กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 โดยหมวด 1 ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เกี่ยวข้องกับนักเรียนมากที่สุด ซึ่งสรุปได้ดังนี้

มาตรา 5 ห้ามเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต

มาตรา 6 ห้ามเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นแล้วนำไปเผยแพร่ จนทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น

มาตรา 7 ห้ามเข้าไปใช้ข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต

มาตรา 8 ห้ามดักรับข้อมูลของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์

มาตรา 9 ห้ามทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นเสียหาย ด้วยการทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

มาตรา 10 ห้ามทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานได้

มาตรา 11 ห้ามส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปรบกวนผู้อื่น

มาตรา 12 เมื่อมีการกระทำผิดมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ให้พิจารณาดังนี้

1) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าทันทีหรือภายหลัง

2) เกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ และมีผลให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

มาตรา 13 ห้ามเผยแพร่ชุดคำสั่งที่นำไปใช้กระทำความผิดในมาตรา 5–11

มาตรา 14 ห้ามกระทำผิดตามที่ระบุไว้ดังนี้

1) นำเข้าสู่ระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม ที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น

2) นำเข้าสู่ระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม ที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ความมั่นคงของประเทศหรือทำให้ผู้อื่นตื่นตระหนก

3) นำเข้าสู่ระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย

4)   นำเข้าสู่ระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะลามก

5)   เผยแพร่ระบบหรือข้อมูลที่รู้อยู่แล้วว่ามีความผิดในข้อ 1–4

มาตรา 15 ห้ามผู้ให้บริหารสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำผิดในมาตรา 14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ถ้ากระทำผิดจะต้องรับโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดในมาตรา 14

มาตรา 16 ห้ามเข้าสู่ระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลง ซึ่งจะทำให้ผู้นั้นเกิดความเสียหาย

 

ที่มา : คู่มือครู แผนการสอน เทคโนโลยีสารสนเทศ ม.1 สำนักพิมพ์วัฒนาพาณิชย์

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com