1.2.2 ระบบย่อยอาหารของคน

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ระบบย่อยอาหารของคน ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ แบ่งเป็นส่วนๆดังนี้

  • ช่องปาก มีฟันและต่อมน้ำลายเกี่ยวกับการย่อยส่วนนี้
  • หลอดอาหาร
  • กระเพาะอาหาร
  • ลำไส้เล็ก มีตับและตับอ่อนเกี่ยวข้องกับการย่อยระบบนี้
  • ลำไส้ใหญ่

1. ปาก

น้ำย่อยอาหารในปากจะมีเอนไซม์ที่ชื่อว่า ไทยาลิน (Ptyalin ) ซึ่งเป็นเอนไซม์อะไมเลส (Amylase) ชนิดหนึ่งทำหน้าที่ย่อยแป้งซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ แป้งที่ถูกย่อยแล้วจะอยู่ในรูปของเดกซ์ตริน (Dextrin) ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีโมเลกุลเล็กกว่าแป้ง แต่ยังไม่เปลี่ยนเป็นน้ำตาล แต่ถ้าถูกย่อยนานๆอาจถูกย่อยให้เป็นน้ำตาลโมเลกุลคู่ได้

2. หลอดอาหาร

การย่อยอาหารในหลอดอาหาร เป็นการย่อยเชิงกล เนื่องจากหลอดอาหารไม่สามารถสร้างน้ำย่อยแต่มีต่อมสร้างน้ำเมือกช่วยหล่อลื่นอาหารให้เคลื่อนที่ไปง่าย โดยหลอดอาหารจะบีบตัวทำให้อาหารมีขนาดเล็กลง และเคลื่อนลงสู่กระเพาะอาหาร

3. กระเพาะอาหาร

หน้าที่หลักของกระเพาะอาหาร คือ การย่อยสลายสารอาหารโมเลกุลใหญ่ให้เล็กลง โดยอาศัยการทำงานของกรดเกลือ (hydrochloric acid) เพื่อให้ง่ายต่อการดูดซึมที่ลำไส้เล็ก นอกจากนี้กระเพาะอาหารยังมีหน้าที่ผลิตเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยโปรตีน คือ เอนไซม์เพปซิน

4. ลำไส้เล็ก

ทำหน้าที่ผลิตเอนไซม์และนำเอนไซม์ที่ส่งมาจากตับอ่อนมาย่อยโปรตีนคาร์โบไฮเดรต และไขมันเมื่อสารอาหารในลำไส้เล็กถูกย่อย และดูดซึมแล้วจะเป็นกากอาหารส่งไปยังลำไส้ใหญ่

5. ลำไส้ใหญ่

ทำหน้าที่รับกากอาหารจากลำไส้เล็ก ดูดซึมน้ำและเกลือแร่ออกจากกากอาหารและลำเลียงไปยังทวารหนัก

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ไฟฟ้า

ตอนที่ 3.1 แรงในชีวิตประจำวัน 3.1.1 แรงไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้า ตอนที่ 3.2 พลังงานในชีวิตประจำวัน 3.2.1 การต่อวงจรไฟฟ้าอย่างง่าย 3.2.2 สัญลักษณ์ของส่วนประกอบต่าง ฯ ในการต่อวงจรไฟฟ้า 3.2.3 การต่อเซลล์ไฟฟ้า 3.2.4 ประโยชน์ของความรู้ของการต่อหลอดไฟฟ้าแบบอนุกรมและแบบขนาน...

3.2.3 การต่อเซลล์ไฟฟ้า

การต่อเซลล์ไฟฟ้ามี 2 รูปแบบคือ แบบอนุกรม และ แบบขนาน การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบอนุกรม การนำเอาเครื่องใช้ไฟฟ้าหลาย ๆ ตัวมาต่อเรียงกันไปเรื่อย ๆ กระแสไฟฟ้าจากการต่อวงจรแบบอนุกรมจะมีทางเดินได้ทางเดียวเท่านั้น ถ้าหากเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวใดตัวหนึ่งเกิดความเสียหาย จะทำให้วงจรทั้งหมดไม่ทำงาน การต่อเซลล์ไฟฟ้าแบบขนาน การนำเอาเครื่องใช้ไฟฟ้าหลาย ๆ ตัวมาต่อกันโดยให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลออกจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้าแยกไหลออกเป็นหลายเส้นทาง ดังนั้น หากมีเครื่องใช้ไฟฟ้าในเส้นทางใดเสียหายหรือหยุดทำงานเครื่องใช้ไฟฟ้าในเส้นทางอื่นจะยังคงสามารถทำงานต่อไปได้...

About ครูออฟ 1518 Articles
https://www.kruaof.com