ความหมายและประวัติของอินเตอร์เน็ต (INTERNET)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ความหมายและประวัติของอินเตอร์เน็ต 

ความหมายของอินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ นับว่าเป็นเครือข่ายที่กว้างขวางที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้นิยมใช้ โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกมากที่สุด
อินเทอร์เน็ตจึงมีรูปแบบคล้ายกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบ WAN แต่มีโครงสร้างการทำงานที่แตกต่างกันมากพอสมควร เนื่องจากระบบ WAN เป็นเครือข่ายที่ถูกสร้างโดยองค์กรๆ เดียวหรือกลุ่มองค์กร เพื่อวัตถุประสงค์ด้านใดด้านหนึ่ง และมีผู้ดูแลระบบที่รับผิดชอบแน่นอน แต่อินเทอร์เน็ตจะเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่างคอมพิวเตอร์นับล้านๆ เครื่องแบบไม่ถาวรขึ้นอยู่กับเวลานั้นๆ ว่าใครต้องการเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตบ้าง ใครจะติดต่อสื่อสารกับใครก็ได้ จึงทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดรับผิดชอบหรือดูแลทั้งระบบ

ประวัติของอินเตอร์เน็ต คือช่วงต้นปีคริสต์ศตวรรษ 1960 (ประมาณปี 2503) ซึ่ง เป็นยุคสงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกากับโซเวียต มีความเสี่ยงทางการทหารและความเป็นไปได้ที่จะถูกโจมตีด้วยอาวุธปรมาณูหรือ นิวเคลียร์ การทำลายล้างศูนย์คอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารจ้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบและในช่วงนี้ระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสาร ข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ จึงมีแนวคิดในการวิจัยระบบที่สามารถเชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์และแลก เปลี่ยนข้อมูลระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้

อินเทอร์เน็ตจึงถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2512 โดยองค์กรทางทหารของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า U.S. Defense Department คิดขึ้นเพื่อให้มีระบบเครือข่ายสื่อสารที่ไม่มีวันตาย แม้จะถูกโจมตีจากสงคราม เรียกเครือข่ายนี้ว่า ARPAnet (Advances Research Project Agency Network) จุดเริ่มของ ARPAnet ได้ทำการทดลองเชื่อมคอมพิวเตอร์จาก 4 แห่ง โดยเริ่มจากมหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย (UCLA) กับสถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด (SRI) ทั้งสองแห่งอยู่ในรัฐแคลิฟอร์เนีย และเพิ่มอีก 2 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยซานตาบาร์บารา (UCSB) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย มหาวิทยาลัยแห่งรัฐยูทาห์ (UTAH) ความสำเร็จของเครือข่ายทำให้มหาวิทยาลัยหลายแห่งในสหรัฐอเมริกา นำมาพัฒนาใช้ประโยชน์ในการสื่อสารรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-Mail)รับส่งข่าวสาร แฟ้มเอกสารต่าง ๆ ในงานวิจัยทางวิชาการ ปี พ.ศ.2523 คนทั่วไปเริ่มสนใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในเชิงพาณิชย์ บริษัท ห้างร้าน องค์กรเอกชนต่าง ๆ เริ่มใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อประชาสัมพันธ์ธุรกิจ มีการซื้อขายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (E-Commerce) จนเกิดกระแสนความนิยมในธุรกิจดอทคอมมากขึ้น

จนกระทั่งปี พ.ศ.2528 (ค.ศ.1985) ระบบอินเทอร์เน็ตถือเป็นเทคโนโลยีที่สมบูรณ์พร้อมรองรับการใช้งานด้านการสื่อสารแพร่ขยายในวงกว้าง โดยเฉพาะการใช้งาน E-Mail, Chat, Telnet, FTP, Gopher, Finger ฯลฯ

ในประเทศไทยเริ่มใช้งานครั้งแรกใน ปี พ.ศ.2532 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้เชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ผ่านระบบโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศ) กับมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียเพื่อการรับส่งอีเมล และปี พ.ศ.2535 ได้มีการเชื่อมโยงกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างถาวร โดยมีจุดเชื่อมต่อ Gateway 2 แห่ง คือ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อินเทอร์เน็ต เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในระดับมหาวิทยาลัย (Campus Network) แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์ เมื่อเดือนสิงหาคม 2535 และในปี 2538 การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) ร่วมมือกับเอกชนรายแรกโดยใช้ชื่อว่า อินเทอร์เน็ตเคเอสซี (KSC) ในการให้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ เรียกโดยย่อว่า ISP (Internet Service Provider)
ที่มา : http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=numpuang&date=03-04-2009&group=11&gblog=8

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิธีการสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดี

การสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดีเป็นสิ่งสำคัญมากในยุคปัจจุบัน เพราะโซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว การใช้โซเชียลมีเดียอย่างมีสติและสร้างสรรค์ จะช่วยให้เราได้รับประโยชน์สูงสุดและหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบ นี่คือวิธีการสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดี: 1. กำหนดเวลา: ตั้งเวลา: กำหนดเวลาที่ชัดเจนสำหรับการใช้โซเชียลมีเดียแต่ละครั้ง เช่น 1 ชั่วโมงต่อวัน ใช้แอปพลิเคชันช่วย: มีแอปพลิเคชันมากมายที่ช่วยในการติดตามและจำกัดเวลาการใช้งานโซเชียลมีเดีย 2. สร้างกิจวัตร: หาอะไรทำ: หากิจกรรมอื่นๆ ที่สนใจทำ เช่น อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย พบปะเพื่อน เพื่อลดเวลาที่ใช้ไปกับโซเชียลมีเดีย วางแผนวัน: วางแผนกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน...

