ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ผลกระทบจากเทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศจะส่งผลทั้งในด้านบวกและด้านลบต่อผู้ใช้งานโดยตรงและบุคคลรอบข้าง  ดังนี้

ผลกระทบด้านคุณภาพชีวิต
1. ส่งเสริมการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น  สามารถเลือกศึกษาเรื่องใด  สถานที่ใด  หรือเวลาใดก็ได้เกิดการเรียนการสอนทางไกล  การเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์  หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ
2. สร้างความเสมอภาคในสังคม  เผยแพร่ข่าวสารไปในทุกแห่งแม้ในถิ่นทุรกันดารต่าง ๆ
3. ช่วยรักษาสภาพแวดล้อม  สามารถตรวจสอบและวางแผนรักษาสภาพแวดล้อมได้อย่าง ครอบคลุมและทั่วถึง  เพื่อหาทางป้องกันและแก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
4. เพิ่มระบบป้องกันประเทศ  โดยมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับความมั่นคงของประเทศชาติ  ทำให้เกิดระบบป้องกันภัยและระบบเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
และยังมีระบบการใช้คอมพิวเตอร์ในอาวุทยุทโธปกรณ์อีกด้วย
5. เพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตทางการค้า  จากการผลิตในระบบอุตสาหกรรมที่นำ เครื่องคอมพิวเตอร์มาควบคุม  ทำให้เกิดผลผลิตหรือสินค้าที่มีคุณภาพโดยใช้เวลาการผลิตที่สั้นลง
6. ส่งเสริมให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  เกิดการสร้างภาพยนตร์แอนนิเมชัน  มัลติมีเดีย
และสิ่งประดิษฐ์ในรูปแบบต่าง ๆ  มากมาย
7. ช่วยให้สุขภาพและความเป็นอยู่ดีขึ้น  ด้วยเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัย  ส่งผลให้การรักษา มีประสิทธิภาพ  และลดปัญหาความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น

ผลกระทบด้านสังคม

                1. การละเมิดลิขสิทธิ์  ทั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์  และการละเมิดลิขสิทธิ์ส่วนบุคคลโดยการนำข้อมูลของผู้อื่นไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต
2. การเข้าถึงและการใช้ข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต  โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อระบบเครือข่าย  ซึ่งผู้ไม่หวังดีอาจปล่อยไวรัสคอมพิวเตอร์เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ข้อมูลและเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นได้
3. การหลอกลวงผู้ใช้คอมพิวเตอร์  เนื่องจากใครก็สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไหนและเมื่อไหร่ก็ได้  ดังนั้นข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่น่าเชื่อถือเท่ากับแหล่งการเรียนรู้อื่น  และด้วยเหตุนี้จึงเป็นช่องทางในการหลอกลวงผู้ใช้คนอื่น ๆ
4. การทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมถอย  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะ เครื่องคอมพิวเตอร์  ถึงแม้จะมีการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย  แต่ผู้ใช้ก็ไม่ได้พบเห็นหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นโดยตรง  ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมักขาดมนุษยสัมพันธ์ที่ดี  และเข้ากับผู้อื่นได้ยาก
5. การเผยแพร่วัฒนธรรมที่ไม่เหมาะสม  เนื่องจากข้อมูลสารสนเทศไม่สามารถระบุเพศหรือวัยของผู้ใช้ได้  ข้อมูลจึงมีความหลากหลาย  ดังนั้นผู้รับข้อมูลอาจได้รับข้อมูลที่ไม่เหมาะสมต่อเพศและวัยของตนเองส่งผลให้เกิดความเชื่อที่ผิด  และอาจก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมได้

ผลกระทบด้านการเรียนการสอน
            เทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้กับการศึกษา  ได้แก่  การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน  ระบบการสื่อสารทางไกลหรือโทรศึกษา  การเรียนการสอนผ่านเว็บเพจ  และสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์  ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อผู้เรียนทางด้านบวกและด้านลบดังนี้
1. ผลกระทบทางด้านบวก

– ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกสถานที่  ทุกเวลา
– ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในหัวข้อหรือเนื้อหาที่สนใจได้โดยไม่ต้องเรียงลำดับ
– สื่อมีความน่าสนใจ  ส่งผลให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น
– สื่อมีรูปแบบการนำเสนอแบบโต้ตอบกับผู้เรียน  เช่น  การทำแบบฝึกหัดแล้วสามารถเฉลยข้อสอบ ให้กับผู้เรียนได้ทันที
– สื่อสามารถเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่นำเสนอได้
– ผู้เรียนสามารถติดต่อ  สอบถาม  และแสดงความคิดเห็นกับผู้สอนและผู้เรียนคนอื่น ๆ ได้ด้วย การสนทนาออนไลน์  กระดานแลกเปลี่ยน  หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

2. ผลกระทบทางด้านลบ

– ผู้เรียนและผู้สอนจะต้องมีความพร้อมด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน
– ผู้เรียนและผู้สอนจะต้องมีความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยี
– เครื่องมือและอุปกรณ์จะต้องมีความทันสมัยเพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานที่หลากหลายได้  และควรเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
– ผู้เรียนและผู้สอนขาดปฏิสัมพันธ์กันโดยตรง

สาระน่ารู้ 

  1. ความปลอดภัยในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์  (Computer  Security)  คือ วิธีการรักษาความปลอดภัยที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันและตรวจสอบไม่ให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิ์เข้าใช้งานและสร้างความเสียหายแก่เครื่องคอมพิวเตอร์
  2. กฎหมายเกี่ยวกับการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน  คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  พ.ศ.2550  ซึ่งบัญญัติขึ้นเพื่อป้องกันการกระทำโดยมิชอบต่อข้อมูลและระบบคอมพิวเตอร์
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1547 Articles
https://www.kruaof.com