วิธีการแก้ไขปัญหา ป.5

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ปัญหาบางปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้นเราอาจต้องวางแผนการแก้ปัญหาบางปัญหาอาจมีวิธีแก้ได้หลายวิธี การวางแผนการแก้ปัญหาจะต้องพิจารณาด้วยเหตุผลต่างๆ ให้ครบทุกกรณีที่อาจเป็นไปได้
การใช้เหตุผล (reasoning) เป็นการคิดและอธิบายความคิดออกมาเป็นแผนงาน โดยแสดงวิธีการแก้ปัญหาออกมาเป็นลำดับขั้นตอน ทำให้มองเห็นวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างชัดเจน ในแต่ละขั้นตอนต้องพิจารณาเงื่อนไขหรือเหตุผลประกอบด้วย การแสดงขั้นตอนการแก้ปัญหาทำได้โดยการเขียนบอกเล่า วาดภาพหรือใช้สัญลักษณ์

ตัวอย่าง การอาบน้ำในฤดูหนาวอย่างไรไม่ให้หนาว
เริ่มต้น
1. ต้มน้ำร้อน
2. นำน้ำร้อนที่ต้มเสร็จไปผสมกับน้ำที่อุณหภูมิปกติตามความเหมาะสม
3. อาบน้ำ
4. เช็ดตัวให้แห้ง แล้วใส่เสื้อผ้า
จบ

แต่ละบุคคลอาจมีวิธีการแก้ปัญหาเหมือนกันหรืออาจแตกต่างกันขึ้นกับความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของแต่ละบุคคล แต่หากพิจารณาให้ละเอียด จะพบว่าการแก้ปัญหามีหลักการและกระบวนการที่คล้ายกัน หลักการแก้ปัญหาโดยทั่วไปมีกระบวนการ ดังนี้

1. การพิจารณาปัญหา คือ การทำความเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นอย่าง
ละเอียด แล้วพิจารณาว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง เช่น ปัญหานี้เกิดจากอะไรปัญหานี้มีผลต่อใคร ผลที่เกิดจากปัญหาคืออะไร สิ่งที่ต้องการแก้ปัญหาคืออะไร

2. การวางแผนแก้ปัญหา คือ การกำหนดขั้นตอน วิธีการ อุปกรณ์
เครื่องมือ และระยะเวลาที่ใช้ในการแก้ปัญหา เพื่อให้ผู้แก้ปัญหาเข้าใจตรงกันและปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน อาจแสดงขั้นตอนการแก้ปัญหา โดยการบอกเล่าเป็นข้อความ การวาดภาพ หรือใช้สัญลักษณ์

ตัวอย่าง ปัญหาเกี่ยวกับการจัดลำดับการทำงานบ้านในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมานักเรียนต้องไปโรงเรียน อาจมีการบ้านและงานส่วนตัวต้องทำในวันหยุดซึ่งมีเพียงสองวัน ดังนั้นนักเรียนจะต้องวางแผนจัดลำดับการทำงานให้เหมาะสมและคุ้มค่ากับเวลาถ้าวันหยุดนักเรียนต้องซักผ้าและทำการบ้าน หากนักเรียนตื่นแต่เช้าแล้วซักผ้า แต่วันนั้นฝนตก จะทำให้นักเรียนเสียเวลาในการซักผ้าดังนั้นเราอาจวางแผนลำดับขั้นตอนโดยเพิ่มเงื่อนไข ดังนี้

เริ่มต้น
1. ฝนตกหรือไม่
2. ถ้าฝนตกจริง ทำการบ้านก่อน แล้วจึงซักผ้าและนำไปตาก
3. ถ้าฝนไม่ตก ซักผ้าแล้วตาก จากนั้นจึงทำการบ้าน
จบ

สำหรับการแสดงขั้นตอนโดยใช้สัญลักษณ์จะต้องเลือกใช้สัญลักษณ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น

หมายถึง การเริ่มต้นหรือจบ

หมายถึง การตัดสินใจ

หมายถึง การทำงานหรือกระบวนการ

หมายถึง จุดเชื่อมต่อ

ผังงานการแก้ปัญหาเรื่องฝน

3. วิธีการแก้ปัญหา คือ การดำเนินการแก้ปัญหาตามแนวทางที่วางไว้ถ้าพบวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกว่าสามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการได้ การแก้ปัญหาอาจทำได้หลายวิธี เช่น
1) การลองผิดลองถูก เป็นการแก้ปัญหาง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน เช่น การเล่นเกมย้ายก้านไม้ขีด การเล่นเกมตัวต่อ เกมคัดแยกกลุ่มของหนักเบา เกมต่อจิกซอว์

