เครื่องพิมพ์ (Printer)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

เครื่องพิมพ์ (Printer)

เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยนำเสนองานในรูปแบบสิ่งพิมพ์ ซึ่งเป็นรูปแบบของงานนำเสนอที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เครื่องพิมพ์ที่นิยมใช้กันทั่วไปจะต้องเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ขณะใช้งาน ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. เครื่องพิมพ์แบบตกกระทบหรือเครื่องพิมพ์แบบใช้แรงกระแทก (Impact Print) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้หลักการทำงานคล้ายกับเครื่องพิมพ์ดีด คือ ชิ้นงานอาศัยหลักการสร้างจุดด้วยหัวเข็มกระแทกผ่านผ้าหมึกไปยังชิ้นงาน ทำให้เกิดจุดเพื่อสร้างข้อมูลลงบนชิ้นงาน ความคมชัดของข้อมูลจะขึ้นอยู่กับจำนวนจุดที่กระแทกลงไป โดยจำนวนจุดยิ่งมากข้อมูลจะยิ่งมีความคมชัดมากขึ้น เครื่องพิมพ์ประเภทนี้มักมีขนาดใหญ่ เวลาใช้งานจะมีเสียงดัง เหมาะสำหรับชิ้นงานที่ต้นทุนต่ำและต้องการทำสำเนาหลาย ๆ แผ่น
  2. เครื่องพิมพ์แบบไม่ใช้การตกกระทบหรือเครื่องพิมพ์แบบไม่ใช้แรงกระแทก (Nonimpact Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่พัฒนามาจากเครื่องพิมพ์แบบตกกระทบ มีขนาดเล็ก เวลาใช้งานจะมีเสียงเบาและงานที่ได้จะมีคุณภาพดีกว่าเครื่องพิมพ์แบบตกกระทบ แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

2.1  เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ต (Inkjet) อาศัยหลักการหยดหมึกเป็นจุดเล็ก ๆ ไปที่ชิ้นงานเพื่อประกอบเป็นข้อมูล

2.2  เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser) มีหลักการทำงานด้วยการใช้เทคโนโลยีการยิงผงหมึกด้วยระบบเลเซอร์ไปสร้างข้อมูลที่ต้องการบนชิ้นงาน ผลงานที่ได้จึงมีประสิทธิภาพมากกว่าเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ต

ปัจจุบันมีเครื่องพิมพ์ให้เลือกหลากหลายชนิดแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติแตกต่างกัน ผู้ใช้งานเครื่องพิมพ์จึงควรเลือกใช้เครื่องพิมพ์โดยพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้

  • ลักษณะงาน พิจารณาว่า ข้อมูลที่ต้องการพิมพ์มีลักษณะเป็นตัวหนังสือ รูปภาพ หรือภาพกราฟิกที่มีความละเอียดสูง หากงานนั้นเป็นข้อมูลตัวหนังสือที่ไม่ต้องการความละเอียดมากนักก็ควรใช้เครื่องพิมพ์แบบตกกระทบ แต่หากงานนั้นเป็นภาพกราฟิกที่มีความละเอียดสูงก็ควรเลือกใช้เครื่องพิมพ์แบบไม่ใช้การตกกระทบ
  • ต้นทุน พิจารณาถึงราคาของเครื่องพิมพ์ ราคาน้ำหมึก ราคาวัสดุที่ใช้พิมพ์ และค่าดูแลรักษาเครื่องพิมพ์ เช่น ค่าล้างหัวเข็ม ค่าทำความสะอาดส่วนประกอบภายใน ค่าเปลี่ยนสายพาน
  • ความเร็ว พิจารณาเปรียบเทียบความเร็วในการพิมพ์งาน ซึ่งเครื่องพิมพ์ประเภทเดียวกันแต่อาจมีความเร็วในการพิมพ์งานแตกต่างกัน ทั้งนี้ต้องศึกษาความเร็วทั้งในการพิมพ์ข้อมูลตัวอักษรและความเร็วในการพิมพ์ข้อมูลภาพ
  • ความละเอียด พิจารณาถึงประสิทธิภาพของงานที่ได้จากการพิมพ์ โดยสิ่งพิมพ์ที่มีความละเอียดมากจะทำให้ข้อมูลมีความชัดมากไปด้วย

 

ที่มา : คู่มือครู แผนการสอน เทคโนโลยีสารสนเทศ ม.3 สำนักพิมพ์วัฒนาพาณิชย์

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สาระสำคัญของการเรียนรู้การออกแบบอัลกอริทึมในระดับชั้น ม.1

