ตรรกศาสตร์กับคอมพิวเตอร์ (Computer and Logical)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ตรรกศาสตร์ (Logic) ตรรกศาสตร์ (Logic) เป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญมากในหลักการที่ว่าด้วย การหาเหตุและผล ซึ่งจะมีค่าความจริงที่เป็นจริง (Truth) หรือ ค่าความจริงที่เป็นเท็จ (False) อย่างใดอย่างหนึ่ง และตรรกศาสตร์ยังมีบทบาทมากในการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์เราเป็นอย่างมาก ทั้งทางด้านการการศึกษาในเรื่องของคอมพิวเตอร์ ซึ่งตรรกศาสตร์เป็นส่วนสำคัญในการสร้างคอมพิวเตอร์และส่วนสำคัญของชีวิตคนจริงๆ แล้วในการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ สร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ใดๆ มีการใช้ตรรกศาสตร์เข้าด้วย

ตรรกศาสตร์กับคอมพิวเตอร์ (Computer and Logical) ตรรกศาสตร์ ถือ เป็นหลักการคิดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นเหตุเป็นผลของมนุษย์ ในการนำหลักการคิดนี้มาใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ รวมถึงการแก้ปัญหา และการปฏิบัติงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ เนื่องจากทั้งระบบซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์จะทำงานสัมพันธ์กับความรู้ทางด้านตรรกศาสตร์ ดังนั้น ผู้ที่จะทำการเขียนโปรแกรมหรือทำงานร่วมกับระบบคอมพิวเตอร์จึงต้องทำความเข้าใจกับความรู้ทางด้านตรรกศาสตร์ดังนี้

1. ตรรกศาสตร์เบื้องต้นกับระบบคอมพิวเตอร์ ตัวดำเนินการ (Operator) ตัวดำเนินการ (Operator) คือ เครื่องหมายการกระทำที่ใช้สำหรับบอกการกระทำระหว่างตัวถูกดำเนินการ ตัวดำเนินการ Operator อาจเป็นการกระทำระหว่างตัวถูกดำเนินการ 2 ตัว หรือ 1 ตัว ขึ้นอยู่กับตัวดำเนินการ ตัวดำเนินการในระบบคอมพิวเตอร์คือ ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ ตัวดำเนินการหรือเครื่องหมายการกระทำทางคณิตศาสตร์ในระบบคอมพิวเตอร์ มีตัวดำเนินการหรือเครื่องหมายการกระทำดังต่อไปนี้

+ การบวก
– การลบ
* การคูณ
/ การหาร
DIV การหารโดยคิดเฉพาะจำนวนเต็มที่ได้จากการหาร
MOD การหารโดยคิดเฉพาะเศษที่ได้จากการหาร

2. พื้นฐานตรรกศาสตร์กับคอมพิวเตอร์ ตรรกศาสตร์ ถือว่าเป็นวิชาพื้นฐานสำหรับการเรียนวิชาที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์ และการเขียนโปรแกรม วิชานี้เป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์และเหตุผล การได้มาของผลลัพธ์ภายใต้กฎเกณฑ์ที่กำหนด ข้อความหรือการใช้เหตุผลในชีวิตประจำวันสามารถสร้างเป็นรูปแบบและกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนได้ ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถใช้กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เขียนขึ้นมาพัฒนาเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้

2.1 ประพจน์ (Statement) ประพจน์ คือ ประโยคบอกเล่าหรือประโยคปฏิเสธที่เป็นจริงหรือเท็จเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งประโยคที่เป็นประพจน์ เช่น

1. 5 + 6 = 11
2. 3 < – 6
3. 10 เป็นคำตอบของสมการ x – 1 = 9
4. พ.ศ. 2550 เกิดน้ำท่วมโลก
5. มีจำนวนจริงบางจำนวน x – 5 = 8
6. 0 ไม่เป็นจำนวนคู่

ประโยคที่ไม่เป็นประพจน์ ได้แก่ ประโยคคำถาม ประโยคคำสั่ง ห้าม ขอร้อง อ้อนวอน ประโยคอุทาน ประโยคแสดงความรารถนา และสุภาษิต คำพังเพย เช่น

1. ขอให้โชคดี
2. กรุณาอย่าส่งเสียงดัง
3. 5 + 6 มีค่าเท่าใด
4. น้ำขึ้นให้รีบตัก
5. X < 5
6. ทรงพระเจริญ
7. เขาเป็นนักฟุตบอลทีมชาติไทย
8. อย่าเดินลัดสนาม
9. คุณพระช่วย

2.2 การเชื่อมประพจน์ ตัวเชื่อมในทางตรรกศาสตร์สามารถนำมาใช้เชื่อมประพจน์ได้ ข้อความที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จะมีประโยคบางประโยคซึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเมื่อประโยคนั้น ๆ ถูกเชื่อมด้วยตัวเชื่อม การใช้ตัวเชื่อมนี้จะช่วยในการสร้างประโยคใหม่ ๆ ให้มีความหมายกว้างขวางขึ้นกว่าเดิมได้ เช่น

ถ้าเรามีประโยค 2 ประโยคคือ

P แทน วันนี้อากาศร้อน

Q แทน วันนี้ฝนตก

การเชื่อมประพจน์ด้วยตัวเชื่อม “และ”

ดาวน์โหลด

การเชื่อมประพจน์ด้วยตัวเชื่อม หรือ” 

ดาวน์โหลด (1)

การเชื่อมประพจน์ด้วยตัวเชื่อม ถ้า…แล้ว”  

ดาวน์โหลด (2)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1547 Articles
https://www.kruaof.com