เกมส์ต่อจิ๊กซอ

2) ใช้ความสัมพันธ์ของข้อมูลที่มีเหตุผลซึ่งกันและกัน เป็นการแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น โดยต้องมีข้อมูลพื้นฐานก่อนเพื่อนำมาวิเคราะห์ สรุปผลแล้วนำไปแก้ปัญหา

ตัวอย่าง ตัวเลขในช่องว่าง คือตัวเลขอะไร ถ้าทุกแถวในแนวนอนและแนวตั้งต้องมีตัวเลข 1 2 3 4 โดยตัวเลขในแต่ละแถวต้องบวกกันแล้วได้ผลลัพธ์เท่ากับ 10

เกมซูโดกุ  ขนาด4×4

3) การขจัดเป็นการแก้ปัญหาโดยหาความสัมพันธ์ของข้อมูลให้มากที่สุดแล้วพยายามขจัดสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป จนได้คำตอบที่ต้องการ

ตัวอย่าง มีนักเรียน 3 คน มด โหน่ง หนุ่ย แต่ละคนมีของอยู่ 2 อย่างที่ไม่ซ้ำกัน คือ ดินสอ ไม้บรรทัด ยางลบ กระดาษวาดเขียน สีไม้ และกบเหลาดินสอ แต่ไม่ทราบว่าใครเป็นเจ้าของอะไรบ้าง และเรามีข้อมูล ดังนี้

  1. มดขอยืมยางลบจากเพื่อนเสมอ
  2. โหน่งไม่ชอบใช้ไม้บรรทัดขีดเส้น
  3. หนุ่ยชอบใช้สีน้ำระบายสีภาพ
  4. โหน่งแบ่งกระดาษวาดเขียนให้มด
  5. หนุ่ยไม่เคยยืมกบเหลาดินสอของเพื่อนเลย
  6. มดให้หนุ่ยยิ้มไม้บรรทัดขีดเส้น
  7. โหน่งขอยืมสีไม้จากมด
  8. โหน่งเขียนชื่อตัวเองลงในยางลบ

จากข้อมูลที่ทราบ ถ้าทำตารางการแจกแจง แล้วนำข้อมูลแต่ละข้อมาพิจารณาแล้วเขียนลงในตารางจะได้ ดังนี้

ตารางการแจกแจง ข้อมูลแต่ละข้อมาพิจารณา

จากตารางและข้อมูลที่เขียนขึ้น ทำให้พิจารณาได้ว่าใครเป็นเจ้าของอุปกรณ์ชื่นใดบ้าง

4. ประโยชน์ในการใช้หลักการแก้ปัญหา

  1. ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ
  2. ฝึกการหาคำตอบอย่างมีเหตุผล
  3. แก้ปัญหาได้โดยมีข้อบกพร่องน้อยที่สุด
  4. เป็นวิธีการที่น่าเชื่อถือ และยอมรับได้เมื่อสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง โดยใช้หลักการและเหตุผล

5. เกมการแก้ปัญหา
การฝึกการแก้ปัญหาเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ใช้ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบได้เป็นอย่างดี แต่เราอาจยังไม่ต้องแก้ปัญหาจริง เพียงแค่ฝึกจากเกมที่มีอยู่ก็ได้ซึ่งมีทั้งเกมในลักษณะของสื่อต่าง ๆ หรือเกมคอมพิวเตอร์เกมย้ายก้านไม้ขีดไฟเป็นอีกเกมหนึ่งที่นิยมเล่นในการทายจำนวนจากตัวเลข และทายรูปทรงต่างๆ

คำศัพท์ที่ต้องรู้

คำศัพท์คำอ่านคำแปล
messageเมส ซิจข้อความ
paintingเพน ทิ้งการวาดภาพ
symbolซิม เบิลสัญลักษณ์
tellเทลบอก
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สาระสำคัญของการเรียนรู้การออกแบบอัลกอริทึมในระดับชั้น ม.1

การเรียนรู้การออกแบบอัลกอริทึมในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถือเป็นการปูพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณและการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัลนี้ ทำไมต้องเรียนรู้การออกแบบอัลกอริทึม? พัฒนากระบวนการคิด: การออกแบบอัลกอริทึมช่วยฝึกให้เด็กคิดเป็นขั้นเป็นตอน วิเคราะห์ปัญหา และหาทางแก้ไขได้อย่างเป็นระบบ เตรียมพร้อมสำหรับอนาคต: ทักษะการออกแบบอัลกอริทึมเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรม และการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์: การออกแบบอัลกอริทึมมีหลายวิธี เด็กๆ สามารถคิดค้นวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันได้ พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกัน: การทำงานกลุ่มในการออกแบบอัลกอริทึมช่วยให้เด็กเรียนรู้การทำงานร่วมกันและการสื่อสาร อัลกอริทึมคืออะไร? อัลกอริทึมก็เหมือนกับสูตรอาหารหรือคู่มือการประกอบเฟอร์นิเจอร์ คือชุดคำสั่งที่ระบุขั้นตอนในการทำงานอย่างชัดเจน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น อัลกอริทึมในการต้มไข่ต้มก็คือ 1. นำไข่ใส่หม้อ...

