แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เครื่องคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง
ในอดีตเครื่องคอมพิวเตอร์มีราคาแพง ขนาดใหญ่ และทำงานได้อย่างจำกัด ได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง
ทำให้ในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์มีราคาถูก มีขนาดเล็กลง มีรูปทรงที่ทันสมัย สวยงาม และสามารถทำงาน
ได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ชิปที่อยู่ในหน่วยประมวลผลหรือซีพียู ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพ
สูง จะมีขนาดเล็กลงและมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น และยังการพัฒนาระบบการทำงานหรือการประมวลผลให้เป็นระบบ
การทำงานแบบขนาน คือสามารถอ่านคำสั่งหลาย ๆ คำสั่ง เพื่อตอบสนองการทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน
เรียกว่า เครื่องคอมพิวเตอร์แบบมัลติโพรเซสเซอร์ ซึ่งเหมาะกับงานคำนวณที่ซับซ้อนและมีข้อมูลจำนวนมาก
เทคโนโลยีสื่อประสม
เป็นการนำเสนอข้อมูลหรือสื่อในหลายรูปแบบพร้อม ๆ กัน ได้แก่ การนำเสนอข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลเสียง
และข้อมูลภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถแสดงข้อมูลในหลายรูปแบบพร้อม ๆ กันได้อย่าง
สวยงามและสมจริง นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีสื่อประสมให้สามารถส่งผ่านทางระบบเครือข่าย ได้รวดเร็วและสะดวกมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการทำงานและการเรียนรู้
สาระน่ารู้
การนำเทคโนโลยีสื่อประสมมาใช้ในคอมพิวเตอร์เริ่มต้นในปี พ.ศ.2534จากการพัฒนาระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 3.0 เพื่อให้สามารถใช้งานข้อความและภาพนิ่งในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
อุปกรณ์พกพาและไร้สาย
อุปกรณ์ต่าง ๆ มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และทนทานมาก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาให้สามารถเชื่อมต่อ ข้อมูลกับระบบเครือข่ายได้โดยไม่ต้องอาศัยสายส่งสัญญาน อุปกรณ์พกพาและไร้สายที่ใช้งานแพร่หลาย ในปัจจุบันมีการทำงานด้วยสัญญานวิทยุ นิยมใช้ในการเชื่อมต่อสัญญานกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มีการใช้งาน ระบบบลูทูท สำหรับส่งข้อมูลในระยะใกล้ ๆ ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้ร่วมกับโทรศัพท์เคลื่อนที่
ปัญญาประดิษฐ์
ปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถและพฤติกรรมเลียนแบบมนุษย์ รู้จักการใช้เหตุผล และมีการเรียนรู้ ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้มากยิ่งขึ้น ปัญญาประดิษฐ์ประกอบด้วยสาขาวิชาต่าง ๆ ดังนี้
1. ภาษาธรรมชาติ คือ ภาษาธรรมดาที่มนุษย์ใช้งานในชีวิตประจำวัน เมื่อเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้นจึงมีผู้คิดค้นที่จะนำภาษาธรรมชาติมาใช้สั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ที่เป็นเทคโนโลยีอื่น ๆ เรียกว่ากระบวนการภาษาธรรมชาติ โดยมีหลักการทำงานแบบง่าย ๆ คือ แยกภาษาของมนุษย์ออกเป็นคำ ๆ จากนั้นแปลเป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ แล้วจึงโต้ตอบกลับมายังมนุษย์อีกครั้งด้วยภาษาของมนุษย์เอง
เช่น การสั่งงานโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยเสียง
2. โครงข่ายประสาทเทียม คือการสร้างคอมพิวเตอร์โดยจำลองวิธีการทำงานเหมือนสมองของมนุษย์
ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักคิดและจดจำข้อมูล ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถฟัง อ่าน และจำภาษามนุษย์ได้
เช่น การวิเคราะห์และสร้างภาพเหมือนตามรูปพรรณคนร้าย
3. ระบบผู้เชี่ยวชาญ คือ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่าง ๆ ให้เป็นระบบ สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหา โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ค้นหาคำตอบและแก้ปัญหาในสาขาวิชานั้น ๆ ซึ่งจัดเก็บไว้ในรูปแบบของฐานความรู้
4. ศาสตร์ด้านหุ่นยนต์ คือ การนำเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์มาประยุกต์ร่วมกับเครื่องจักร เพื่อใช้ทำงาน
ต่าง ๆ แทนมนุษย์ที่ต้องเสี่ยงภัยและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ทางด่วนข้อมูลสารสนเทศ
เทคโนโลยีทำให้มนุษย์สามารถสื่อสารและรับข้อมูลสารสนเทศจากทุกสถานที่ได้สะดวกรวดเร็ว และทันเวลา ทำให้เกิดบิควิตัสเทคโนโลยี สังคมยูบิคตัส หรือยูบิคอมป์ คือ การจัดสภาพแวดล้อมของ การสื่อสารใหม่ และเป็นแนวโน้มของสังคมแห่งข้อมูลสารสนเทศ โดยการนำคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่อง และระบบเครือข่ายมาใช้ร่วมกัน ทำให้เกิดจุดเด่นในการเชื่อมโยงผู้ใช้งานกับเครือข่ายในทุกสถานที่ นอกจากนี้ยังสร้างภาพการใช้งานที่ไม่จำกัดเพียงเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ตู้เย็นอินเตอร์เน็ต โทรทัศน์ดิจิทัล
สาระน่ารู้
- ยูบิควิตัส เป็นภาษาละติน หมายถึง อยู่ในทุกแห่งหรือมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง
- ปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีของภาษาธรรมชาติให้ใช้กับภาษาไทยแต่ยังไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก
เนื่องจากภาษาไทยมีลักษณะการเขียนที่เป็นรูปประโยคซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ยังไม่สามารถแยกแยะเป็นคำ ๆ แล้วแปลความหมายได้