4.1.2 การกำหนดชุดรูปแบบ หรือ ธีม (Theme)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
คลิปวิดีโอ #Slidesgo เว็บไซต์ดาวน์โหลด Template PowerPoint

ธีม (Theme) คือ ชุดของสี ฟอนต์ และเอฟเฟ็กต์ภาพที่กําหนดไว้ ซึ่งกําหนดไว้ใช้กับสไลด์
เทมเพลต (Template) คือ ธีมพร้อมเนื้อหาบางอย่าง เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น งานนําเสนอการขาย แผนธุรกิจ หรือบทเรียนในชั้นเรียน

ธีม (Theme) ในโปรแกรม Microsoft PowerPoint 2016 ใช้สำหรับจัดการเรื่องความสวยงามของงานนำเสนอ หรือ Presentation โดยจะประกอบด้วยการจัดการเรื่องหลักๆ ดังนี้

  1. ฟอนต์ (Font) ใช้ฟอนต์ใด ในการสร้างงานนำเสนอ โดยงานนำเสนอ ไม่ควรใช้ฟอนต์ที่มีความหลากหลายมากจนเกินไป
  2. ขนาดตัวอักษร (Font Size) และสไตล์ (Style) จะควบคุมให้สไลด์ต่างๆ ใช้ขนาดเท่าใด ตัวหนา ตัวเอียง หรือไม่??
  3. สี (Color)  ทั้งสีของตัวอักษร และพื้นหลัง ของทุก ๆ ส่วนประกอบในสไลด์
  4. พื้นหลัง (Background) โดยในโปรแกรม Microsoft PowerPoint 2016 จะสามารถควบคุมการแสดงในรูปแบบของสีพื้นหลัง และรูปที่จะมาใช้เป็น Background
  5. เลย์เอาท์ (Layout) คือ รูปแบบของโครงสร้างของสไลด์ว่าจะให้มีช่องกรอกข้อความกี่จุด ตำแหน่งใดบ้าง ? โดยใน PowerPoint จะเรียกตำแหน่งที่จะให้กำหนดเนื้อหาเหล่านี้ว่า Placeholder
  6. อื่น ๆ ได้แก่ Effect, Header, Footer เป็นต้น

ประโยชน์ของธีม (Theme)

  1. ช่วยทำให้งานนำเสนอ มีรูปแบบที่เป็นรูปแบบเดียวกัน (Consistency)
  2. ทำให้ลดเวลาในการตกแต่งงานนำเสนอลง
  3. ลดเวลาในการปรับแก้ไข เช่นเปลี่ยน โลโก้ ก็สามารถปรับแก้ได้ในครั้งเดียว

ขั้นตอนในการสร้าง Theme

  1. สร้างไฟล์ Presentation ใหม่ขึ้นมา เลือก Blank Presentation
  2. เข้าคำสั่ง View > Master Slide เพื่อไปยังมุมมองของ Slide ต้นแบบ
  3. กำหนด ฟอนต์ (Font)

คลิกที่ Slide Master > Fonts > เลือกกลุ่มฟอนต์ที่ต้องการ โดยหากไม่มี ให้สร้างใหม่เอง โดยคลิกที่ Customize Font… และทุกสไลด์จะเหมือนๆ กัน ในกรณีที่ Customize Font คือ พยายามเลือกฟอนต์ Heading Font (Latin) กับ Heading Font (Latin) และ Body Font (Latin) กับ Body Font (Latin) เป็นฟอนต์ชื่อเดียวกัน เพื่อที่เวลาเปลี่ยนภาษา แล้ว จะเป็นฟอนต์เดียวกัน

  • กำหนด สี (Color)

คลิกที่ Slide Master > Color > เลือกกลุ่มสีที่ต้องการ โดย โทนสีดังกล่าวจะถูกนำมาใช้เป็น Theme Color และ นำไปใช้กับ ตาราง (Table) และ กราฟ (Chart) ของ Presentation

