จุดประสงค์การเรียนรู้
- อธิบายเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหา (K)
- วิเคราะห์ปัญหาและแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน (P)
- เห็นความสำคัญของวิธีการแก้ปัญหา (A)
คำศัพท์ที่ต้องรู้
คำศัพท์ | คำอ่าน | คำแปล |
---|---|---|
automatic | ออโทแมท ทิค | อัตโนมัติ |
development | ดิเวล เลิพเมินท์ | การพัฒนา |
electrical energy | อิเลค ทริเคิล เอนเนอร์จี | พลังงานไฟฟ้า |
loop | ลูพ | วนซ้ำ |
perſormance | เพอร์ฟอม เมินท์ | ประสิทธิภาพ |
problem | พรอบ เลิม | ปัญหา |
rules | รูล | กฎเกณฑ์ |
การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ (logical reasoning) เป็นการใช้เหตุผล เงื่อนไข หรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น เพื่อตรวจสอบความสมเหตุสมผลหรือความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ
ปัญหาบางปัญหามีวิธีการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนขึ้น จึงต้องใช้เงื่อนไขหรือใช้เหตุผลเชิงตรรกะมาช่วยในการแก้ปัญหา เช่น การเล่นเกมเขาวงกต เราต้องทำตามเงื่อนไขของเกม วิธีการเล่น คือ ใช้ดินสอลากเส้นจากต้นทางไปยังปลายทางโดยต้องไม่ยก
ดินสอออกจากกระดาษ การลากเส้นนั้นจะต้องให้เดินทางไปยังปลายทางได้สั้นที่สุดและไม่ชนกับผนัง
เกมที่มีความซับซ้อนมากขึ้นอาจเป็นเขาวงกตที่ซับซ้อนขึ้น หรือมีเงื่อนไขที่ต้องทำตามหลายเงื่อนไขเช่น เกมเขาวงกตคณิตศาสตร์ ดังภาพที่ 3 การหาเส้นทางจะต้องใช้การคิดเชิงคณิตศาสตร์ไปด้วย ผู้เล่นต้องลากเส้นให้กระต่ายเดินทางไปกิน
แครอตด้วยการนับจำนวนของตัวเลขตั้งแต่ 1ถึง 100
เกมอาจมีความซับซ้อนมากขึ้นอีก เช่น หาเส้นทางให้กบกระโดดไปยังสระน้ำ โดยเส้นทางนั้นจะเป็นการนับตั้งแต่ 4 ถึง 400 ซึ่งการนับแต่ละครั้งจะเพิ่มขึ้นครั้งละ 4
การฝึกคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน เป็นพื้นฐานสำหรับการพัฒนาสิ่งต่าง ๆในอนาคต เช่นถ้าเราต้องการเขียนโปรแกรมให้หุ่นยนต์เดินไปยังเป้าหมายในเขาวงกตเราต้องนำวิธีการคิดของเราและเงื่อนไขต่าง ๆ มาเปลี่ยนเป็นโปรแกรมสำหรับหุ่นยนต์
การใช้เหตุผล (reasoning) เป็นการคิดและอธิบายความคิดออกมาเป็นแผนงาน โดยแสดงวิธีการแก้ปัญหาเป็นลำดับขั้นตอน ทำให้มองเห็นวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างชัดเจน ซึ่งแต่ละขั้นตอนจะต้องพิจารณาเงื่อนไขหรือเหตุผลประกอบด้วยการแสดงขั้นตอนการแก้ปัญหาทำได้โดยการเขียน บอกเล่า วาดภาพ หรือใช้สัญลักษณ์
วิธีการแก้ปัญหาของแต่ละคนอาจมีวิธีการเหมือนกันหรือแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของแต่ละคน แต่เมื่อพิจารณาให้ละเอียดจะพบว่าการแก้ปัญหามีขั้นตอนที่คล้ายกัน 2 ขั้นตอน ดังนี้
1. การพิจารณาปัญหา คือ การทำความเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างละเอียดแล้วพิจารณาว่าปัญหามีองค์ประกอบอะไรบ้าง
2. การวางแผนแก้ปัญหา คือ การกำหนดขั้นตอน วิธีการแก้ปัญหา อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหา และระยะเวลาที่ใช้ในการแก้ปัญหา โดยการทำงานนี้อาจต้องทำซ้ำ ๆ จนแก้ปัญหาได้สำเร็จ
กิจกรรม
- ตรวจสอบไฟฉาย
- การพับกระดาษ A4
คลิป Youtube
สรุปเนื้อหาในบทเรียน
ปัญหาแต่ละปัญหามีวิธีการแก้ไขได้หลายวิธี การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนจะช่วยให้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้เหตุผล เงื่อนไข หรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้น เพื่อตรวจสอบความสมเหตุสมผลหรือความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ
Leave a Reply