พุทธสาวก ชาดก และพุทธศาสนิกชนตัวอย่าง : มหาวาณิชชาดก (โลภมากจนตัวตาย)

พุทธสาวก ชาดก และพุทธศาสนิกชนตัวอย่าง ป.3
พุทธสาวก ชาดก และพุทธศาสนิกชนตัวอย่าง ป.3
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

มหาวาณิชชาดก (โลภมากจนตัวตาย)

ในอดีตมีพ่อค้ากลุ่มหนึ่งได้เดินทางไปค้าขายต่างเมือง ระหว่างที่เดินผ่านทะเลทรายอันแห้งแล้ง เสบียงอาหารและน้ำที่มีอยู่ค่อย ๆ หมดไป พวกพ่อค้ารู้สึกหมดอาลัยและคิดว่าพวกตนคงจะต้องอดน้ำและอาหารตายกลางทะเลทรายเป็นแน่

แต่เป็นโชคดีของพวกพ่อค้าเพราะกลางทะเลทรายมีต้นไม้อยู่ต้นหนึ่ง มีกิ่งก้านให้ร่มเงา พวกพ่อค้าต่างพากันอาศัยพักพิงใต้ร่มเงาต้นไม้ใหญ่นั้น มีพ่อค้าคนหนึ่งมองเห็นน้ำซึมออกมาจากกิ่งทางด้านทิศตะวันออก จึงลองตัดปลายกิ่งออก ทันใดนั้น สายน้ำเย็นสะอาดก็ไหลออกมามากมาย

พ่อค้านำสินค้าเดินทางผ่านทะเลทราย
พ่อค้านำสินค้าเดินทางผ่านทะเลทราย

พวกพ่อค้าต่างรู้สึกดีใจพากันดื่มน้ำดับกระหายจากต้นไม้วิเศษนั้นพ่อค้าอีกคนเห็นกิ่งไม้ด้านทิศใต้มีกลิ่นหอม น่ารับประทาน จึงตัดกิ่งไม้นั้นปรากฏว่ามีอาหารและผลไม้หล่นออกมามากมาย

พวกพ่อค้าต่างดีใจและเก็บผลไม้มารับประทาน ทุกคนจึงรอดตายจากความอดอยาก เมื่อตัดกิ่งทางทิศตะวันตก ปรากฏหญิงสาวออกมาฟ้อนรำขับกล่อมเมื่อตัดกิ่งทางทิศเหนือ ปรากฏว่ามีเพชรนิลจินดาหลั่งไหลออกมา

แต่มีพ่อค้าคนหนึ่งเกิดความโลภและคิดว่า “ต้นไม้วิเศษต้นนี้ขนาดเราแค่ตัดกิ่งไม้ ยังได้น้ำและอาหารถึงขนาดนี้ นี่ถ้าโค่นลงมาทั้งต้นคงได้ของดีมหัศจรรย์มากมายกว่านี้เป็นแน่” คิดได้ดังนั้นจึงบอกแก่พ่อค้าคนอื่น  ทุกคนต่างพากันเห็นด้วย ยกเว้นหัวหน้าพ่อค้าผู้มีสติปัญญาที่ห้ามปรามและขอร้องไม่ให้ทำลายต้นไม้ แต่ถึงห้ามอย่างไรก็ไม่มีใครเชื่อฟัง ต่างพากันเอาขวานมาตัดต้นไม้ใหญ่นั้นจนล้มลง

ทันทีที่ต้นไม้ใหญ่วิเศษโค่นล้มลงได้เกิดแผ่นดินไหวสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงและมีพญานาคขนาดใหญ่โผล่ขึ้นมาจากพื้นดิน ดวงตาแดงฉานดังเปลวเพลิงจ้องมองบรรดาพ่อค้าเหล่านั้นด้วยความโกรธ พร้อมทั้งกล่าวว่า  “เจ้าพ่อค้าอกตัญญูข้าให้น้ำ ให้อาหาร ให้นารี และทรัพย์สมบัติแก่พวกเจ้าแต่เจ้ากลับไม่สำนึกในบุญคุณและยังมาตัดต้นไม้อีก เราจะสังหารเจ้าทั้งหมด ยกเว้นคนที่เป็นหัวหน้า ซึ่งรู้บุญคุณคนเดียวเท่านั้น

พญานาคพ่นไฟฆ่าพ่อค้าผู้มีความโลภ

บรรดาพ่อค้าพากันตกใจจนก้าวขาไม่ออก พญานาคได้พ่นไฟฆ่าพ่อค้าเหล่านั้น จนร่างกายไหม้เกรียม ส่วนสมบัติทั้งหมดพญานาคได้มอบให้หัวหน้าพ่อค้า และได้นำทางหัวหน้าพ่อค้าไปส่งถึงเมืองพาราณสี

ชาดกเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ผู้มีความโลภมาก มักลาภหาย ชีวิตตายเพราะความโลภ เปรียบกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติต่าง ๆ มีคุณต่อเรา ถ้าเราทำลายหรือไม่รู้จักใช้ให้เหมาะสมก็จะส่งผลกระทบและเกิดความเสียหายต่อมนุษย์เราเอง

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1547 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.