พุทธสาวก ชาดก และพุทธศาสนิกชนตัวอย่าง : สามเณรสังกิจจะ

พุทธสาวก ชาดก และพุทธศาสนิกชนตัวอย่าง ป.3
พุทธสาวก ชาดก และพุทธศาสนิกชนตัวอย่าง ป.3
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สามเณรสังกิจจะ

สามเณรสังกิจจะ เป็นบุตรของลูกสาวเศรษฐี ขณะมารดาท้องแก่ได้เสียชีวิตลง ญาติจึงนำศพไปให้สัปเหร่อจัดการเผาที่ป่าช้า โดยไม่รู้ว่าเด็กในครรภ์ยังมีชีวิตอยู่ ขณะเผาศพสัปเหร่อได้เอาตะขอพลิกศพไปมาเพื่อให้ไฟไหม้ทั่วถึง จนตะขอไปเกี่ยวถูกหางตาเด็ก ทำให้ได้ยินเสียงเด็กร้อง สัปเหร่อจึงรีบนำเด็กขึ้นมาด้วยความอัศจรรย์ใจที่ยังมีชีวิตอยู่และได้นำกลับไปมอบให้ญาติเลี้ยงดูโดยตั้งชื่อว่า สังกิจจะ แปลว่า เกี่ยว (เพราะหางตาถูกตะขอเกี่ยว) เมื่อ อายุ ๗ ขวบสังกิจจะได้ขออนุญาตพ่อเลี้ยงบรรพชาเป็นสามเณรในสำนักของพระสารีบุตร

สังกิจจะเป็นผู้มีบุญสะสมมาแต่ชาติปางก่อน เมื่อรับการบรรพชา (อ่านว่า บัน-พะ-ชา หมายถึง การบวชเป็นสามเณร) จากพระอุปัชฌาย์ (อ่านว่า พระ-อุ-ปัด-ชา หมายถึง พระผู้เป็นประธานการบวช) และบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในขณะปลงผม

เหตุการณ์ที่สำคัญคราวหนึ่ง มีพระสงฆ์บวชใหม่ประมาณ ๓๐ รูป ศึกษาธรรมะในสำนักของพระพุทธเจ้า
และเมื่อมีความรู้พอสมควรแล้วต้องการที่จะปฏิบัติธรรมในป่าเพื่อแสวงหาความสงบ จึงพร้อมใจกันไปทูลลาพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงทราบว่าจะเกิดเหตุร้ายแก่พระสงฆ์เหล่านี้ จึงรับสั่งให้พระสงฆ์ไปลาพระสารีบุตรก่อน

พระสงฆ์ ๓๐ รูปขออนุญาตพระพุทธเจ้าไปปฏิบัติธรรมในป่า

พระสารีบุตรทราบพระประสงค์ของพระพุทธเจ้า จึงให้สามเณรสังกิจจะเดินทางไปด้วยพระสงฆ์เกรงว่าสามเณรจะเป็นภาระทำให้ไม่สามารถปฏิบัติธรรมได้พระสารีบุตรจึงกล่าวว่า “สามเณรสังกิจจะจะไม่เป็นภาระของพวกท่านทั้งหลายพระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องนี้จึงส่งพวกท่านมาลาเรา” พระสงฆ์จึงจำเป็นต้องพาสามเณรสังกิจจะไปด้วย เมื่ออำลาพระสารีบุตรแล้วทั้งหมดจึงออกเดินทาง

เมื่อเดินทางไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ชาวบ้านมีความเลื่อมใสศรัทธาจึงนิมนต์ให้พระสงฆ์อยู่จำพรรษา พร้อมรับปากจะพากันอุปถัมภ์บำรุงตลอดพรรษา พระสงฆ์เหล่านั้นจึงรับนิมนต์

ในวันเข้าพรรษา พระสงฆ์ได้ตั้งกติกากันไว้ว่า จะไม่อยู่รวมกลุ่มกันจะแยกกันไปปฏิบัติธรรมยกเว้นเวลาบิณฑบาต (อ่านว่า บิน-ทะ-บาด) ถ้าพระสงฆ์รูปใดเจ็บป่วยให้ตีระฆังบอกเพื่อจะได้มาช่วยเหลือกัน

