แป้นพิมพ์ (Keyboard)

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

แป้นพิมพ์เป็นอุปกรณ์ที่นำเข้าข้อมูลเพื่อสั่งให้หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ดำเนินการและแสดงผลออกทางจอภาพ (Monitor) แป้นพิมพ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์มีลักษณะคล้าย ๆ กับแป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ดีด กล่าวคือ มีแต่ละแป้นพิมพ์ตัวอักษรแถวบนหรือแถวล่างได้ แต่แป้นพิมพ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีประมาณ 101-104 แป้น แป้นพิมพ์ที่เพิ่มขึ้นมาทำหน้าที่ต่าง ๆกัน

แบ่งกลุ่มแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 3 กลุ่มคือ

  1. กลุ่มแป้นพิมพ์ที่ใช้พิมพ์หรือเครื่องหมาย มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษหรือเรียกว่าแป้นตัวอักษร กล่าวคือ พิมพ์ตัวอักษร ก – ฮ และพิมพ์ตัวอักษร A – Z
  2. กลุ่มแป้นพิมพ์ที่ใช้แสดงหน้าที่พิเศษ หรืออาจเรียกว่า เป็นกลุ่ม Function Key มีตัวอักษร F1 – F12 กำกับ สำหรับเขียนแทนด้วยคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่กับโปรแกรม
  3. กลุ่มแป้นพิมพ์ทีใช้พิมพ์จำนวนเลข หรือเรียกว่า Numeric Key พิมพ์เลข1 – 0 และเครื่องหมาย + –

นอกจากนี้ยังประกอบด้วยแป้นพิมพ์ที่มีไว้เพื่อเป็นแป้นพิมพ์คำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ได้แก่

Enter เป็นแป้นที่กดเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับคำสั่งไปปฏิบัติตามที่ต้องการ แป้นนี้เดิมชื่อCarriage Return เปลี่ยนมาเป็น Enter ในยุคของเครื่องพีซี มีทั้งในแป้นตัวอักษรและแป้นตัวเลข ใช้ได้กับกดเพื่อขึ้นบรรทัดใหม่

Escape กดเพื่อยกเลิกการทำงานเดิมหรือจบการเล่นเกม การกดแป้นจะยกเลิกคำสั่งที่กำลังใช้งานย้อนกลับไปที่คำสั่งก่อนหน้า

Tiled สำหรับกดเปลี่ยนไปมาระหว่าภาษาไทยกับกาษาอังกฤษ

Caps Lock สำหรับยกแคร่ค้างไว้เพื่อพิมพ์อักษรแบบตัวพิมพ์ใหญ่ เมื่อกดแป้นนี้ ไฟบอกสภาวะ ทางขวามือจะติด ดังนั้น ถ้าการพิมพ์อักษรมีปัญหา ให้ดูว่าแป้นนี้ถูกกดค้างไว้หรือไม่

Shift แป้นยกแคร่ กดค้างไว้แล้วพิมพ์ ถ้าแป้นพิมพ์อักษรที่มีสองตัวบนล่างกดแป้นนี้เพื่อพิมพ์ตัวอักษรบน ถ้าเป็นอักษรภาษาอังกฤษที่มีตัวเดียว กดเพื่อพิมพ์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่

Ctrl แป้นควบคุมกดค้างไว้แล้วกดอักษรตัวอื่นเพื่อให้เกิดการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นCtrl+Alt+Delete เป็นการรีเซ็ทเครื่องใหม่, Ctrl + B ทำตัวอักษรหนา เป็นต้น

Tab ใช้กด เพื่อเลื่อน 1 ย่อหน้า

Space bar ใช้กดเพื่อเว้นวรรค

Alternate กดคู่กับแป้นอื่น ๆ เพื่อทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น Alt+X คือจบเกม Ctrl + Alt + Delete         รีเซ็ทเครื่องเหมือนการกดปุ่ม Reset

Backspace แป้นเลื่อนถอยหลัง กดเพื่อย้อนกลับไปทางซ้ายสำหรับพิมพ์ และลบตัวอักษรทางซ้ายทีเลื่อนไปแป้นควบคุม เป็นแป้นลูกศรชี้ไปทางซ้าย ขวา บน ล่าง สำหรับควบคุมการเลื่อนตำแหน่งไปมาบนจอภาพ

Insert แทรกอักษร กดเพื่อกำหนดสภาวะพิมพ์แทรก หรือพิมพ์ทับ การทำงานปกติเป็นการพิมพ์แทรก

Delete กดเพื่อลบอักษรที่ Cursor ทับอยู่ หรือลบตัวที่อยู่ทางขวาของจุดแทรก (Cursor) เมื่อลบแล้วจะดึงอักษรทางขวามือมาแทนที่

