การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา ป.4

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

คลิปวิดิโอการสอน อยู่ด้านล่างนะครับ

ในการเรียนรู้และการจัดการความรู้นั้นนักเรียนจะต้องเรียนรู้ขั้นตอนการเรียนรู้ในรูปแบบต่าง ซึ่ง ในที่นี่ จะใช้รูปแบบของ G5Steps มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ เดียวเราจะมาเรียนรู้ด้วยกันตาม STEPS กัน

ขั้นสังเกตรวบรวมข้อมูล (Gathering)

บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

  1. สิ่งที่นักเรียนสังเกตเห็นคืออะไร
  2. นักเรียนรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปบ่อยหรือไม่
  3. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปต้องผ่านขั้นตอนใดจึงจะรับประทานได้

วิธีการที่ทำให้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปนั้นรับประทานได้ เรามีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ

วิธีการต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
รูปที่ 1 วิธีการต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
วิธีการต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป กับ การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ไขปัญหา
รูปที่ 2 วิธีการต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป กับ การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ไขปัญหา

จากคำถามจากรูปที่ 2 นักเรียนมีวิธีการปรุงบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปวิธีใดอีกบ้าง วิธีการของนักเรียนดีอย่างไร

กิจกรรมการรวบรวมข้อมูล

กิจกรรมที่ 1 จัดลำดับความคิด มีสิ่งที่นักเรียนต้องลองฝึกปฎิบัติดู คือ (1) การชงนมผง (2) การบวกลบเลข แล้วให้นักเรียนลองปฏิบัติตามวิธีของนักเรียนให้ได้ผลลัพธิ์ตามที่ต้องการ และ สรุปวิธีหาผลลัพธ์ที่สั้นที่สุด

การชงนม หรือ โกโก้ โอวัลติน ให้นักเรียนลองชงดู ถ้าที่บ้าน ไม่มีวัตถุดิบ เวลานักเรียนไปซื้อที่ร้านนักเรียนก็สังเกตุวิธีการชงละกัน

ระหว่าง นักเรียน (1) ใส่น้ำ แล้ว ใส่นมผง (2) ใส่นมผง แล้ว ใส่น้ำ ค่อยคน ให้เข้ากัน ผลลัพธ์จะแตกต่างการ วิธีไหน ดีกว่ากัน

การชงโอวัลติน
รูปที่ 3 การชงโอวัลติน

การบวกลบเลข ให้นักเรียนหาคำตอบของจำนวนต่อไปนี้

76 + 325 – 23 + 247 + 1024 = ?

มันมีวิธีคิดหลากหลายวิธี ให้นักเรียนลองจับเวลา ในการคิด ว่านักเรียนใช้เวลาในการคิด กี่นาที แต่คำตอบต้องถูกต้องด้วย

ศึกษาข้อมูลจากแหล่งข้อมูล

การแก้ปัญหา (problem solving) เป็นการค้นหาคำตอบ หาวิธีแก้ปัญหาหรือทำงานนั้นให้สำเร็จ โดยเริ่มจากการกำหนดคำถามเกี่ยวกับปัญหานั้นว่าเราจะแก้ปัญหาหรือทำงานนั้นให้สำเร็จได้อย่างไร

การให้เหตุผล (reasoning) เป็นการคิดและอธิบายความคิดออกมาเป็นแผนงาน สำหรับการแก้ปัญหานั้นเราอาจเสนอวิธีการแก้ปัญหาโดยการถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นข้อความ ซึ่งแสดงวิธีการแก้ปัญหาออกมาเป็นลำดับขั้น ทำให้มองเห็นวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างชัดเจนโดยแต่ละขั้นจะต้องพิจารณาเงื่อนไขหรือเหตุผลประกอบด้วย

การเลือกวิธีการแก้ปัญหาทุกปัญหานั้น นักเรียนควรพิจารณาเงื่อนไขให้ครบทุกกรณี สำหรับแนวทางการแก้ปัญหานั้น นักเรียนอาจนำเครื่องมือต่าง ๆ ที่มีอยู่มาช่วยได้เช่นกัน วิธีการแก้ปัญหาวิธีหนึ่งอาจเหมาาจเหมาะกับเพื่อนแต่อาจไม่เหมาะกับตัวนักเรียนก็ได้เช่นกัน

โต๊ะนั่งในห้องเรียน

หากต้องการวัดความยาวการประมาณด้วยสายตาจะทำให้มีข้อผิดพลาดอยู่มากการวัดนั้นต้องมีเครื่องมือวัดที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ค่าการวัดที่ถูกต้องโดยเครื่องมือสำหรับการวัดมีหลายชนิด เช่น ไม้บรรทัด สายวัด ตลับเมตร

อุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดความยาว ความกว้าง

หากเลือกใช้ไม้บรรทัดในการวัด นักเรียนอาจต้องวัดเป็นระยะ ๆ ตามความยาวของไม้บรรทัด แล้วนำค่าที่ได้มารวมกัน ค่าการวัดที่ได้อาจมีความผิดพลาดได้เช่นกัน หากเลือกใช้สายวัดจะวัดได้สะดวกมากขึ้น หรือหากใช้ตลับเมตรจะวัดได้สะดวกรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น ซึ่งการเลือกใช้เครื่องมือใดนั้น นักเรียนต้องพิจารณาเงื่อนไขด้วย

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.