พระสงฆ์ปฏิบัติธรรมในป่า

วันหนึ่ง มีชายคนหนึ่งต้องการจะเดินทางไปหาลูกสาวที่ต่างเมือง ขณะเดินผ่านมาถึงหมู่บ้านนั้นด้วยอาการอิดโรย ซึ่งเป็นเวลาที่พระสงฆ์ได้กลับมาจากบิณฑบาตเมื่อพบชายผู้นั้นจึงได้สอบถาม เมื่อทราบเรื่องแล้วเกิดความสงสารจึงแบ่งอาหารให้หลังรับประทานอาหารอิ่มแล้วชายยากไร้ก็สอบถามพระสงฆ์ว่า “มีกิจนิมนต์หรือไร พระคุณเจ้าจึงได้อาหารมากมายขนาดนี้” พระสงฆ์ตอบว่า “ไม่มีหรอกโยม เป็นเรื่องปกติของที่นี่” ชายยากไร้คิดว่า “เราทำงานแทบตายก็ไม่ได้กินอาหารดีเช่นนี้จะไปอยู่ทำไมที่อื่น ขออาศัยอยู่กับพระสงฆ์เหล่านี้ สบายดีกว่า” คิดได้ดังนั้นจึงขออาศัยอยู่และคอยอุปัฏฐาก (อ่านว่า อุ-ปัด-ถาก หมายถึง ดูแลรับใช้) พวกพระสงฆ์ก็อนุญาต

เมื่อเวลาผ่านไป ชายยากไร้คิดถึงลูกสาวจึงแอบหนีไปโดยไม่บอกกล่าว เพราะเกรงว่าพระสงฆ์จะไม่อนุญาต

ชายยากไร้เดินเข้าไปในป่าที่มีโจร ๕๐๐ คนอยู่ ในขณะนั้นโจรได้เตรียมบนบานเทวดาว่าจะถวายพลีกรรม (อ่านว่า พะ-ลี-กำ หมายถึง การบูชา พิธีบูชา) เมื่อชายยากไร้เดินมาถึง ก็ถูกโจรจับตัวไว้ เขาตกใจกลัวตายจึงได้ร้องขอชีวิตและต่อรองว่า “ควรจับพระภิกษุมาทำพลีกรรมจะดีกว่าเพราะเป็นผู้ทรงศีล เทวดาท่านจึงจะชอบ” โจรทั้งหมดเห็นด้วยจึงบอกให้ชายยากไร้นำทางไปหาพระสงฆ์ เมื่อไปถึงเขาได้ตีระฆัง พระสงฆ์จึงมารวมกันเพราะเข้าใจว่า มีพระสงฆ์อาพาธ (ป่วย) หัวหน้าโจรจึงบอกว่าจะนำตัวพระสงฆ์รูปหนึ่งไปทำพลีกรรม พระสังฆเถระจึงขอสละชีวิต พระสงฆ์ที่เหลือไม่ยอมให้พระสังฆเถระไป ต่างยอมสละชีวิตของตนเองแทน

สามเณรสังกิจจะจึงขออาสาไปเอง พระสงฆ์ต่างไม่ยอม สามเณรสังกิจจะจึงให้เหตุผลว่า ที่พระพุทธเจ้าและพระสารีบุตรให้ตนเดินทางมาด้วยนั้น เพราะรู้ว่าจะเกิดเหตุการณ์นี้ สามเณรสังกิจจะจึงเดินทางไปพร้อมกับโจร โดยมีพระสงฆ์ทั้งหมดมองตามด้วยความโศกเศร้า

สามเณรสังกิจจะถูกโจรนำตัวไป

ขณะที่หัวหน้าโจรกำลังทำพิธีอยู่นั้น สามเณรสังกิจจะได้นั่งสมาธิ แผ่เมตตาจิตไปยังหัวหน้าโจร เมื่อหัวหน้าโจรยกดาบฟันลงที่คอสามเณร ดาบได้งอพับเข้าหากัน หัวหน้าโจรจึงดัดดาบใหม่ให้ตรงแล้วฟันซ้ำ ดาบก็งอเหมือนเดิมอีก จึงเปลี่ยนดาบและทดลองอีกหลายครั้งแต่ก็ไม่สามารถทำอะไรสามเณรได้ หัวหน้าโจรสำนึกผิด จึงกลับใจและขอบวชพร้อมด้วยบริวาร สามเณรสังกิจจะได้พาโจรทั้งหมดไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าได้อุปสมบทให้ และทรงแสดงธรรมให้ฟังพระสงฆ์เหล่านั้นได้ปฏิบัติธรรมจนกระทั่งบรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด

หัวหน้าโจรประกอบพลีกรรม

สรุป คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง เป็นผู้มีความเสียสละเพื่อ ส่วนรวม ปฏิบัติเคร่งครัดในพระธรรมวินัยและมีจิตเมตตารู้จักให้อภัยผู้อื่น

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1547 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.