ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ซอฟต์แวร์ตารางทำงานเป็นโปรแกรมที่ช่วยในการคิดคำนวณ ใช้สร้างตาราง สร้างกราฟ และแผนภูมิ  ในรูปแบบต่าง ๆ โดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศเอกซ์เซล

นักเรียนทบทวนความรู้ประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ แล้วร่วมกันสังเกตสัญลักษณ์โปรแกรมที่ติดบนกระดาน แล้วตอบคำถาม ดังนี้

  • ภาพที่ 1 คือสัญลักษณ์ของโปรแกรมอะไร
  • อยู่ในซอฟต์แวร์ประเภทใด
  • มีลักษณะการใช้งานอย่างไร
  • ภาพที่ 2 คือสัญลักษณ์ของโปรแกรมอะไร
  • อยู่ในซอฟต์แวร์ประเภทใด
  • ซอฟต์แวร์ตารางทำงานคืออะไร
  • นักเรียนเคยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศเอกซ์เซลมาก่อนหรือไม่
  • ถ้าเคย หน้าโปรแกรมมีลักษณะเป็นแบบใด

ตัวอย่างการทำตารางค่าใช้จ่ายอุปกรณ์การเรียนที่ซื้อมา โดยคิดคำนวณค่าใช้จ่ายในแต่ละรายการ และค่าใช้จ่ายทั้งหมด ดังนี้

  • นักเรียนคิดราคารวมของอุปกรณ์ที่ซื้อมาอย่างไร
  • นักเรียนควรเลือกซอฟต์แวร์ประเภทใดในการสร้างตาราง เพราะเหตุใด

นักเรียนฝึกปฏิบัติการใช้ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน โปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศเอกซ์เซล ตามขั้นตอน ดังนี้

1. เปิดโปรแกรมตารางทำงาน จะพบหน้าโปรแกรมมีลักษณะ ดังนี้

2. โปรแกรมจะแสดงตารางออกมาเพื่อให้เราพิมพ์สิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการนำเสนอในรูปแบบของตาราง โดยนักเรียนเลือกเซลล์ที่ต้องการพิมพ์ข้อความ แล้วพิมพ์ข้อความเข้าไปได้ทันที ทดลองคลิกเมาส์ที่เซลล์ B2 แล้วพิมพ์คำว่า “รายการสินค้า”

3. การปรับขนาดเซลล์สามารถปฏิบัติโดยคลิกเมาส์ที่ตำแหน่งเซลล์ค้างไว้ แล้วลากเพื่อปรับขนาดตามที่ต้องการ

4. ทดลองพิมพ์ข้อความในเซลล์ C2 เป็น “จำนวน” เซลล์ D2 เป็น “ราคา” และเซลล์ E2 เป็น “ราคารวม” โดยพิมพ์ข้อความครั้งละ 1 รายการ

5. พิมพ์ลำดับของรายการลงไปในเซลล์ A3 ถึงเซลล์ A7

6. การจัดลำดับให้อยู่กึ่งกลาง สามารถปฏิบัติโดยกด Shift ที่คีย์บอร์ดค้างไว้ แล้วคลิกเมาส์เลือกทั้งหมด จากนั้นคลิกเมาส์เลือกให้อยู่กึ่งกลาง

7. การปรับหัวข้อรายการให้อยู่กึ่งกลาง สามารถปฏิบัติโดยกด Shift ที่คีย์บอร์ดค้างไว้แล้วคลิกเมาส์เลือกทั้งหมด จากนั้นคลิกเมาส์เลือกให้อยู่กึ่งกลาง

8. พิมพ์รายการสินค้า จำนวนแต่ละรายการ และราคาของสินค้าแต่ละชนิดในเซลล์ จากนั้นพิมพ์ข้อความ “รวมเป็นเงิน” ในเซลล์ B9

9. คำนวณราคารวมของสินค้าแต่ละรายการ โดยโปรแกรมจะทำงานอัตโนมัติ ตามขั้นตอน ดังนี้

8. คำนวณราคารวมของสินค้ารายการอื่น ๆ โดยการคัดลอกการคำนวณ ดังนี้

9. คำนวณจำนวนเงินทั้งหมด โดยเลือก Formulas หรือสูตรการคำนวณ

10. สร้างเส้นกรอบให้กับตาราง ดังนี้

11. บันทึกไฟล์หรือข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยคลิกเมาส์เลือกเมนู File คลิกเมาส์เลือก Save As คลิกเมาส์เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บไฟล์ แล้วตั้งชื่อไฟล์ว่า “รายการสินค้า” จากนั้นคลิกเมาส์เลือกปุ่ม

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิธีการสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดี

การสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดีเป็นสิ่งสำคัญมากในยุคปัจจุบัน เพราะโซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว การใช้โซเชียลมีเดียอย่างมีสติและสร้างสรรค์ จะช่วยให้เราได้รับประโยชน์สูงสุดและหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบ นี่คือวิธีการสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดี: 1. กำหนดเวลา: ตั้งเวลา: กำหนดเวลาที่ชัดเจนสำหรับการใช้โซเชียลมีเดียแต่ละครั้ง เช่น 1 ชั่วโมงต่อวัน ใช้แอปพลิเคชันช่วย: มีแอปพลิเคชันมากมายที่ช่วยในการติดตามและจำกัดเวลาการใช้งานโซเชียลมีเดีย 2. สร้างกิจวัตร: หาอะไรทำ: หากิจกรรมอื่นๆ ที่สนใจทำ เช่น อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย พบปะเพื่อน เพื่อลดเวลาที่ใช้ไปกับโซเชียลมีเดีย วางแผนวัน: วางแผนกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน...

