เที่ยวบ้านคุณย่า ป.4

บทที่1 เที่ยวบ้านคุณย่า ป.4 วิทยาการคำนวณ สสวท.
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

จุดประสงค์การเรียนรู้

  1. รู้จักความหมายของอัลกอริทึม
  2. ยกตัวอย่างอัลกอริทึมที่ใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
  3. ใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา

โป้ง ก้อย และอิ่ม ช่วยกันเก็บผลไม้ในสวน ซึ่งมีผลไม้ที่โป้ง ก้อยและอิ่มเก็บมามี 3 ชนิด คือ มะม่วงสุก ฝรั่ง และชมพู่มะเหมี่ยว โดยจะนำผลไม้ทั้ง 3 ชนิดจะไปฝากคุณย่า แต่ถ้าจะไปฝากคุณย่านั้น เราจะต้องคัดผลไม้บางชนิดออก เพราะผลไม้ชนิดนี้ มีรสชาติหวาน ทำให้มีน้ำตาลมาก ไม่เหมาะกับผู้สูงอายุ เราควรคัดผลไม้ชนิดใดออก?

แต่เราควรจะคัดแยกผลไม้กันได้ยังไง ในเมื่อเราเก็บผลไม้ทั้งหมดมาไว้ในตระกล้าเดียวกัน

ตระกล้าผลไม้ที่โป้ง ก้อย และอิ่มเก็บมาจากสวน

จากนั้น พ่อบอกให้โป้งไปหยิบตะกร้า 3 ใบ เพื่อคัดแยกผลไม้แต่ละชนิดออกจากกัน

โป้งเสนอแนวคิดขึ้นมา
โป้ง : ถ้าหยิบเฉพาะฝรั่งกับชมพู่มะเหมี่ยว ออกมาใส่ไว้ในตะกร้า ได้ไหมครับ
พ่อ : เก่งมากเลยลูก วิธีการนี้ก็แก้ปัญหาได้เช่นกัน
ก้อย : วิธีของโป้งจะใช้ตะกร้าเพียง 1 ใบ
แม่ : สิ่งที่คุณพ่อกับโป้งอธิบาย เรียกว่า อัลกอริทึม (algorithm) ซึ่งเป็นขั้นตอนวิธีที่ใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งในชีวิตจริง และในการสั่งงานคอมพิวเตอร์รวมทั้งอิ่มของเราด้วยนะ”
คุณพ่อคุณแม่ชวนโป้งและก้อยคิดถึงผลลัพธ์ของอัลกอริทึมทั้งสอง

ผลลัพธ์จากอัลกอริทึมของคุณพ่อ
ผลลัพธ์จากอัลกอริทึมของโป้ง

นักเรียนควรเลือกวิธีการ แนวคิดของคุณพ่อหรือโป้งในการคัดผลไม้ไปฝากคุณย่า จงอธิบาย

นักเรียนมีวิธีการ แนวคิดอื่นที่จะคัดแยกผลไม้ที่ โป้ง ก้อย และอิ่ม เก็บมาจากสวนหรือไม่ เล่าให้ฟังหน่อยสิ

านคุณย่า และได้นำผลไม้ที่เก็บไปฝากคุณย่า

เมื่อมาถึงบ้านคุณย่า โป้ง ก้อย และอิ่ม ได้นำผลไม้ที่เก็บมาจากสวนไปฝากคุณย่า คุณปู่คุณย่าดีใจมาก เลยจะทำอาหารเย็นกินกันในครอบครัว ช่วงระหว่างรอ คุณย่า ทำอาหารเย็น โป้งก้อยและอิ่ม ไปวิ่งเล่นหลังบ้าน

โต๊ะปิงปองหลังบ้านคุณย่า

ที่หลังบ้านมีโต๊ะปิงปอง คุณพ่อนึกสนุกจึงชวนโป้งและก้อยเล่นปิงปองเพื่อออกกำลังกาย แต่กลับพบว่าลูกปิงปองและลูกกอล์ฟอยู่ปะปนกันในกล่อง
พ่อ : มาช่วยกันแยกลูกปิงปองออกจากลูกกอล์ฟกัน
โป้ง : เราก็หยิบเฉพาะลูกกอล์ฟออกมาแยกใส่ไว้ในกระป๋อง
ก้อย : แต่เราไม่ต้องการลูกกอล์ฟนะ เราต้องการแต่ลูกปิงปอง
โป้ง : ที่เราหยิบลูกกอล์ฟออกมาเพราะดูเหมือนลูกกอล์ฟมีจำนวนน้อยกว่าลูกปิงปอง
พ่อ : มีวิธีอื่นอีกไหม
ก้อย : หรือเอาทั้งหมดไปเทลงในน้ำ
โป้ง : … โอ๊ะ ใช่แล้ว ลูกกอล์ฟจะจมน้ำ แต่ลูกปิงปองจะลอยน้ำ
พ่อ : อัลกอริทึมของก้อยทำได้เร็วมากเลย เพราะไม่ต้องเสียเวลาเลือกที่ละลูกเราสามารถเททั้งหมดลงไปน้ำได้พร้อมกัน

