การออกแบบโปรแกรมการแก้ปัญหา เป็นการออกแบบขั้นตอนการแก้ปัญหาที่ควรออกแบบให้ ครอบคลุมทุกกรณีตามเงื่อนไขที่โจทย์กำหนด และอาจนำขั้นตอนนี้ไปใช้ได้หลาย ๆ ครั้ง ตามต้องการ
ขั้นสังเกต รวบรวมข้อมูล (Gathering)
- นักเรียนชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์หรือไม่
- นักเรียนเจอปัญหาใดบ้างในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
- นักเรียนสามารถหาคำตอบของตัวเลขได้โดยวิธีใดบ้าง
สถานการณ์ตัวอย่าง
การสร้างเครื่องคำนวณสำหรับบวกเลขจำนวนเต็ม 2 จำนวน
- ปัญหาของตัวอย่างนี้คืออะไร
- วิธีที่ใช้แก้ปัญหาคือวิธีใด
การออกแบบโปรแกรมการแก้ปัญหาตามขั้นตอน
การแก้ปัญหาของสถานการณ์ตัวอย่างการสร้างเครื่องคำนวณสำหรับบวกเลขจำนวนเต็ม 2 จำนวน โดยมีวิธี
การปฏิบัติ จากแผ่นป้ายข้อความ ดังนี้
1. ระบุปัญหา โจทย์ต้องการให้สร้างเครื่องคำนวณสำหรับบวกเลข
2. รวบรวมข้อมูล เราทราบมาว่าข้อมูลที่นำมาบวกกันเป็นเลขจำนวนเต็ม 2 จำนวน เมื่อบวกกันแล้วผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นเลขจำนวนเต็มเช่นกัน
3. วางแผนการแก้ปัญหา เราจะแก้ปัญหานี้โดยรับค่าตัวเลขแต่ละค่าเข้ามา ค่าแรกเก็บไว้ใน A
ค่าที่ 2 เก็บไว้ใน B จากนั้นนำทั้ง 2 ค่ามารวมกันแล้วเก็บไว้ใน C
4. แก้ปัญหา เราอาจเขียนลำดับการแก้ปัญหาเป็นภาพ หรือเขียนเป็นขั้นตอน ดังนี้
5. ทดสอบและประเมินผล ลองทดสอบการบวกเลขระหว่าง 2 กับ 3
วิเคราะห์จำนวนที่กำหนดในแต่ละข้อแล้วนำมาเรียงลำดับตามขั้นตอนการรับค่าตัวเลขเครื่องคำนวณที่ออกแบบไว้ เขียนเป็นภาพความคิดแล้วอภิปรายสรุปผลร่วมกันในชั้นเรียน ดังตัวอย่าง
- การออกแบบโปรแกรมการแก้ปัญหามีหลักการออกแบบอย่างไร
การออกแบบโปรแกรมการแก้ปัญหาเป็นไปตามลำดับขั้นตอนการทำงานตามเงื่อนไขที่กำหนดทำให้ปัญหาถูกแก้ไขได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ
โดยสรุป การออกแบบโปรแกรมการแก้ปัญหา เป็นการออกแบบขั้นตอนการแก้ปัญหาที่ควรออกแบบให้ครอบคลุมทุกกรณีตามเงื่อนไขที่โจทย์กำหนด และอาจนำขั้นตอนนี้ไปใช้ได้หลาย ๆ ครั้ง ตามต้องการ
Leave a Reply