Home กดเพื่อเลื่อนการทำงานไปยังตำแหน่งแรกของบรรทัดที่กำลังพิมพ์งานอยู่

End กดเพื่อกระโดดไปยังอักษรตัวสุดท้ายทางขวาของบรรทัดที่กำลังพิมพ์งานอยู่

Page Up กดเพื่อเลื่อนจอภาพขึ้นไปดูข้อความด้านบน

Page Down กดเพื่อจอภาพลงไปด้านล่าง

Num Lock กดเพื่อใช้แป้นตัวเลขทางขวา เมื่อกดแล้วไฟบอกสภาวะจะติด ถ้าไม่เปิด แป้น Num Lock เป็นการใช้แป้นอักขระตัวล่างที่อยู่ในแป้นตัวเลข

Print Screen กดเพื่อพิมพ์ข้อความที่เห็นบนจอภาพออกทางเครื่องพิมพ์

Scroll Lock กดเพื่อล็อกบรรทัดที่กำลังพิมพ์งานไม่ให้เลื่อนบรรทัด ถึงแม้จะกดแป้น Enter ก็ไม่มีผล เมื่อกดแล้วไฟบอกสภาวะจะติด

Break หรือ Pause กดเพื่อหยุดการทำงานชั่วคราวยกเลิกโดยกดแป้นอื่น ๆ อีกครั้ง

แป้นคำสั่งคำนวณ

^  Caret อยู่เหนือเลข 6 ต้องกดปุ่ม Shitf ค้างไว้แล้วพิมพ์ หมายถึงการยกกำลัง

*   Asterisk หมายถึง การคูณ ใช้เครื่องหมายนี้เพื่อให้แตกต่างกับอักษร x

/  Slash หมายถึง การหาร ถ้าไม่ใช่การคำนวณ หมายถึงขีดทับ ต้องใส่สัญลักษณ์นำเพื่อให้ คอมพิวเตอร์รับเป็นค่าตัวอักษรในโปรแกรมตารางคำนวณ

แป้นอื่น ๆ

@  At sign เครื่องหมาย at หมายถึง จำนวนหน่วยทางบัญชี และเป็นตัวกำหนดตำแหน่งสำหรับเขียนโปรแกรมในโปรแกรมตระกูลฐานข้อมูลต่าง ๆ

# Number sign เครื่องหมายนัมเบอร์สำหรับกำกับตัวเลขบอกลำดับที่ทางคณิตศาสตร์ หมายถึงไม่ทับ

& Dollar sign เครื่องหมายเงินดอลลาร์ หรือ เป็น String สำหรับควบคุมตัวแปรประเภทตัวอักษรในภาษาเบสิก

& Ampersand เครื่องหมายเชื่อมคำ เช่น A&B

ปุ่ม F บนคีย์บอร์ด

หากพูดถึงปุ่มตระกูล F (Function) บนแป้นคีย์บอร์ด น่าจะเป็นปุ่มที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ต้องพบเห็นบ่อยๆ และคุ้นเคยกันดี เนื่องจากมันถูกวางเรียงอยู่แถวบนสุดของคีย์บอร์ด แถมยังมีจำนวนมากตั้งแต่ F1 ไปจนถึง F12
แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าปุ่มตระกูล F เหล่านี้มีประโยชน์อย่างไรกันบ้าง เอาเป็นว่าเราลองมาทำความรู้จักคุณสมบัติเฉพาะตัวของปุ่มลัดเหล่านี้กันดีกว่า เพื่อว่าคราวต่อไปคุณจะได้ใช้ประโยชน์กับมันได้มากขึ้น

F1 – นี่คือปุ่มทางลัดเข้าสู่คู่มือช่วยเหลือ (Help) ของโปรแกรมต่างๆ และถ้าคุณกดปุ่ม Windows Key ตามด้วย F1 มันก็คือปุ่ม Help ของโปรแกรมไมโครซอฟท์นั่นเอง
F2 – ถ้าคุณกดปุ่มนี้ขณะอยู่บนจอเดสก์ท็อป มันคือการไฮไลต์โฟลเดอร์หรือไฟล์เพื่อเตรียมจะเปลี่ยนชื่อ และถ้าอยู่บนโปรแกรม Microsoft Word เมื่อคุณกดปุ่ม Ctrl + F2 มันคือการ Preview เอกสารก่อนพิมพ์
F3 – ปุ่มนี้ใช้เป็นทางลัดเข้าสู่ระบบ Search ของโปรแกรมต่างๆ
F4 – กดปุ่ม Alt + F4 คือการออกจากโปรแกรมที่กำลังใช้งาน
F5 – เมื่อกำลังท่องเว็บไซต์ กดปุ่มนี้คือการทำ Refresh หรือ Reload หน้าเว็บไซต์อีกครั้ง
F6 – คือปุ่มที่ใช้เลื่อน Cursor ไปยัง Address Bar ขณะใช้งานเว็บเบราว์เซอร์
F7 – กดปุ่มนี้เมื่ออยู่ใน Microsoft Word คือการเรียกเช็กระบบตรวจสอบคำผิด
F8 – ปุ่มลัดใช้เรียก Start Menu เวลาอยู่ใน Safe Mode
F9 – ปุ่มลัดเข้าสู่ระบบวัดระยะของโปรแกรม Quark 5.0
F10 – กดปุ่ม Shift + F10 คือการทำงานเสมือนคุณกำลังคลิกขวาที่เมาส์
F11 – กดปุ่มนี้เพื่อการเรียกดูเบราว์เซอร์แบบ Full Screen
F12 – ใช้เป็นคำสั่ง Save as เมื่ออยู่ในโปรแกรม Microsoft Word

