ภาษาคอมพิวเตอร์

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ภาษาคอมพิวเตอร์

ภาษาคอมพิวเตอร์หรือภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Programming Language) มีพื้นฐานมาจากการเปิดและปิดกระแสไฟฟ้า หรือระบบเลขฐานสอง คือ 0 และ 1 เรียงต่อกันเพื่อแทนความหมายต่าง ๆ ในคอมพิวเตอร์ ปัจจุบันมีผู้สร้างและพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์หลายภาษา เช่น John Kemeny และ Thomas Kurtz สร้างภาษาเบสิก (BASIC) Niklaus Wirth สร้างภาษาปาสคาล (PASCAL) และ Dennis Ritchie สร้างภาษาซี (C) ภาษาคอมพิวเตอร์แบ่งตามลักษณะของภาษาและการใช้งานได้ 4 ประเภท ดังนี้

  1. ภาษาเครื่อง (Machine Language) เป็นภาษาพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นตัวเลขในระบบเลขฐานสอง คือ 0 และ 1 ภาษาเครื่องเป็นภาษาในรูปแบบเดียวที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้ตัวแปลชุดคำสั่ง แต่มนุษย์จะเข้าใจได้เมื่อแทนด้วยรหัสแทนข้อมูล
  2. ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) จัดเป็นภาษาระดับต่ำ (Low-level Language) ที่พัฒนามาจากภาษาเครื่อง โดยภาษาแอสเซมบลีจะใช้รหัสภาษาอังกฤษแทนคำสั่งในคอมพิวเตอร์ ทำให้การเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่งในภาษาแอสเซมบลีทำได้ง่ายและสะดวกกว่าการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่งในภาษาเครื่อง แต่วิธีการเขียนคำสั่งยังมีส่วนคล้ายคลึงกับภาษาเครื่อง รหัสที่ใช้เป็นคำสั่งในภาษาแอสเซมบลี เรียกว่า รหัสนีมอนิก (Mnemonic Code) ใช้แทนเลขฐานสองที่เป็นภาษาเครื่อง
  3. ภาษาระดับสูง (High-level Language) หรือภาษาในยุคที่สาม (Third-generation Language) เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้มนุษย์สามารถเข้าใจภาษาที่ใช้ในคอมพิวเตอร์มากยิ่งขึ้น จึงมีลักษณะคล้ายคลึงกับภาษาที่มนุษย์ใช้ในปัจจุบัน การใช้งานภาษาระดับสูงจะต้องอาศัย
    ตัวแปลภาษา ได้แก่ คอมไพเลอร์และอินเทอร์พรีเตอร์
  4. ภาษาระดับสูงมากและภาษาธรรมชาติ (Natural Language) จัดเป็นภาษารุ่นที่ 4 และ 5 ของพัฒนาการภาษาคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ง่ายและตอบสนองต่อผู้ใช้งานทั่วไปมากยิ่งขึ้น คำสั่งของภาษาในระดับนี้จะไม่มีการกำหนดขั้นตอน แต่จะเป็นการบอกหรือระบุสิ่งที่ต้องการแทน นอกจากนี้ในภาษาธรรมชาติยังสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้และมีความยืดหยุ่นในการใช้คำสั่งมากยิ่งขึ้น เนื่องจากจะใช้ระบบฐานความรู้ (Knowledge Base System) ช่วยในการแปลความหมายของคำสั่งต่าง ๆ

ที่มา : คู่มือครู แผนการสอน เทคโนโลยีสารสนเทศ ม.3 สำนักพิมพ์วัฒนาพาณิชย์

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com