เกมการแก้ปัญหา

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

เกมการแก้ปัญหา  คือเกมที่จะต้องการให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิด วิเคราะห์ และวางแผนการทำงานอย่างมีระบบ จะทำให้ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน กล้าตัดสินใจ และกล้าแสดงออก บางปัญหาเป็นเกมที่ผู้เรียนสามารถคลิ๊กเข้าไปเล่นได้เลย มีมากหลายเกม แต่ในเนื้อหานี้จะประกอบด้วย เกม 3 รายการคือ (1) เกมบันไดงู (2) เกมเททริส และ (3) เกม OX

เกมบันไดงู

เกมบันไดงูเป็นเกมกระดานชนิดหนึ่งโดยจะมีผู้เล่นตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ลักษณะของตารางจะแบ่งเป็นช่อง ๆ มีตัวเลขกำกับ มีงูและบันไดพาดไปมา ลักษณะของกระดานอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบ

อุปกรณ์การเล่น

1.  แผ่นตารางเกมบันไดงู
2.  ลูกเต๋า
3.  ตัวเดิน

วิธีการเล่น

1.  ตกลงกันระหว่างผู้เล่นว่าใครจะเริ่มเล่นก่อน
2.  ผู้เล่นคนแรกทอดลูกเต๋า ถ้าออกแต้มใดให้เดินไปยังหมายเลขนั้น
3.  สลับกันเล่นกับผู้เล่นคนต่อไป
4.  ถ้าเดินไปหยุดที่ช่องบันไดพอดีจะได้เดินขึ้นบันไดไปข้างบน
5.  ถ้าเดินไปหยุดช่องที่มีงูต้องลงจากปากงูไปยังหางงู
6.  การเดินครั้งต่อไปให้นับจำนวนช่องเดินตามแต้มของลูกเต๋าที่ทอดได้
7.  ผู้เล่นคนใดถึงเส้นชัยก่อนจะเป็นผู้ชนะ

ถ้าพิจารณาการเดินของเกมบันไดงู จะพบว่าการเดินจะต้องพิจารณาตามเงื่อนไขที่เกมกำหนด สามารถเขียนเป็นผังงานได้ ดังนี้

เกมเททริส (Tetris)

เกมเททริสเป็นเกมที่มีรูปสี่เหลี่ยมจำนวน 4 ชิ้น ประกอบกันเป็นรูปต่าง ๆ และมีการสร้างเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผู้เล่นจะต้องบังคับให้ตัวต่อที่ตกลงมาประกอบกันเป็นพื้นที่เต็ม ซึ่งตัวต่อแต่ละตัวสามารถหมุนไปในตำแหน่งที่ต้องการได้

เกมเททริสเป็นเกมที่เล่นเพียงคนเดียว สำหรับเกมที่ออกแบบเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์นั้นโปรแกรมจะสุ่มตัวต่อออกมาทีละตัว แล้วให้ตกลงจากด้านบน ผู้เล่นสามารถใช้คีย์บอร์ดควบคุมการเคลื่อนที่ให้ลงมาเร็ว ๆ หรือหมุนเป็นรูปร่างต่าง ๆ ได้ เมื่อตัวต่อเหล่านั้นตกลงมาบนพื้นนักเรียนจะต้องควบคุมให้เป็นพื้นที่ปิดในแนวนอน เพื่อให้โปรแกรมยุบพื้นที่ปิดนั้นออกไป โดยไม่ให้ชิ้นส่วนที่ตกลงมากองสูงขึ้นจนจบเกม ถ้าสร้างพื้นที่ปิดในแนวนอนได้มากจะเป็นผู้ชนะ

ชิ้นส่วนตัวต่อเกมเททริสมีทั้งหมด 7 แบบ แต่ละแบบจะมีรูปร่างใกล้เคียงกับตัวอักษรภาษาอังกฤษ ดังนี้

เกม OX

เกม OX เป็นเกมที่เล่น 2 คน ออกแบบเป็นช่องตารางกว้าง 3 ช่อง ยาว 3 ช่อง แล้วให้ผู้เล่นผลัดกันเขียนเครื่องหมาย O หรือ X ลงในตาราง

การเล่นเกม OX นี้เป็นเกมที่ต้องเล่น 2 คน โดยผู้เล่นแต่ละคนจะต้องคิด เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถเขียนเป็นเส้นตรงได้ ซึ่งเป็นเกมที่ใช้การคิดและการคาดการณ์ผลที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com