วิธีจัดการกับความรู้สึก FOMO (Fear of Missing Out) บนโซเชียลมีเดีย

ความรู้สึก FOMO หรือกลัวว่าจะพลาดอะไรดีๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวบนโซเชียลมีเดียนั้นเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่การปล่อยให้ความรู้สึกนี้ครอบงำชีวิตประจำวันมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตได้ ดังนั้น มาลองดูวิธีจัดการกับความรู้สึก FOMO กันค่ะ 1. ตระหนักถึงความเป็นจริง: ภาพที่เห็นบนโซเชียลมีเดียไม่ใช่ชีวิตจริงทั้งหมด: สิ่งที่เราเห็นบนโซเชียลมีเดียส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของคนอื่นๆ การเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นๆ บนโซเชียลมีเดียอาจทำให้เรารู้สึกด้อยค่า ทุกคนมีช่วงเวลาที่ดีและไม่ดี: ไม่มีใครมีความสุขตลอดเวลา การเห็นคนอื่นมีความสุขตลอดเวลาบนโซเชียลมีเดียอาจทำให้เรารู้สึกว่าชีวิตของตัวเองไม่ดีพอ 2. จำกัดเวลาในการใช้โซเชียลมีเดีย: กำหนดเวลา: ตั้งเวลาที่แน่นอนสำหรับการใช้โซเชียลมีเดียแต่ละครั้ง สร้างกิจวัตร: หากิจกรรมอื่นๆ ที่สนใจทำ...

ปัญหาการติดโซเชียลมีเดีย: ภัยเงียบที่คุกคามชีวิตประจำวัน

การติดโซเชียลมีเดีย กลายเป็นปัญหาที่พบเห็นได้บ่อยในยุคดิจิทัล ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้คนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพจิต สังคม และการทำงาน การใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไปอาจนำไปสู่ปัญหาต่างๆ ดังนี้ ผลกระทบต่อสุขภาพจิต ความเครียดและวิตกกังวล: การเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นบนโซเชียลมีเดียอาจนำไปสู่ความรู้สึกไม่ดีต่อตนเองและก่อให้เกิดความเครียด ภาวะซึมเศร้า: การใช้เวลากับโซเชียลมีเดียมากเกินไปอาจทำให้ขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในชีวิตจริง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า การนอนไม่หลับ: การใช้โทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตก่อนนอนซึ่งมีแสงสีฟ้าจะรบกวนการหลับพักผ่อน ความรู้สึกโดดเดี่ยว: แม้จะมีเพื่อนมากมายบนโซเชียลมีเดีย แต่การขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในชีวิตจริงอาจทำให้รู้สึกโดดเดี่ยว ผลกระทบต่อสังคม ความสัมพันธ์ส่วนตัว: การใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับโซเชียลมีเดียอาจทำให้ความสัมพันธ์กับครอบครัวและเพื่อนฝูงเสื่อมลง ผลการเรียน: นักเรียนที่ใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไปอาจมีสมาธิในการเรียนลดลงและผลการเรียนตกต่ำ ประสิทธิภาพในการทำงาน: การตรวจสอบโซเชียลมีเดียบ่อยครั้งขณะทำงานจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ผลกระทบต่อสุขภาพกาย ปัญหาสายตา: การจ้องหน้าจอมือถือเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการตาแห้ง ปวดตา และสายตาสั้น ปวดคอและไหล่:...

วิธีการใช้โซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัย

การใช้โซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว แต่ก็มีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ หากเราไม่ระมัดระวังในการใช้งาน ดังนั้น มาดูวิธีการใช้โซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัยกันค่ะ 1. ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว จำกัดผู้ที่สามารถเห็นโพสต์: เลือกให้เฉพาะเพื่อนหรือกลุ่มคนที่คุณไว้วางใจเท่านั้นที่สามารถเห็นโพสต์ของคุณได้ ปรับการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของแต่ละแอป: แต่ละแอปจะมีการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวที่แตกต่างกันไป ควรศึกษาและปรับตั้งค่าให้เหมาะสมกับความต้องการของคุณ ตรวจสอบการตั้งค่าบ่อยๆ: โซเชียลมีเดียอาจมีการปรับเปลี่ยนการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวอยู่เสมอ ควรตรวจสอบเป็นประจำ 2. สร้างรหัสผ่านที่แข็งแรง หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูลส่วนตัว: อย่าใช้วันเกิด ชื่อสัตว์เลี้ยง หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ มาเป็นรหัสผ่าน ใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกัน: สำหรับแต่ละบัญชีโซเชียลมีเดีย ควรใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกัน เปิดใช้งานการยืนยันตัวตนสองชั้น: เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเข้าสู่ระบบ 3. ระวังการคลิกลิงก์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบ...

About ครูออฟ 1606 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.