e-portfolio คืออะไร ?
ระบบที่ช่วยในการสร้างและเผยแพร่แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) ในระบบ Online ผ่านทาง Internet สำหรับบุคคลและองค์กรต่างๆที่ต้องการสะสมผลงานเป็นการนำเสนอเอกลักษณ์ ปรัชญา เป้าหมาย ทักษะ ความสามารถ ผลงานของเจ้าของผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลและเนื้อหาสาระมาจากแฟ้มผลงาน (hard copy portfolio) เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลสำหรับการนำเสนอตรวจสอบการเรียนรู้หรือการทำงานว่าประสบความสำเร็จในระดับใด โดยใช้เทคนิคการนำเสนอแบบ web
ลักษณะแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)
แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) สามารถแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. เครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ โดยใช้บันทึกสิ่งที่เรียนรู้ การแสดงความคิดเห็นที่เกิดจากการทางาน การค้นคว้าข้อมูล
2. เครื่องมือที่สำหรับแสดงสมรรถนะ แสดงความเชี่ยวชาญ ความรู้ ทัศนะและทัศนคติของเจ้าของแฟ้มในงานของตน
3. เครื่องมือสำหรับการประเมินทั้งการประเมินความก้าวหน้า (formative evaluation) ประเมินกระบวนการทางานและการประเมินผลลัพธ์ (summative evaluation) ประเมินผลงานที่เป็นผลจากการดำเนินงาน การประเมินจะต้องแสดงให้เห็นทั้งจุดอ่อนและจุดแข็ง สาหรับวางแผนการพัฒนาสมรรถนะในอนาคต
ประเภทของ e-Portfolio
1. แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้ (Learning portfolios) เป็นการเก็บผลงานหรือชิ้นงานที่เกิดจากกิจกรรมการเรียนการสอน อาจจะใช้เป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินผลการเรียน
2. แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ประกอบการสมัครงานหรือประกอบอาชีพ (Employment/Career/Professional portfolio)
3. แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้คำปรึกษาทางวิชาการ (Academic Advising) โดยแฟ้มประเภทนี้จะเปิดโอกาสให้มีการตอบโต้ระหว่างเจ้าของแฟ้ม และผู้ขอรับคำปรึกษา
4. แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความเป็นตัวตน (Self-awareness) อธิบายการรับรู้และรู้จักความสามารถของตัวเราเอง จะต้องรู้ว่าเราเป็นคนอย่างไร ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร เก่งอะไร
5. แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์สำหรับให้คำแนะนำในการศึกษาต่อ (Study Guidance)
6. แฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ความช่วยเหลือนักเรียนที่มีความเสียง (Students at-Risk) Assistance) สำหรับกิจกรรมช่วยเหลือผู้เรียนหรือแนะแนวทั้งในและนอกสถานศึกษา
องค์ประกอบของแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์
1. หน้าปก ควรออกแบบให้สะดุดุตา แบบเห็นปุ๊บแล้วคนหยิบขึ้นมาอ่านปั๊บเลย ถ้าหน้าตาดีก็ใส่รูปตัวเองลงไป present ตัวเองเต็มที่ เข้าใจง่าย สรุปเนื้อหาและมีรายละเอียดครบถ้วน คือ แฟ้มเป็นของใคร เรียนที่ไหน ผลงานที่เคยทำ รางวัลที่เคยได้รับ ฯลฯ (แต่ต้องเน้นส่วนที่เป็นตัวของเราให้ได้มากที่สุด ทำออกมาให้เป็นตัวของตัวเอง)
2. ประวัติส่วนตัว นำเสนอข้อมูลตัวเองเต็มที่เลย รวมถึงประวัติทางด้านสถานศึกษาด้วย ถ้าจะให้ดีขอแนะนำว่าให้ทำเป็น 2 ชุด คือ ส่วนที่เป็นภาษาไทยและส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อเป็นการแสดงถึงความสามารถของเราและความเป็นสากล เพราะบางทีคนที่อ่านแฟ้มของเราอาจจะเป็นชาวต่างชาติก็ได้นะ แล้วยังช่วยทำให้ดูน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
