พุทธสาวก ชาดก และพุทธศาสนิกชนตัวอย่าง : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พุทธสาวก ชาดก และพุทธศาสนิกชนตัวอย่าง ป.3
พุทธสาวก ชาดก และพุทธศาสนิกชนตัวอย่าง ป.3
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีพระนามเดิมว่า สิน ประสูติเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๒๗๗ เป็นบุตรของนายไหฮองกับนางนกเอี้ยง และได้อุปสมบทอยู่ในสำนักของพระอาจารย์ทองดี เพื่อศึกษาหาความรู้จนเกิดความชำนาญในด้านภาษาต่าง ๆ หลังจากลาสิกขาจึงได้เข้ารับราชการจนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองตาก

พ.ศ. ๒๓๐๘ พม่าได้ล้อมกรุงศรีอยุธยา พระยาตาก (สิน) จึงถูกเรียกตัวเข้ามาช่วยป้องกันพระนคร เมื่อเห็นว่าสถานการณ์ไม่พร้อมที่จะสู้พม่าได้ พระยาตากจึงตัดสินใจพาทหารโจมตีฝ่าทัพพม่าไปตั้งตัวที่เมืองจันทบุรี จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๓๑๐

หลังจากนั้นพระยาตากจึงได้รวบรวมกำลังคนกอบกู้เอกราชขับไล่พม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ หลังเสียกรุงไป ๗ เดือน เมื่อตรวจดูความเสียหายเห็นว่ายากที่จะบูรณะดังเดิมได้ จึงได้สถาปนากรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงเมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ และทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อพระชนมพรรษา ๓๔ พรรษา ทรงครองราชย์ได้ประมาณ ๑๕ ปี จึงสวรรคต เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ รวมพระชนมพรรษา ๔๘ พรรษา

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองเช่นเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา พระราชกรณียกิจต่อพระพุทธศาสนา มีดังนี้

๑. จัดระเบียบสังฆมณฑล ทรงโปรดฯ ให้ตรากฎหมายว่าด้วยข้อวัตรปฏิบัติในทางพระธรรมวินัยของพระสงฆ์ โดยถือเป็นต้นฉบับกฎหมายพระสงฆ์ฉบับแรกของไทย

๒. รวบรวมพระไตรปิฎก ให้ค้นคว้าต้นฉบับพระไตรปิฎกที่เหลืออยู่หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา เพื่อนำมาคัดลอกไว้สำหรับการสังคายนาพระไตรปิฎกฉบับหลวงต่อไป ซึ่งนับเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ในการสังคายนาพระไตรปิฎกในสมัยต่อมา

พระไตรปิฎก

๓. อัญเชิญพระแก้วมรกตจากเมืองเวียงจันทน์มาประดิษฐานในไทย โดยนำมาประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม ซึ่งถือเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของไทย โดยปัจจุบันได้ย้ายมาประดิษฐานไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร

๔. บูรณะวัดวาอาราม ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อบูรณะวัดวาอารามต่าง ๆ จำนวนมาก และให้ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวง เช่น วัดอรุณราชวราราม วัดอินทาราม

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นพุทธศาสนิกชนตัวอย่าง ที่ทรงปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนามาตลอด เห็นได้จากจารึกที่วัดอรุณราชวราราม ซึ่งจารึกไว้ว่า

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง เสียสละเพื่อชาติบ้านเมือง ศรัทธาเลื่อมใส ในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิธีการสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดี

การสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดีเป็นสิ่งสำคัญมากในยุคปัจจุบัน เพราะโซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว การใช้โซเชียลมีเดียอย่างมีสติและสร้างสรรค์ จะช่วยให้เราได้รับประโยชน์สูงสุดและหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบ นี่คือวิธีการสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดี: 1. กำหนดเวลา: ตั้งเวลา: กำหนดเวลาที่ชัดเจนสำหรับการใช้โซเชียลมีเดียแต่ละครั้ง เช่น 1 ชั่วโมงต่อวัน ใช้แอปพลิเคชันช่วย: มีแอปพลิเคชันมากมายที่ช่วยในการติดตามและจำกัดเวลาการใช้งานโซเชียลมีเดีย 2. สร้างกิจวัตร: หาอะไรทำ: หากิจกรรมอื่นๆ ที่สนใจทำ เช่น อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย พบปะเพื่อน เพื่อลดเวลาที่ใช้ไปกับโซเชียลมีเดีย วางแผนวัน: วางแผนกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน...

