ข้อมูลที่ได้จากเว็บไซต์ต่าง ๆ จะต้องนำเนื้อหามาพิจารณา เปรียบเทียบ เลือกข้อมูลที่มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กัน ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล โดยพิจารณาจากประเภทของเว็บไซต์ของหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ
ขั้นสังเกต รวบรวมข้อมูล (Gathering)
- นักเรียนเคยใช้อินเทอร์เน็ตหาข้อมูลอะไรบ้าง
- นักเรียนหาจากเว็บไซต์เดียวหรือหลาย ๆ เว็บไซต์
การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้ว่าอาจประเมินจากประเภทของเว็บไซต์ หากเป็นของหน่วยงานราชการ สำนักข่าว หรือองค์กรต่าง ๆ ความน่าเชื่อถืออาจจะมากกว่าเว็บไซต์ที่สร้างโดยบุคคลทั่วไป จึงต้องพิจารณาถึงผู้เขียนหรือผู้ให้ข้อมูลด้วยนอกจากนี้เมื่อเวลาผ่านไปข้อมูลต่าง ๆ อาจต้องปรับให้ทันสมัย ดังนั้น เราควรพิจารณาถึงวันที่ที่เผยแพร่ข้อมูลนั้นด้วย
ขั้นคิดวิเคราะห์และสรุปความรู้(Processing)
วิเคราะห์ปัญหาความไม่น่าเชื่อถือของ ข้อมูล
- การอ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูลมีประโยชน์อย่างไร
การค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ควรเลือกจากเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ จากหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ มากกว่าเว็บไซต์บุคคลทั่วไป และเมื่อต้องการใช้ข้อมูลควรอ้างอิงที่มาหรือแหล่งเก็บข้อมูลนั้นด้วย
ขั้นปฏิบัติและสรุปความรู้หลังการปฏิบัติ (Applying and Constructing the Knowledge)
นักเรียนฝึกปฏิบัติการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับกรุงเทพมหานคร โดยใช้คำค้นว่า “กรุงเทพมหานคร” แล้วหาว่าข้อมูลจากเว็บไซต์ใดมีความน่าเชื่อถือมากที่สุด พร้อมระบุชื่อเว็บไซต์ว่าเป็นของหน่วยงานใด เมื่อวันที่… เดือน… พ.ศ. อะไร
นักเรียนค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับจังหวัดของตนเองแล้วนำข้อมูลในประเด็นที่นักเรียนสนใจมาเรียบเรียงเป็นข้อความประมาณ 10 บรรทัด นำภาพมาติดหรือ วาดภาพประกอบ และอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่นักเรียนศึกษาและตอบคำถาม
โดยสรุป ข้อมูลที่ได้จากเว็บไซต์ต่าง ๆ จะต้องนำเนื้อหามาพิจารณา เปรียบเทียบ เลือกข้อมูลที่มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กัน ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล โดยพิจารณาจากประเภทของเว็บไซต์จากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ
Leave a Reply