สาระสำคัญของการฝึกฝนการแก้ปัญหาอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพในระดับชั้น ม.1

การฝึกฝนให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีทักษะการแก้ปัญหาอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการทำงานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำไมต้องฝึกฝนทักษะการแก้ปัญหา? พัฒนากระบวนการคิด: ช่วยให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ปัญหา แยกแยะประเด็นสำคัญ และวางแผนแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพิ่มความมั่นใจ: เมื่อนักเรียนสามารถแก้ปัญหาได้เอง จะส่งผลให้มีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น เตรียมพร้อมสำหรับอนาคต: ทักษะการแก้ปัญหาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น และการทำงานในสายอาชีพต่างๆ ส่งเสริมการเรียนรู้แบบอัตโนมัติ: การแก้ปัญหาจะทำให้นักเรียนค้นพบวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเองมากขึ้น วิธีการฝึกฝน จัดกิจกรรมที่ท้าทาย: ให้โจทย์ปัญหาที่หลากหลายและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ สอนวิธีการคิดแบบมีระบบ: แนะนำขั้นตอนการแก้ปัญหา เช่น การกำหนดปัญหา การหาข้อมูล...

สาระสำคัญของการฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีตรรกะในระดับชั้น ม.1

การฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีตรรกะในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นับเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียน ทักษะเหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนสามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อน วิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ และตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และการทำงานในอนาคต เหตุผลที่ต้องฝึกฝนทักษะเหล่านี้ในระดับชั้น ม.1 พัฒนากระบวนการคิด: ช่วยให้นักเรียนพัฒนากระบวนการคิดที่เป็นระบบ มีขั้นตอนในการแก้ปัญหา เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้: ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ดีขึ้น เข้าใจเนื้อหาได้ลึกซึ้ง เตรียมความพร้อมสำหรับการศึกษาต่อ: เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งต้องใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน พัฒนาทักษะการสื่อสาร: ช่วยให้นักเรียนสามารถสื่อสารความคิดเห็นของตนเองได้อย่างชัดเจนและมีเหตุผล เสริมสร้างความมั่นใจ: การฝึกฝนทำให้เกิดความมั่นใจในการแก้ปัญหาและตัดสินใจ วิธีการฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีตรรกะ ตั้งคำถาม: สอนให้นักเรียนตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการคิดวิเคราะห์ หาเหตุผลสนับสนุน: ฝึกให้นักเรียนหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดเห็นของตนเอง เปรียบเทียบและหาความแตกต่าง:...

สาระสำคัญของการเรียนรู้แนวคิดพื้นฐานของการคิดเชิงคำนวณ ระดับชั้น ม.1

การเรียนรู้แนวคิดพื้นฐานของการคิดเชิงคำนวณ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นับเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกวงการ สาระสำคัญที่นักเรียนจะได้เรียนรู้มีดังนี้ 1. เข้าใจกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ: การวิเคราะห์ปัญหา: เรียนรู้ที่จะแยกแยะปัญหาออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อให้เข้าใจปัญหาได้อย่างชัดเจน การออกแบบอัลกอริทึม: ฝึกคิดขั้นตอนในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ การเขียนรหัสลำลอง: ฝึกเขียนคำอธิบายขั้นตอนการแก้ปัญหาเป็นภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจ การทดสอบและปรับปรุง: เรียนรู้ที่จะตรวจสอบผลลัพธ์และแก้ไขข้อผิดพลาด 2. พัฒนาทักษะการคิดเชิงตรรกะ: การใช้เหตุผล: ฝึกใช้เหตุผลในการตัดสินใจและเลือกวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสม การเปรียบเทียบ: ฝึกเปรียบเทียบข้อมูลและหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ การสรุป: ฝึกสรุปผลจากข้อมูลที่ได้ 3. สร้างสรรค์และนวัตกรรม: การคิดนอกกรอบ: ฝึกคิดหาแนวทางแก้ปัญหาใหม่ๆ ที่แตกต่าง การสร้างสรรค์ผลงาน:...

About ครูออฟ 1553 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.