การคัดแยกตามอัลกอริทึมของโป้ง
ผลลัพธิ์การคัดแยกตามอัลกอริทึมของก้อย
ทุกคนได้เล่นปิงปองกันอย่างสนุกสนาน

สรุปสิ่งที่ได้จากเรื่อง เที่ยวบ้านคุณย่า

การออกแบบอัลกอริทึมที่ดีช่วยให้เราทำงานได้สำเร็จ ในชีวิตประจำวันเราสามารถใช้อัลกอริทึมในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ มากมาย เช่น การจัดเรียงเสื้อผ้าในตู้ตามขนาดหรือสี
เพื่อให้หยิบใช้ได้ง่าย การประกอบอาหารตามสูตร การหาคำศัพท์ในพจนานุกรม การขึ้นรถโดยสาร

คำสำคัญ

😉 อัลกอริทึม คำว่า Algorithm มีที่มาจากคำว่า al-Khawarizmi ซึ่งเป็นชื่อของนักคณิตศาสตร์ชาวเปอร์เซียในยุคแรกคำนี้หมายถึงกฏที่ใช้ในการคิดคำนวณเลขคณิตในปัจจุบันมีความหมายที่กว้างขึ้นโดยหมายถึง ขั้นตอนวิธีการในการแก้ปัญหาต่าง ๆ

แบบฝึกลองฝึกทำดู

ครูมีถังใส่น้ำ 3 ลิตร และ 5 ลิตร อยู่ 2 ใบ ครูต้องการน้ำ 4 ลิตร เราจะมีอัลกอริทึม อย่างไรบ้างที่จะทำให้ได้น้ำจำนวน 4 ลิตรที่ต้องการ

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิธีการปกป้องข้อมูลส่วนตัว

การปกป้องข้อมูลส่วนตัวเป็นเรื่องสำคัญที่เราทุกคนต้องเรียนรู้ เพื่อป้องกันไม่ให้คนที่ไม่หวังดีนำข้อมูลของเราไปใช้ในทางที่ไม่ดี เรามีวิธีหลายอย่างในการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของเรา วิธีการปกป้องข้อมูลส่วนตัว: ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวกับคนแปลกหน้า: ไม่บอกชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ให้กับคนที่เราไม่รู้จัก ไม่นัดเจอคนที่เราคุยด้วยทางอินเทอร์เน็ต หากไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง ระมัดระวังในการพูดคุยกับคนแปลกหน้าในเกมออนไลน์ หรือแอปพลิเคชันต่างๆ สร้างรหัสผ่านที่ปลอดภัย: ใช้รหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก โดยใช้ตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ผสมกัน ไม่ใช้รหัสผ่านเดียวกันในหลายบัญชี เก็บรักษารหัสผ่านเป็นความลับ ไม่บอกให้ใครรู้ ระมัดระวังในการใช้งานอินเทอร์เน็ต: ไม่คลิกลิงก์ หรือเปิดไฟล์แนบจากอีเมล หรือข้อความที่ไม่รู้จัก ไม่ดาวน์โหลดโปรแกรม หรือแอปพลิเคชันจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวในโซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชันต่างๆ บอกผู้ปกครองหรือคุณครู เมื่อเจอสิ่งผิดปกติ: หากมีคนแปลกหน้าทักมา หรือขอข้อมูลส่วนตัวของเรา หากเจอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม หรือน่ากลัวบนอินเทอร์เน็ต หากถูกกลั่นแกล้ง...

ทำไมเราต้องปกป้องข้อมูลส่วนตัว?