วิธีจัดการกับความรู้สึก FOMO (Fear of Missing Out) บนโซเชียลมีเดีย

ความรู้สึก FOMO หรือกลัวว่าจะพลาดอะไรดีๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวบนโซเชียลมีเดียนั้นเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่การปล่อยให้ความรู้สึกนี้ครอบงำชีวิตประจำวันมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตได้ ดังนั้น มาลองดูวิธีจัดการกับความรู้สึก FOMO กันค่ะ 1. ตระหนักถึงความเป็นจริง: ภาพที่เห็นบนโซเชียลมีเดียไม่ใช่ชีวิตจริงทั้งหมด: สิ่งที่เราเห็นบนโซเชียลมีเดียส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของคนอื่นๆ การเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นๆ บนโซเชียลมีเดียอาจทำให้เรารู้สึกด้อยค่า ทุกคนมีช่วงเวลาที่ดีและไม่ดี: ไม่มีใครมีความสุขตลอดเวลา การเห็นคนอื่นมีความสุขตลอดเวลาบนโซเชียลมีเดียอาจทำให้เรารู้สึกว่าชีวิตของตัวเองไม่ดีพอ 2. จำกัดเวลาในการใช้โซเชียลมีเดีย: กำหนดเวลา: ตั้งเวลาที่แน่นอนสำหรับการใช้โซเชียลมีเดียแต่ละครั้ง สร้างกิจวัตร: หากิจกรรมอื่นๆ ที่สนใจทำ...

ปัญหาการติดโซเชียลมีเดีย: ภัยเงียบที่คุกคามชีวิตประจำวัน

การติดโซเชียลมีเดีย กลายเป็นปัญหาที่พบเห็นได้บ่อยในยุคดิจิทัล ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้คนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพจิต สังคม และการทำงาน การใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไปอาจนำไปสู่ปัญหาต่างๆ ดังนี้ ผลกระทบต่อสุขภาพจิต ความเครียดและวิตกกังวล: การเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นบนโซเชียลมีเดียอาจนำไปสู่ความรู้สึกไม่ดีต่อตนเองและก่อให้เกิดความเครียด ภาวะซึมเศร้า: การใช้เวลากับโซเชียลมีเดียมากเกินไปอาจทำให้ขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในชีวิตจริง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า การนอนไม่หลับ: การใช้โทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตก่อนนอนซึ่งมีแสงสีฟ้าจะรบกวนการหลับพักผ่อน ความรู้สึกโดดเดี่ยว: แม้จะมีเพื่อนมากมายบนโซเชียลมีเดีย แต่การขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในชีวิตจริงอาจทำให้รู้สึกโดดเดี่ยว ผลกระทบต่อสังคม ความสัมพันธ์ส่วนตัว: การใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับโซเชียลมีเดียอาจทำให้ความสัมพันธ์กับครอบครัวและเพื่อนฝูงเสื่อมลง ผลการเรียน: นักเรียนที่ใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไปอาจมีสมาธิในการเรียนลดลงและผลการเรียนตกต่ำ ประสิทธิภาพในการทำงาน: การตรวจสอบโซเชียลมีเดียบ่อยครั้งขณะทำงานจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ผลกระทบต่อสุขภาพกาย ปัญหาสายตา: การจ้องหน้าจอมือถือเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการตาแห้ง ปวดตา และสายตาสั้น ปวดคอและไหล่:...

วิธีการใช้โซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัย

การใช้โซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว แต่ก็มีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ หากเราไม่ระมัดระวังในการใช้งาน ดังนั้น มาดูวิธีการใช้โซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัยกันค่ะ 1. ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว จำกัดผู้ที่สามารถเห็นโพสต์: เลือกให้เฉพาะเพื่อนหรือกลุ่มคนที่คุณไว้วางใจเท่านั้นที่สามารถเห็นโพสต์ของคุณได้ ปรับการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของแต่ละแอป: แต่ละแอปจะมีการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวที่แตกต่างกันไป ควรศึกษาและปรับตั้งค่าให้เหมาะสมกับความต้องการของคุณ ตรวจสอบการตั้งค่าบ่อยๆ: โซเชียลมีเดียอาจมีการปรับเปลี่ยนการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวอยู่เสมอ ควรตรวจสอบเป็นประจำ 2. สร้างรหัสผ่านที่แข็งแรง หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูลส่วนตัว: อย่าใช้วันเกิด ชื่อสัตว์เลี้ยง หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ มาเป็นรหัสผ่าน ใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกัน: สำหรับแต่ละบัญชีโซเชียลมีเดีย ควรใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกัน เปิดใช้งานการยืนยันตัวตนสองชั้น: เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเข้าสู่ระบบ 3. ระวังการคลิกลิงก์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบ...

About ครูออฟ 1606 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.