วิธีจัดการกับความรู้สึก FOMO (Fear of Missing Out) บนโซเชียลมีเดีย

ความรู้สึก FOMO หรือกลัวว่าจะพลาดอะไรดีๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวบนโซเชียลมีเดียนั้นเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่การปล่อยให้ความรู้สึกนี้ครอบงำชีวิตประจำวันมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตได้ ดังนั้น มาลองดูวิธีจัดการกับความรู้สึก FOMO กันค่ะ 1. ตระหนักถึงความเป็นจริง: ภาพที่เห็นบนโซเชียลมีเดียไม่ใช่ชีวิตจริงทั้งหมด: สิ่งที่เราเห็นบนโซเชียลมีเดียส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของคนอื่นๆ การเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นๆ บนโซเชียลมีเดียอาจทำให้เรารู้สึกด้อยค่า ทุกคนมีช่วงเวลาที่ดีและไม่ดี: ไม่มีใครมีความสุขตลอดเวลา การเห็นคนอื่นมีความสุขตลอดเวลาบนโซเชียลมีเดียอาจทำให้เรารู้สึกว่าชีวิตของตัวเองไม่ดีพอ 2. จำกัดเวลาในการใช้โซเชียลมีเดีย: กำหนดเวลา: ตั้งเวลาที่แน่นอนสำหรับการใช้โซเชียลมีเดียแต่ละครั้ง สร้างกิจวัตร: หากิจกรรมอื่นๆ ที่สนใจทำ...

ปัญหาการติดโซเชียลมีเดีย: ภัยเงียบที่คุกคามชีวิตประจำวัน

การติดโซเชียลมีเดีย กลายเป็นปัญหาที่พบเห็นได้บ่อยในยุคดิจิทัล ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้คนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพจิต สังคม และการทำงาน การใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไปอาจนำไปสู่ปัญหาต่างๆ ดังนี้ ผลกระทบต่อสุขภาพจิต ความเครียดและวิตกกังวล: การเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นบนโซเชียลมีเดียอาจนำไปสู่ความรู้สึกไม่ดีต่อตนเองและก่อให้เกิดความเครียด ภาวะซึมเศร้า: การใช้เวลากับโซเชียลมีเดียมากเกินไปอาจทำให้ขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในชีวิตจริง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า การนอนไม่หลับ: การใช้โทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตก่อนนอนซึ่งมีแสงสีฟ้าจะรบกวนการหลับพักผ่อน ความรู้สึกโดดเดี่ยว: แม้จะมีเพื่อนมากมายบนโซเชียลมีเดีย แต่การขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในชีวิตจริงอาจทำให้รู้สึกโดดเดี่ยว ผลกระทบต่อสังคม ความสัมพันธ์ส่วนตัว: การใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับโซเชียลมีเดียอาจทำให้ความสัมพันธ์กับครอบครัวและเพื่อนฝูงเสื่อมลง ผลการเรียน: นักเรียนที่ใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไปอาจมีสมาธิในการเรียนลดลงและผลการเรียนตกต่ำ ประสิทธิภาพในการทำงาน: การตรวจสอบโซเชียลมีเดียบ่อยครั้งขณะทำงานจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ผลกระทบต่อสุขภาพกาย ปัญหาสายตา: การจ้องหน้าจอมือถือเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการตาแห้ง ปวดตา และสายตาสั้น ปวดคอและไหล่:...

วิธีการใช้โซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัย

การใช้โซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว แต่ก็มีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ หากเราไม่ระมัดระวังในการใช้งาน ดังนั้น มาดูวิธีการใช้โซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัยกันค่ะ 1. ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว จำกัดผู้ที่สามารถเห็นโพสต์: เลือกให้เฉพาะเพื่อนหรือกลุ่มคนที่คุณไว้วางใจเท่านั้นที่สามารถเห็นโพสต์ของคุณได้ ปรับการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของแต่ละแอป: แต่ละแอปจะมีการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวที่แตกต่างกันไป ควรศึกษาและปรับตั้งค่าให้เหมาะสมกับความต้องการของคุณ ตรวจสอบการตั้งค่าบ่อยๆ: โซเชียลมีเดียอาจมีการปรับเปลี่ยนการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวอยู่เสมอ ควรตรวจสอบเป็นประจำ 2. สร้างรหัสผ่านที่แข็งแรง หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูลส่วนตัว: อย่าใช้วันเกิด ชื่อสัตว์เลี้ยง หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ มาเป็นรหัสผ่าน ใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกัน: สำหรับแต่ละบัญชีโซเชียลมีเดีย ควรใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกัน เปิดใช้งานการยืนยันตัวตนสองชั้น: เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเข้าสู่ระบบ 3. ระวังการคลิกลิงก์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบ...

About ครูออฟ 1606 Articles
https://www.kruaof.com