กระบวนการทำงานวนซ้ำ ป.6

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

จุดประสงค์

  1. อธิบายกระบวนการทำงานแบบวนซ้ำ (K)   
  2. แก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการทำงานแบบวนซ้ำ (P)   
  3. เห็นประโยชน์ของกระบวนการทำงานแบบวนซ้ำ (A)

คำศัพท์ที่ต้องรู้

คำศัพท์คำอ่านคำแปล
automaticออโทแมท ทิคอัตโนมัติ
developmentดิเวล เลิพเมินท์การพัฒนา
electrical energyอิเลค ทริเคิล เอนเนอร์จีพลังงานไฟฟ้า
loopลูพวนซ้ำ
perſormanceเพอร์ฟอม เมินท์ประสิทธิภาพ
problemพรอบ เลิมปัญหา
rulesรูลกฎเกณฑ์

เกมหรือปัญหาหลายปัญหาจะทำงานแบบวนซ้ำและมีเงื่อนไขอยู่ภายในด้วยเช่น การค้นหาของในกล่องจนกว่าจะพบของที่ต้องการ การเก็บขยะต้องเก็บจนกว่าขยะจะหมด การปูกระเบื้องบนพื้นต้องปูจนกว่าจะเต็มพื้นที่ การทำงานแบบวนซ้ำจะทำงานวนซ้ำไปเรื่อย ๆ จนครบตามที่เงื่อนไขกำหนด

เก็บขยะ
เก็บขยะ

ตัวอย่างที่ 1 การเก็บขยะเมื่อเราต้องการเก็บขยะ จะต้องเก็บขยะในบริเวณนั้นไปเรื่อย ๆ จนกว่าขยะในบริเวณนั้นจะหมดหรือสะอาดโดยเขียนเป็นขั้นตอนหรือทางคอมพิวเตอร์เรียกว่า อัลกอริทึมและผังงานได้ ดังนี้
เริ่มต้น

1. เดินไปบริเวณที่มีขยะ
2. เก็บขยะ
3. นำขยะใส่ถังขยะ
4. ขยะบริเวณนั้นหมดจริงหรือไม่
4.1 ถ้าไม่จริง ไปทำข้อ 1
4.2 ถ้าจริงจบการทำงาน
จบ

อัลกอริทึม การเก็บขยะ

ตัวอย่างที่ 2 การปูกระเบื้องบนพื้นที่ว่างถ้าต้องการปูกระเบื้องเป็นสีเรียงกันไปเรื่อย ๆ คือ แดง น้ำเงิน เหลือง เขียว แดง น้ำเงิน เหลือง เขียว ดังภาพ

การปูกระเบื้องเรียงสกันไปเรื่อย ๆ
การปูกระเบื้องเรียงสกันไปเรื่อย ๆ

และต้องการปูกระเบื้องเรียงต่อกันไปเรื่อย ๆ เป็นจำนวน 15 แผ่น อยากทราบว่าแผ่นที่ 15 จะเป็นกระเบื้องสีอะไร

วิธีแก้ปัญหา
การแก้ปัญหานี้จะต้องพิจารณาปัญหาอย่างละเอียด คิดหาความสัมพันธ์ต่าง ๆ โดยการเรียงข้อมูลตามที่โจทย์กำหนดจะเป็นเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ของปัญหานี้ จากการปูกระเบื้องเราสามารถเขียนรูปแบบของกระเบื้องสีต่าง ๆ ให้เป็นข้อมูลอย่างง่ายได้ เช่น แทนสีกระเบื้องด้วยตัวเลข

สีของกระเบื้องหมายเลข
สีแดง1
สีน้ำเงิน2
สีเหลือง3
สีเขียว4

เมื่อพิจารณาปัญหานี้ต่อไป การปูกระเบื้องจะคล้ายกับการนับเลข 1, 2, 3, 4, 1, 2, 3, 4 โดยวนซ้ำไปเรื่อย ๆ จนครบ 15 ตัวเลข แล้วจะพบว่าการนับครั้งที่ 15 ตรงกับหมายเลข 3 ซึ่งหมายถึงกระเบื้องสีเหลืองนั่นเอง

ตัวอย่างที่ 3 ผึ้งเก็บน้ำหวาน
เราต้องการเขียนโปรแกรมสั่งงานให้ผึ้งเดินทางไปเก็บน้ำหวาน ดังภาพจะเขียนคำสั่งได้อย่างไร