หากต้องการปรับเปลี่ยนสี หรือสร้างโทนสีของเราเอง สามารถกำหนดโดยการ Customize Color ได้ ซึ่งจะมีสีหลักให้เราระบุด้วยกัน 6 เฉดสี ตั้งแต่ Accent 1 ถึง Accent 6 สีของ Background 2 แบบ และสีของ Hyperlink

  • กำหนด เลเอาท์ (Layout) ที่จะสร้างเพิ่มหรือลด

กำหนดในแต่ละ เลเอาท์ (Layout) ว่าจะมี Placeholder ที่ตำแหน่งใดบ้าง โดยเลือกประเภทของ Placeholder เช่น เป็น ข้อความอย่างเดียว (Text) เป็นรูปภาพ (Picture) หรือแบบเนื้อหาผสม (Content)

  • กำหนดตำแหน่งของแต่ละส่วนประกอบว่าจะมีส่วนประกอบอย่างไรบ้าง โดยสามารถใส่ Shape ใส่รูปภาพ โลโก้ (Logo) เข้ามาประกอบ

ข้อแนะนำ สไลด์ที่อยู่ด้านบนสุดจะเรียกว่า Master ส่วนด้านล่างจะเรียกว่า Child ซึ่งหากจะปรับแต่งที่ตัว Master จะส่งผลกระทบกับ Child ทั้งหมด ดังนั้นจะเหมาะสำหรับการกำหนดค่าที่ต้องการให้เหมือนกัน เช่น ใส่โลโก้ทุกสไลด์ ให้ใส่ที่ Master เป็นต้น

  • บันทึก ธีม (Theme)

คลิกที่ Slide Master > Themes > Save Current Theme…ห้ามเปลี่ยนโฟลเดอร์เด็ดขาด แล้วตั้งชื่อไฟล์ โดยจะได้ไฟล์นามสกุล .thmx ซึ่งทุกครั้งที่เปิด Microsoft PowerPoint ขึ้นมา จะโหลด Theme ที่เก็บไว้ที่โฟลเดอร์ดังกล่าวมาแสดงให้ใช้งานด้วย (ที่ Tab Design)

การนำเอา ธีม (Theme) ที่บันทึกไว้มาใช้งาน

มี 2 แนวทางคือหากต้องการจะใช้ Theme ของ PowerPoint ที่ได้บันทึกไว้แล้วนั้นทำได้โดยเปิด Presentation เดิมขึ้นมา หรือจะเป็นการสร้างไฟล์ Presentation ใหม่ คลิกที่ Design > คลิกที่ Theme ที่เราได้สร้างไว้ Theme ก็จะถูก apply มายังสไลด์ของเรา

เมื่อนำ Theme ที่ได้ทำมานั้นมาใช้งานหาก Presentation เดิม ใช้สีที่เป็น Standard Color หรือมีการปรับเปลี่ยน ตำแหน่ง แบบ manual ก็จะไม่ส่งผลกระทบกับ Theme ใหม่ แต่สามารถทำการ Reset ได้โดยคลิกที่ Home > Reset ในแต่ละสไลด์ เพื่อที่จะดึงเอา Theme มาใช้งานในสไลด์ได้ ซึ่งทั้ง Font, Layout, Background, Color ก็จะถูกนำมาใช้งานทันที

หากมีเรื่องที่สนใจต้องการจะทำ ที่เฉพาะเจาะจง สามารถสร้าง Theme ให้เข้ากับเรื่องที่สนใจได้เลย นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์ที่ได้ทำ Theme และ Template ที่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี เช่น เว็บไซต์ https://slidesgo.com/ ซึ่งสามารถค้นหา Template เกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ โดยพิมพ์คำค้นหาลงในช่อง Search a template

โดยสรุป การสร้างธีม (Them) ในโปรแกรมนำเสนอ Microsoft PowerPoint 2016 ช่วยทำให้งานนำเสนอ มีรูปแบบที่เป็นรูปแบบเดียวกัน ลดเวลาในการปรับแก้ไข โดยเครื่องมือที่ใช้ในการสร้าง Template รวมทั้งขั้นตอนที่ใช้ในการสร้าง Template ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน สามารถกำหนดสี ฟ้อนต์ รูปแบบต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการ

คลิกเรื่องต่อไป
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com