เริ่มต้นการใช้งาน kidBright

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การใช้งานโปรแกรมสร้างชุดคำสั่ง kidbright IDE เพื่อสั่งให้บอร์ด KidBright ทำงานตามคำสั่ง สามารถเข้าใช้งานได้โดยการดาวน์โหลดโปรแกรมเพื่อติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ ใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ตโดยไปที่ลิงค์ https://www.kidbright.org/simulator/home

การทดลองเขียนโปรแกรม โดยการใช้งานบอร์ด Kidbright สามารถเชื่อมต่อบอร์ดกับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทดลองการเขียนโปรแกรม โดยทำการติดตั้ง ไดรเวอร์ USB ของบอร์ด KidBright หรือ ใช้งาน KidBright Virtual ซึ่งเป็นการฝึกเขียนโปรแกรมการใช้งานบอร์ด KidBright ได้เหมือนการใช้งานบอร์ดจริง สามารถทดลองโปรแกรมผ่านอุปกรณ์เสมือนจริงที่มีอยู่ โดยยังไม่จำเป็นต้องจัดหาอุปกรณ์จริง

การทำงานของ KidBright แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?

บอร์ดสมองกลฝังตัว (Embedded Board) และ โปรแกรมสร้างชุดคำสั่ง KidBright IDE

คลิปวิดีโอ การติดตั้ง KidBright IDE (สำหรับ Windows)

การติดตั้ง FTDI Driver

  1. ทำการดาวน์โหลด FTDI Driver จากลิงค์ https://www.kid-bright.org/download/2290/
  2. ทำการแตกไฟล์ Zip จะได้ไฟล์ CDM21228_Setup.zip
  3. ดับเบิลคลิกเพื่อเริ่มการติดตั้งไดรเวอร์ แล้วคลิกตอบรับ จนกระทั่งการติดตั้งเสร็จสิ้น

ผู้เรียนได้ศึกษาวิธีการเข้าใช้งานโปรแกรมสร้างชุดคำสั่งผ่านอินเทอร์เน็ต และการ การใช้ KidBright Virtual ซึ่งเป็นการจำลองการทำงานของโปรแกรม ผ่านบอร์ด KidBright เสมือนจริง (Simulator)

การเข้าใช้งานโปรแกรมสร้างชุดคำสั่ง KidBright IDE และการทดสอบการใช้งานบอร์ด KidBright สามารถเข้าใช้งานได้ 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1 ติดตั้งโปรแกรมลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ และเชื่อมต่อบอร์ดเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำการติดตั้งโปรแกรมบลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ตามขั้นตอนที่ได้ทำกิจกรรม ติดตั้งไดรเวอร์ USB ของบอร์ด KidBright

วิธีที่ 2 เข้าใช้งานโปรแกรมสร้างชุดคำสั่ง KideBright IDE ผ่านอินเทอร์เน็ตโดยไปที่ลิงค์ https://www.kidbright.org/simulator/home ซึ่งการเข้าใช้งานผ่านอินเทอร์เน็ตสามารถ ทดลองเขียนโปรแกรม โดยการใช้งาน KidBright Virtual ซึ่งเป็นการฝึกเขียนโปรแกรม

การใช้งานบอร์ด KidBright ได้ เหมือนการใช้งานบอร์ดจริง สามารถทดลองโปรแกรมผ่านอุปกรณ์เสมือนจริงที่มีอยู่ โดยยังไม่จำเป็นต้องจัดหาอุปกรณ์จริง ทำให้สามารถเข้าถึงการใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการทดลองใช้งานบอร์ดจริง และค่าใช้จ่ายของการสูญเสีย เนื่องจากการขาดความรู้พื้นฐานด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ทดสอบการใช้งาน

ขั้นตอนที่ 1

ลากบล็อกแอลอีดี 16×8 จากแถบพื้นฐาน และวางบนพื้นที่สร้างชุดคำสั่ง ซึ่งแต่ละจุดเล็กๆที่เรียงต่อกันเป็นเมทริกซ์ บนบล็อกแอลอีดี 16×8 คือตัวแทนของจุดแต่ละจุดบนจอแสดงผลของบอร์ด KidBright

ขั้นตอนที่ 2

เลือกช่องเล็กๆในบล็อกเอลอีดี 16×8 ให้เป็นจุดสีแดงในตำแหน่งแสดงตัวเลขหนึ่ง จุดที่เลือกเป็นสีแดงบนบล็อก แอลอีดี 16×8 เป็นการสั่งให้จอแสดงผลบนบอร์ด KidBright แสดงเป็นสีแดงด้วย

ขั้นตอนที่ 3 กดปุ่มสร้างโปรแกรม

จะปรากฎข้อความแสดงกระบวนการสร้างโปรแกรม จากนั้น คลิกปุ่ม OK เพื่อปิดกล่องข้อความ

ขั้นตอนที่ 4

โปรแกรมสร้างชุดคำสั่งจะทำการแปลงบล็อกไปเป็นรหัสคำสั่ง เมื่อเรียบร้อยแล้วจะส่งรหัสคำสั่ง ไปยังบอร์ด KidBright ผ่านสายยูเอสบี หรือการจำลองการแสดงผลของบอร์ด KidBright Virtual และจะปรากฏเลขหนึ่งที่จอแสดงผลของบอร์ด KidBright

ให้ผู้เรียน เปลี่ยนรูปการแสดงผลและนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันละกัน

สรุป การจะทำให้บอร์ดสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้ จะต้องทำการติดตั้ง FTDI Driver และต้องมีอุปกรณ์ที่ใข้ในการเชื่อมต่อ ดังนี้

และหากไม่มีบอร์ดจริง สามารถใช้งานโปรแกรมสร้างชุดคำสั่ง KidBright ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยการใช้งาน KidBright Virtual ซึ่งเป็นการฝึกเขียนโปรแกรมการใช้งานบอร์ด KidBright ได้ เหมือนการใช้งานบอร์ดจริง

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com