ข้อมูลส่วนตัวของเรานั้นสำคัญมาก เหมือนกับกุญแจที่ใช้เปิดบ้าน ถ้ามีคนที่ไม่หวังดีได้กุญแจไป เขาอาจจะเข้ามาในบ้านของเราและทำสิ่งที่ไม่ดีได้ ข้อมูลส่วนตัวก็เช่นกัน ถ้าคนที่ไม่หวังดีได้ข้อมูลส่วนตัวของเราไป เขาอาจจะนำไปใช้ในทางที่ไม่ดี ทำให้เราเดือดร้อนได้ เหตุผลที่เราต้องปกป้องข้อมูลส่วนตัว: ป้องกันการถูกแอบอ้าง: คนที่ไม่หวังดีอาจนำข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้แอบอ้างเป็นตัวเรา เช่น สมัครบัญชีออนไลน์ หรือทำธุรกรรมต่างๆ ในชื่อของเรา ทำให้เราต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เราไม่ได้ทำ ป้องกันการถูกหลอกลวง: คนที่ไม่หวังดีอาจใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการหลอกลวง เช่น ส่งอีเมลหรือข้อความหลอกลวงให้เราโอนเงิน หรือให้ข้อมูลส่วนตัวเพิ่มเติม ป้องกันการถูกกลั่นแกล้ง: คนที่ไม่หวังดีอาจใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ เช่น เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของเราให้คนอื่นรู้ หรือใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการสร้างข่าวลือที่ไม่ดี ป้องกันการถูกขโมยข้อมูล: คนที่ไม่หวังดีอาจขโมยข้อมูลส่วนตัวของเราไปขาย หรือนำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย ป้องกันอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน: ข้อมูลส่วนตัวบางอย่างเช่น...

ข้อมูลส่วนตัวคืออะไร?

ข้อมูลส่วนตัว คือ ข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนของเราได้ ข้อมูลเหล่านี้สำคัญมาก เพราะหากมีคนรู้ข้อมูลส่วนตัวของเรา อาจนำไปใช้ในทางที่ไม่ดีได้ ตัวอย่างข้อมูลส่วนตัว: ชื่อ-นามสกุล: ชื่อจริงและนามสกุลของเรา ที่อยู่: บ้านเลขที่ ถนน ตำบล อำเภอ จังหวัด รหัสไปรษณีย์ เบอร์โทรศัพท์: เบอร์โทรศัพท์บ้านหรือเบอร์โทรศัพท์มือถือของเรา วันเดือนปีเกิด: วัน เดือน และปีที่เราเกิด รูปภาพ: รูปถ่ายของเรา ข้อมูลโรงเรียน: ชื่อโรงเรียน ชั้นเรียน...

พัฒนาอินโฟกราฟิกให้ปัง! ด้วยการรับฟังและปรับปรุงผลงาน

ความสำคัญของการรับฟังความคิดเห็น: ช่วยให้เข้าใจมุมมองและความต้องการของผู้ฟัง ช่วยให้เห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของผลงาน ช่วยให้สามารถปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้น ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็น: 1. เปิดใจรับฟัง: ตั้งใจฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างตั้งใจ หลีกเลี่ยงการโต้แย้งหรือตัดสินความคิดเห็น 2. จดบันทึก: จดบันทึกความคิดเห็นที่สำคัญ เพื่อนำมาพิจารณา 3. วิเคราะห์ความคิดเห็น: แยกแยะความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ พิจารณาว่าความคิดเห็นใดที่สามารถนำมาปรับปรุงผลงานได้ 4. ปรับปรุงผลงาน: นำความคิดเห็นที่ได้มาปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้น ทดสอบผลงานที่ปรับปรุงแล้วกับกลุ่มเป้าหมาย 5. ขอบคุณผู้ให้ความคิดเห็น: แสดงความขอบคุณต่อผู้ที่ให้ความคิดเห็น แสดงให้เห็นว่าความคิดเห็นของพวกเขาได้รับการนำไปใช้ประโยชน์ เทคนิคการรับฟังความคิดเห็น: ตั้งคำถามปลายเปิด เพื่อให้ผู้ฟังแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ แสดงความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้ฟัง สรุปความคิดเห็นของผู้ฟัง เพื่อให้แน่ใจว่าเข้าใจถูกต้อง ขอคำแนะนำเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน การนำเสนอผลงาน และรับฟังความคิดเห็น หลังจากนำเสนอผลงาน Infographic เสร็จ ควรเปิดโอกาศให้ผู้ร่วมรับชมผลงานนั้น ได้แสดงความคิดเห็น จดบันทึกคำถาม และข้อสงสัยต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขผลงาน กิจกรรม: ให้นักเรียนนำเสนออินโฟกราฟิกที่ตนเองสร้าง และรับฟังความคิดเห็นจากเพื่อนๆ หรือครู ให้นักเรียนปรับปรุงอินโฟกราฟิกของตนเองตามความคิดเห็นที่ได้รับ ให้นักเรียนสะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นและการปรับปรุงผลงาน คำถามทบทวน: ทำไมการรับฟังความคิดเห็นจึงสำคัญ? มีขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นอย่างไร? มีเทคนิคอะไรบ้างในการรับฟังความคิดเห็น?...

About ครูออฟ 1711 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.