การออกแบบขั้นตอนการแก้ปัญหาควรออกแบบให้ครอบคลุมทุกกรณีตามเงื่อนไขที่โจทย์กำหนด และอาจนำขั้นตอนไปใช้ได้หลาย ๆ ครั้ง ตามต้องการ
ขั้นสังเกต รวบรวมข้อมูล (Gathering)
สถานการณ์ตัวอย่างการออกแบบบัวรดน้ำ
มะปรางต้องการรดน้ำต้นไม้ที่อยู่หน้าบ้าน แต่ไม่มีบัวรดน้ำจึงนำขวดน้ำมาออกแบบประดิษฐ์เป็นบัวรดน้ำแทน โดยการเจาะรูที่ฝาขวดน้ำประมาณ 4-5 รู จากนั้นเติมน้ำให้เต็มขวด ปิดฝาให้แน่น แล้วนำไปใช้งาน
- มะปรางกำลังทำอะไร
- มะปรางเจอปัญหาอะไร
- มะปรางเลือกวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
- ขั้นตอนการประดิษฐ์บัวรดน้ำจากขวดน้ำของมะปราง มีขั้นตอนอย่างไร
การออกแบบขั้นตอนการแก้ปัญหา จากสถานการณ์ของการออกแบบบัวรดน้ำ ตามขั้นตอนการแก้ปัญหาอย่างไร โดยเขียนเป็นภาพความคิด ดังตัวอย่าง
- 1. ขั้นระบุปัญหา ต้องการรดน้ำต้นไม้ที่อยู่หน้าบ้าน
- 2. ขั้นรวบรวมข้อมูล ศึกษาหาวิธีการ ขั้นตอนการประดิษฐ์ขวดน้ำมาใช้แทนบัวรดน้ำ
- 3. ขั้นวางแผนการแก้ปัญหา ออกแบบขวดน้ำที่จะนำมาใช้ในการประดิษฐ์บัวรดน้ำ
- 4. ขั้นแก้ปัญหา นำขวดน้ำมาประดิษฐ์แทนบัวรดน้ำตามขั้นตอน
- 5. ขั้นทดสอบและประเมินผล นำขวดน้ำที่ประดิษฐ์ได้เติมน้ำให้เต็มขวด แล้วนำไปรดน้ำต้นไม้
การออกแบบขั้นตอนการแก้ปัญหา พร้อมเสนอแนวทางการปฏิบัติ และผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติและไม่ปฏิบัติ เป็นแผนภาพความคิด
การออกแบบขั้นตอนการแก้ปัญหา ขั้นวางแผนการแก้ปัญหา เป็นการวางแผนและออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ซึ่งอาจมีหลายวิธี โดยเลือกวิธีที่เหมาะสมกับสถานการณ์
- ถ้าปฏิบัติ ช่วยให้การแก้ปัญหาเป็นไปได้โดยง่ายโดยมีการวางแผนเป็นขั้นตอนอย่างเป็นระเบียบ
- ถ้าไม่ปฏิบัติ ได้วิธีการแก้ปัญหาที่ไม่เหมาะสมอาจเกิดความยุ่งยากในการแก้ปัญหา
ตอบคำถามกระตุ้นความคิด
- การออกแบบขั้นตอนการแก้ปัญหา สามารถนำไปใช้กับเรื่องใดได้บ้าง
การออกแบบตามขั้นตอนการแก้ปัญหาตามที่เงื่อนไขกำหนด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
ออกแบบกระดาษและตัดกระดาษเพื่อพับเป็นกล่อง ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี ดังตัวอย่าง
- นักเรียนคิดว่ามีวิธีการตัดกระดาษและพับกระดาษด้วยวิธีอื่น ๆ อีกหรือไม่ ลองเขียนวิธีการของนักเรียน
- นักเรียนต้องการสร้างกล่องสำหรับใส่ดินสอ นักเรียนจะออกแบบให้มีขนาดเท่าใด
โดยสรุป การออกแบบขั้นตอนการแก้ปัญหาควรออกแบบให้ครอบคลุมทุกกรณีตามเงื่อนไขที่โจทย์กำหนดและอาจนำขั้นตอนไปใช้ได้หลาย ๆ ครั้ง ตามต้องการ
Leave a Reply