3. ประวัติทางด้านการศึกษา ให้เรียงลำดับจากการศึกษาระดับต่ำสุดจนกระทั่งปัจจุบัน และต้องสรุปผลการเรียนที่ได้มาครั้งล่าสุดด้วย ควรเน้นเป็นส่วนท้ายให้เห็นเด่นชัดที่สุด (อาจมีเอกสารรับรองผลการเรียนแนบมาด้วยก็ได้ จะดีมาก)
4. รางวัลและผลงานที่ได้รับ เขียนในลักษณะเรียงลำดับการได้รับจากปี พ.ศ. (ในส่วนนี้ไม่แนะนำว่าต้องใส่เกียรติบัตรลงไป เพราะอาจทำให้แฟ้มดูไม่มีจุดเด่นเพราะมันแย่งกันเด่นหมด ซึ่งจะทำให้คนอ่านไม่รู้ว่าควรต้องอ่านตรงไหนดีก่อน)
5. รางวัลและผลงานที่ประทับใจ เป็นผลงานหรือรางวัลที่ได้รับและเกิดความภาคภูมิแบบสุดๆ รางวัลแบบนี้แหละที่เป็นรางวัลแห่งชีวิตที่เราภูมิใจสุดๆ (ควรใส่หลักฐานลงไปประกอบด้วยเพื่อความน่าเชื่อถือ อาจมีรูปถ่ายประกอบมาด้วยจะดีมาก)
6. กิจกรรมที่ทำในโรงเรียน อาทิเช่น เป็นประธานนักเรียน กิจกรรมในชมรมหรืออย่างอื่น ใส่เพื่อให้รู้ว่าเรามีประสบการณ์การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ รู้จักการทำงานเป็นทีม หรือตรงส่วนนี้จะใช้เป็นงานพิเศษที่กำลังทำก็ได้ หากเรียนไปด้วยทำงานไปด้วยจะทำให้ผลงานมีคุณค่ามากขึ้น คนหยิบขึ้นมาอ่านจะเห็นคุณค่าของเราตรงนี้
7. ผลงานตัวอย่าง คืองานหรือรายงานที่คิดว่าภาคภูมิใจมากที่สุดจากการเรียนที่ผ่านมา เช่น โครงงานวิทยาศาสตร์ รายงานการวิจัยต่างๆ อาจจะนำเสนอ 5 รายวิชาหลักที่เราเคยทำก็ได้ เป็นต้น
8. ความสามารถพิเศษต่างๆ ควรโชว์ความสามารถพิเศษที่คนทั่วไปไม่มีหรือมีคนทำน้อย และต้องเป็นความสามารถพิเศษที่สอดคล้องกับคณะ ที่เราต้องการศึกษาต่อหรือถ้าไม่มีก็เป็นความสามารถพิเศษทั่วๆ ไป เช่น ร้องเพลง เล่นดนตรี กีฬา ฯลฯ
ปล. ในแต่ละหัวข้อถ้าหากมีการแสดงรูปถ่ายที่เกี่ยวข้องด้วยจะดีมากๆ ค่ะ ขอให้แฟ้มสะสมผลงานของเพื่อนๆ ออกมาน่ารักกันทุกคนนะคะ
ที่มา : www.slideshare.net , learningkeeper.comhttps://lifestyle.campus-star.com/knowledge/36029.htmlภาพจาก : https://www.pinterest.com/
การประยุกต์ใช้กับการศึกษา
นักเรียน
* ตู้โชว์ความสำเร็จบนหน้าเว็บ
* รวบรวมและสะท้อนให้เห็นถึงการทำงานของนักเรียน
* แลกเปลี่ยนประสบการณ์การศึกษาและการทำงานของนักเรียน
* สร้างงานแบบไดนามิก
* สร้างแผนของการศึกษาออนไลน์และการทำงานกับที่ปรึกษาของนักเรียน
ข้อดีของ e-Portfolio
1. ลดการใช้ทรัพยากรสานักงาน เช่น กระดาษ หมึกพิมพ์ เป็นต้น
2. สะดวกต่อการบริหารจัดการ สามารถส่งข้อมูลที่เป็นทั้ง ภาพ เสียงและภาพเคลื่อนไหว ได้ทุกที่ ทุกเวลา
3. สะดวกสาหรับผู้บริหารในการพิจารณาผลการประเมินสมรรถนะของบุคลากรในสายบังคับบัญชา
4. นำเสนอผลงานซึงสามารถจัดแสดงผลงานได้อย่างตรงจุดในสิ่งต้องการ นำเสนอ
5. เข้าถึงผลงานได้โดยสะดวกและการจัดระบบผลงานทำให้ประหยัดเนื้อที่ที่เก็บผลงาน
6. เก็บสะสมผลงานได้หลายรูปแบบ ทั้งรูปภาพ เสียง วิดีโอ ข้อความ สื่อ มัลติมีเดียต่างๆ
7. แก้ไขและปรับปรุงแฟ้มสะสมผลงานได้อย่างสะดวก
8. เชื่อมโยงข้อมูลผลงานโดยสามารถอ้างอิงผลงานร่วมกันได้
ข้อจำกัดของ e-Portfolio
1. การแก้ไข e-Portfolio ในทุกครั้งต้องทำการแก้ไขบนเว็บไซต์ที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
2. ผู้ชมที่ไม่มีความรู้เรื่องอินเตอร์เน็ตและคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถเข้าชม e-Portfolio ได้
3. ผู้เรียนและผู้สอน มีความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
4. ผู้เรียนบางคน ไม่สามารถทำ e-Portfolio ด้วยตนเองได้
ขอบคุณ ที่มา ; http://benicenat55.blogspot.com/2013/08/e-portfolio.html