การเรียนรู้การออกแบบอัลกอริทึมในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถือเป็นการปูพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณและการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัลนี้ ทำไมต้องเรียนรู้การออกแบบอัลกอริทึม? พัฒนากระบวนการคิด: การออกแบบอัลกอริทึมช่วยฝึกให้เด็กคิดเป็นขั้นเป็นตอน วิเคราะห์ปัญหา และหาทางแก้ไขได้อย่างเป็นระบบ เตรียมพร้อมสำหรับอนาคต: ทักษะการออกแบบอัลกอริทึมเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรม และการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์: การออกแบบอัลกอริทึมมีหลายวิธี เด็กๆ สามารถคิดค้นวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันได้ พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกัน: การทำงานกลุ่มในการออกแบบอัลกอริทึมช่วยให้เด็กเรียนรู้การทำงานร่วมกันและการสื่อสาร อัลกอริทึมคืออะไร? อัลกอริทึมก็เหมือนกับสูตรอาหารหรือคู่มือการประกอบเฟอร์นิเจอร์ คือชุดคำสั่งที่ระบุขั้นตอนในการทำงานอย่างชัดเจน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น อัลกอริทึมในการต้มไข่ต้มก็คือ 1. นำไข่ใส่หม้อ...

สาระสำคัญของการฝึกฝนการแก้ปัญหาอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพในระดับชั้น ม.1

การฝึกฝนให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีทักษะการแก้ปัญหาอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการทำงานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำไมต้องฝึกฝนทักษะการแก้ปัญหา? พัฒนากระบวนการคิด: ช่วยให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ปัญหา แยกแยะประเด็นสำคัญ และวางแผนแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพิ่มความมั่นใจ: เมื่อนักเรียนสามารถแก้ปัญหาได้เอง จะส่งผลให้มีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น เตรียมพร้อมสำหรับอนาคต: ทักษะการแก้ปัญหาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น และการทำงานในสายอาชีพต่างๆ ส่งเสริมการเรียนรู้แบบอัตโนมัติ: การแก้ปัญหาจะทำให้นักเรียนค้นพบวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเองมากขึ้น วิธีการฝึกฝน จัดกิจกรรมที่ท้าทาย: ให้โจทย์ปัญหาที่หลากหลายและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ สอนวิธีการคิดแบบมีระบบ: แนะนำขั้นตอนการแก้ปัญหา เช่น การกำหนดปัญหา การหาข้อมูล...

สาระสำคัญของการฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีตรรกะในระดับชั้น ม.1

การฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีตรรกะในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นับเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียน ทักษะเหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนสามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อน วิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ และตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และการทำงานในอนาคต เหตุผลที่ต้องฝึกฝนทักษะเหล่านี้ในระดับชั้น ม.1 พัฒนากระบวนการคิด: ช่วยให้นักเรียนพัฒนากระบวนการคิดที่เป็นระบบ มีขั้นตอนในการแก้ปัญหา เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้: ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ดีขึ้น เข้าใจเนื้อหาได้ลึกซึ้ง เตรียมความพร้อมสำหรับการศึกษาต่อ: เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งต้องใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน พัฒนาทักษะการสื่อสาร: ช่วยให้นักเรียนสามารถสื่อสารความคิดเห็นของตนเองได้อย่างชัดเจนและมีเหตุผล เสริมสร้างความมั่นใจ: การฝึกฝนทำให้เกิดความมั่นใจในการแก้ปัญหาและตัดสินใจ วิธีการฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีตรรกะ ตั้งคำถาม: สอนให้นักเรียนตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการคิดวิเคราะห์ หาเหตุผลสนับสนุน: ฝึกให้นักเรียนหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดเห็นของตนเอง เปรียบเทียบและหาความแตกต่าง:...

สาระสำคัญของการเรียนรู้แนวคิดพื้นฐานของการคิดเชิงคำนวณ ระดับชั้น ม.1

การเรียนรู้แนวคิดพื้นฐานของการคิดเชิงคำนวณ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นับเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกวงการ สาระสำคัญที่นักเรียนจะได้เรียนรู้มีดังนี้ 1. เข้าใจกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ: การวิเคราะห์ปัญหา: เรียนรู้ที่จะแยกแยะปัญหาออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อให้เข้าใจปัญหาได้อย่างชัดเจน การออกแบบอัลกอริทึม: ฝึกคิดขั้นตอนในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ การเขียนรหัสลำลอง: ฝึกเขียนคำอธิบายขั้นตอนการแก้ปัญหาเป็นภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจ การทดสอบและปรับปรุง: เรียนรู้ที่จะตรวจสอบผลลัพธ์และแก้ไขข้อผิดพลาด 2. พัฒนาทักษะการคิดเชิงตรรกะ: การใช้เหตุผล: ฝึกใช้เหตุผลในการตัดสินใจและเลือกวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสม การเปรียบเทียบ: ฝึกเปรียบเทียบข้อมูลและหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ การสรุป: ฝึกสรุปผลจากข้อมูลที่ได้ 3. สร้างสรรค์และนวัตกรรม: การคิดนอกกรอบ: ฝึกคิดหาแนวทางแก้ปัญหาใหม่ๆ ที่แตกต่าง การสร้างสรรค์ผลงาน:...

About ครูออฟ 1553 Articles
https://www.kruaof.com