วิธีการใช้งาน คีย์บอร์ด สำหรับสั่งงานต่าง ๆ แทนเมาส์เพื่อการทำงานที่รวดเร็วขึ้น

ปกติแล้ว การใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows มักจะมีการสั่งงานต่าง ๆ โดยใช้การกดปุ่มบน เมาส์ เป็นส่วนมาก ซึ่งบางครั้ง กว่าที่จะทำการสั่งงาน โดยใช้เมาส์เลื่อนไปยังตำแหน่งที่ถูกต้อง กว่าจะกด กว่าจะเลือกเมนูต่าง ๆ อาจจะไม่ทันใจกับผู้ใช้งาน ที่ใจร้อนบางท่าน ยังมีอีกวิธีหนึ่งครับ ที่เราจะสามารถสั่งงาน Windows ต่าง ๆ โดยการใช้ปุ่ม คีย์ลัด หรือ Short Key ของระบบWindows แทนการใช้เมาส์ ที่จะช่วยให้การสั่งงานแบบพื้นฐานต่าง ๆ ทำได้รวดเร็วขึ้น

Short Key คืออะไร

ยกตัวอย่างเช่น การใช้งานโปรแกรม Internet Explorer เมื่อต้องการจะสั่งให้มีการเปิดหน้าต่างใหม่ ปกติจะต้องใช้เมาส์ เลือกที่เมนู File เลือกที่ New และกดที่ Windows เพื่อเปิดหน้าต่างใหม่ แต่ในการใช้ Short Key จะสามารถทำได้ง่าย ๆ โดยเพียงแค่กดปุ่ม Ctrl และ N พร้อมกัน ซึ่งจะให้ผลที่เหมือนกันทุกประการ โดยที่ใช้เวลาน้อยและสะดวกกว่าการใช้เมาส์มาก

Short Key มาตราฐานของระบบ Windows

ส่วนใหญ่ จะเป็นมาตราฐานเดียวกัน ซึ่งในบางครั้ง การใช้งานซอฟต์แวร์บางตัวที่เขียนสำหรับWindows ก็อาจจะใช้ คีย์แบบเดียวกันนี้ เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำและใช้งานซอฟต์แวร์นั้น ๆ ด้วย ทดลองใช้งานบ่อย ๆ แล้วจะคุ้นเคยเองนะครับ

– Alt + Tab ใช้สำหรับการเปลี่ยนหน้าต่างของซอฟต์แวร์ ที่เปิดใช้งานอยู่ในขณะนั้น
– Ctrl + Esc ใช้สำหรับเรียก Start Menu ขึ้นมาใช้งาน
– Alt + F4 ใช้สำหรับปิดหรือออกจากโปรแกรม (Close) ที่เปิดใช้งานอยู่ขณะนั้น
– Ctrl + Alt + Del ใช้สำหรับการสั่งบูทเครื่องใหม่ กรณีที่ไม่สามารถสั่งงานต่าง ๆ ได้แล้ว
– Print Screen ใช้สำหรับการเก็บภาพหน้าจอขณะนั้นเก็บไว้ โดยจะนำไป past วางในโปรแกรมแต่งภาพได้
– Alt ใช้สำหรับการเรียก เมนูด้านบน โดยจะต้องใช้ปุ่มลูกศร สำหรับการเลือกทำงานควบคู่กันไปด้วย
– Esc ใช้สำหรับการยกเลิกการทำงาน หรือออกจากการตั้งค่าต่าง ๆ หรือแทนคำว่า Cancel เป็นส่วนมาก
– Enter ใช้สำหรับการยอมรับ หรือแทนการกด OK เป็นส่วนมาก
– Space Bar ใช้สำหรับการเลือกบนปุ่มที่มีการ high light ไว้ จะใช้งานคล้าย ๆ กับปุ่ม Enter
– Home หรือ Ctrl + Home ใช้สำหรับการเลื่อน Scrool Bar ไปที่ตำแหน่งแรกของหน้าต่างนั้น
– End หรือ Ctrl + End ใช้สำหรับการเลื่อน Scroll Bar ไปที่ตำแหน่งท้ายสุดของหน้าต่างนั้น
– Shift + ปุ่มลูกศร มักจะใช้แทนการเลือก ช่วงของตัวอักษรหรือข้อความนั้น สำหรับการแก้ไขหรือการ copy
– F1 มักจะใช้แทนความหมายของการเรียก Help File ขึ้นมาช่วยเหลือ
– F2 มักจะใช้แทนความหมายของการ Rename ชื่อไฟล์ หรือการแก้ไขข้อความต่าง ๆ
– F3 หรือ Ctrl + F3 ใช้สำหรับการค้นหาต่าง ๆ
– Ctrl + F ใช้สำหรับการค้นหาต่าง ๆ คล้ายกันกับ F3
– Ctrl + A ใช้สำหรับการเลือกทั้งหมดหรือแทนคำว่า Select All
– Ctrl + C ใช้สำหรับการ copy ภาพหรือตัวอักษรที่เลือก เก็บไว้
– Ctrl + X ใช้สำหรับการ cut ภาพหรือตัวอักษรที่เลือก เก็บไว้
– Ctrl + V ใช้สำหรับการ past ภาพหรือตัวอักษรที่ได้เก็บไว้จากการ copy หรือ cut

