษา Scratch และ ภาษา kidbright เป็นการเขียนโปรแกรมแบบ Block-based programming คือ การเขียนโปรแกรมในลักษณะการนำ Block ของคำสั่งมาต่อๆ กัน คล้ายการต่อจิ๊กซอว์ โดยใชวิธีการลากวาง (Drag and Drop) เพื่อให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรมสำหรับผู้เริ่มต้น

ส่วนประกอบของหุ่นยนต์ จะต้องประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ดังนี้

  • ส่วนการควบคุม เป็นเทคโนโลยีที่เน้นศึกษาด้านการออกแบบชิ้นส่วนหุ่นยนต์การประกอบหุ่นยนต์ และการควบคุมการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์
  • ส่วนการรับรู้ เป็นเทคโนโลยีที่เน้นพัฒนาส่วนของการรับรู้ข้อมูลของหุ่นยนต์จากอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่างๆ รวมทั้งระบบ Computer Vision ที่ทำให้หุ่นยนต์มองเห็น หรือตรวจสอบระยะใกล้ไกลของวัตถุ โดยข้อมูลที่ได้มานั้นจะนำมาประมวลผลและส่งต่อคำสั่งไปที่ตัวขับเคลื่อนต่าง ๆ
  • ส่วนการเข้าใจ เป็นเทคโนโลยีที่เน้นการพัฒนาระบบการตัดสินใจของหุ่นยนต์เมื่อได้รับข้อมูลจากตัวตรวจจับ ซึ่งเป็นการใช้หลักการของวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และมีความเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี AI และศาสตร์ Machine Learning

ดังนั้น หุ่นยนต์ที่แต่ละกลุ่มออกแบบ จะต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วนดังกล่าว

โดยสรุป ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ปัจจุบันมีอยู่หลายภาษา โดยภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสาร กับคอมพิวเตอร์ เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เข้าใจคำสั่ง

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สีในบล็อกคำสั่งของโปรแกรมภาษาสแครช

สีของบล็อกคำสั่งใน Scratch จะแบ่งออกเป็นกลุ่มหลักๆ ดังนี้: สีม่วง: บล็อกควบคุม (Control) เช่น เมื่อคลิกธงเขียว, รอ, ทำซ้ำ สีส้ม: บล็อกการมองเห็น (Looks) เช่น พูด, เปลี่ยนชุด, เปลี่ยนขนาด สีฟ้า: บล็อกเสียง (Sound) เช่น เล่นเสียง,...

4.1.1 รู้จักกับโปรแกรมนำเสนอ Microsoft PowerPoint

Microsoft PowerPoint คืออะไร? Microsoft PowerPoint เป็นโปรแกรมที่ใช้สร้างงานนำเสนอ (Presentation) โดยมีลักษณะเป็นสไลด์ (Slide) แต่ละแผ่น ซึ่งสามารถใส่ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ เสียง และองค์ประกอบอื่นๆ เพื่อนำเสนอข้อมูลให้เข้าใจง่ายและน่าสนใจ PowerPoint มีประโยชน์อย่างไร สร้างงานนำเสนอที่น่าสนใจ: ช่วยให้นักเรียนนำเสนอรายงาน...

วิธีการสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดี

การสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดีเป็นสิ่งสำคัญมากในยุคปัจจุบัน เพราะโซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว การใช้โซเชียลมีเดียอย่างมีสติและสร้างสรรค์ จะช่วยให้เราได้รับประโยชน์สูงสุดและหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบ นี่คือวิธีการสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดี: 1. กำหนดเวลา: ตั้งเวลา: กำหนดเวลาที่ชัดเจนสำหรับการใช้โซเชียลมีเดียแต่ละครั้ง เช่น 1 ชั่วโมงต่อวัน ใช้แอปพลิเคชันช่วย: มีแอปพลิเคชันมากมายที่ช่วยในการติดตามและจำกัดเวลาการใช้งานโซเชียลมีเดีย 2. สร้างกิจวัตร: หาอะไรทำ: หากิจกรรมอื่นๆ ที่สนใจทำ เช่น อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย พบปะเพื่อน เพื่อลดเวลาที่ใช้ไปกับโซเชียลมีเดีย วางแผนวัน: วางแผนกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน...

วิธีจัดการกับความรู้สึก FOMO (Fear of Missing Out) บนโซเชียลมีเดีย

ความรู้สึก FOMO หรือกลัวว่าจะพลาดอะไรดีๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวบนโซเชียลมีเดียนั้นเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่การปล่อยให้ความรู้สึกนี้ครอบงำชีวิตประจำวันมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตได้ ดังนั้น มาลองดูวิธีจัดการกับความรู้สึก FOMO กันค่ะ 1. ตระหนักถึงความเป็นจริง: ภาพที่เห็นบนโซเชียลมีเดียไม่ใช่ชีวิตจริงทั้งหมด: สิ่งที่เราเห็นบนโซเชียลมีเดียส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของคนอื่นๆ การเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นๆ บนโซเชียลมีเดียอาจทำให้เรารู้สึกด้อยค่า ทุกคนมีช่วงเวลาที่ดีและไม่ดี: ไม่มีใครมีความสุขตลอดเวลา การเห็นคนอื่นมีความสุขตลอดเวลาบนโซเชียลมีเดียอาจทำให้เรารู้สึกว่าชีวิตของตัวเองไม่ดีพอ 2. จำกัดเวลาในการใช้โซเชียลมีเดีย: กำหนดเวลา: ตั้งเวลาที่แน่นอนสำหรับการใช้โซเชียลมีเดียแต่ละครั้ง สร้างกิจวัตร: หากิจกรรมอื่นๆ ที่สนใจทำ...

About ครูออฟ 1632 Articles
https://www.kruaof.com