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ความหมายของพลเมืองที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคม

พลเมืองที่ดีคืออะไร? พลเมืองที่ดี หมายถึง บุคคลที่ปฏิบัติตามกฎหมาย รักษากฎระเบียบของสังคม และมีจิตสำนึกที่ดีต่อส่วนรวม ไม่ทำให้ผู้อื่นหรือสังคมเดือดร้อน ลักษณะของพลเมืองที่ดี ปฏิบัติตามกฎระเบียบ เช่น ข้ามถนนตรงทางม้าลาย ทิ้งขยะในถัง ซื่อสัตย์และมีคุณธรรม เช่น ไม่โกงข้อสอบ ไม่ลักขโมยของผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น เช่น แบ่งปันของเล่นกับเพื่อน ช่วยพยุงคนชรา มีความรับผิดชอบ เช่น ทำการบ้านเอง รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย รักและหวงแหนทรัพยากรของชาติ เช่น ประหยัดน้ำ...

สีในบล็อกคำสั่งของโปรแกรมภาษาสแครช

สีของบล็อกคำสั่งใน Scratch จะแบ่งออกเป็นกลุ่มหลักๆ ดังนี้: สีม่วง: บล็อกควบคุม (Control) เช่น เมื่อคลิกธงเขียว, รอ, ทำซ้ำ สีส้ม: บล็อกการมองเห็น (Looks) เช่น พูด, เปลี่ยนชุด, เปลี่ยนขนาด สีฟ้า: บล็อกเสียง (Sound) เช่น เล่นเสียง,...

4.1.1 รู้จักกับโปรแกรมนำเสนอ Microsoft PowerPoint

Microsoft PowerPoint คืออะไร? Microsoft PowerPoint เป็นโปรแกรมที่ใช้สร้างงานนำเสนอ (Presentation) โดยมีลักษณะเป็นสไลด์ (Slide) แต่ละแผ่น ซึ่งสามารถใส่ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ เสียง และองค์ประกอบอื่นๆ เพื่อนำเสนอข้อมูลให้เข้าใจง่ายและน่าสนใจ PowerPoint มีประโยชน์อย่างไร สร้างงานนำเสนอที่น่าสนใจ: ช่วยให้นักเรียนนำเสนอรายงาน...

วิธีการสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดี

การสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดีเป็นสิ่งสำคัญมากในยุคปัจจุบัน เพราะโซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว การใช้โซเชียลมีเดียอย่างมีสติและสร้างสรรค์ จะช่วยให้เราได้รับประโยชน์สูงสุดและหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบ นี่คือวิธีการสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดี: 1. กำหนดเวลา: ตั้งเวลา: กำหนดเวลาที่ชัดเจนสำหรับการใช้โซเชียลมีเดียแต่ละครั้ง เช่น 1 ชั่วโมงต่อวัน ใช้แอปพลิเคชันช่วย: มีแอปพลิเคชันมากมายที่ช่วยในการติดตามและจำกัดเวลาการใช้งานโซเชียลมีเดีย 2. สร้างกิจวัตร: หาอะไรทำ: หากิจกรรมอื่นๆ ที่สนใจทำ เช่น อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย พบปะเพื่อน เพื่อลดเวลาที่ใช้ไปกับโซเชียลมีเดีย วางแผนวัน: วางแผนกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน...

About ครูออฟ 1643 Articles
https://www.kruaof.com