ปริศนาการเดินทางของผึ้ง เก็บน้ำหวาน www.code.org

วิธีแก้ปัญหา
พิจารณาจากปัญหาของผึ้ง จะพบว่ามีน้ำหวานอยู่ที่ดอกไม้ 2 ตำแหน่ง แต่ละตำแหน่งต้องเก็บน้ำหวาน 2 ครั้ง โดยเขียนเป็นขั้นตอนหรือทางคอมพิวเตอร์เรียกว่าอัลกอริทึมได้ ดังนี้
เริ่มต้น 1. ไปข้างหน้า 2. เก็บน้ำหวาน 3. เก็บน้ำหวาน 4. ไปข้างหน้า 5. เก็บน้ำหวาน 6. เก็บน้ำหวาน จบ

จากอัลกอริทึมของปัญหานี้ สามารถเขียนอัลกอริทึมใหม่โดยการวนซ้ำได้และเขียนโปรแกรมแบบบล็อกคำสั่งได้ ดังนี้

เริ่มต้น

1. ทำซ้ำ 2 ครั้ง

1.1 ไปข้างหน้า

1.2 เก็บน้ำหวาน

1.3 เก็บน้ำหวาน

จบ

จากตัวอย่างที่ผ่านมา จะพบว่าปัญหาเดียวกันจะมีวิธีการแก้ปัญหาหรือวิธีการคิดต่างกัน การพัฒนาระบบที่ทำงานอัตโนมัติ หรือการพัฒนาให้หุ่นยนต์ทำงานแทนมนุษย์นั้น เราจะต้องเขียนอัลกอริทึมแล้วเปลี่ยนเป็นโปรแกรมสำหรับให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงาน โดยระบบที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะขึ้นอยู่กับวิธีการคิดที่ถูกต้องของมนุษย์ด้วย

ตัวอย่างที่ 4 ร้านขายกระเป๋าร้านหนึ่ง ขายกระเป๋าที่ทำด้วยมือแล้วนำมาวางขายหน้าร้าน โดยการทำกระเป๋านั้นจะมี 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ ทำกระเป๋า และทำสายสะพายโดยการทำกระเป๋าใช้เวลา 30 นาทีทำสายสะพายใช้เวลา 15 นาที ประกอบกระเป๋าเข้ากับสายสะพายใช้เวลา 10 นาที ถ้าร้านขายกระเป๋าร้านนี้ ต้องการทำกระเป๋าออกมาขายจำนวน 10 ใบ จะมีวิธีการอย่างไรบ้าง


การแก้ปัญหานี้ทำได้หลายวิธี แต่ละวิธีจะมีลำดับขั้นตอนที่ใช้เวลาแตกต่างกัน เช่น วิธีที่ 1 ทำกระเป๋า 10 ใบทำสายสะพาย 10 เส้น แล้วประกอบกระเป๋าที่ละใบ วิธีที่ 2 ทำกระเป๋า 10 ใบ ทำสายสะพาย 1 เส้น ประกอบกระเป๋าทีละใบแล้วกลับไปทำสายสะพายต่อ แล้วประกอบกระเป๋าจนครบ วิธีที่ 3 ทำกระเป๋า 1 ใบ ทำสายสะพาย 1 เส้น ประกอบกระเป๋า แล้วกลับไปเริ่มต้นทำอีกครั้งจนได้กระเป๋าครบ 10 ใบ

ตัวอย่างวิธีการที่กล่าวมานั้น การได้กระเป๋าแต่ละใบจะใช้เวลาต่างกัน แต่ถ้าพิจารณาแต่ละวิธีแล้ว พบว่าวิธีที่ 3 จะได้กระเป๋าใบแรกออกมาเร็วที่สุด ถ้ามีลูกค้าเข้ามาในร้านจะทำให้ขายได้เร็ว ดังนั้น จึงเลือกวิธีที่ 3 เพื่อให้ขายและได้เงินจากการขายแต่ละใบเร็วที่สุด โดยเขียนเป็นผังงานได้ ดังนี้

ผังงานแสดงขั้นตอนการทำกระเป๋า 10ใบ
ผังงานแสดงขั้นตอนการทำกระเป๋า 10ใบ

กระบวนการแก้ปัญหาสามารถใช้ได้ในหลายกรณี ทั้งในการวางแผนงานในชีวิตประจำวัน หรือการเล่นเกมต่าง ๆ การฝึกคิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบพิจารณาวิธีการต่างๆ จะเป็นประสบการณ์ในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้น

กิจกรรมที่ 1.2 แสดงวิธีการแก้ปัญหา

  1. ถ้าต้องการปูกระเบื้องเป็นพื้นที่กว้าง 25 เซนติเมตร ยาว 5 เมตร โดยกระเบื้องแต่ละแผ่นเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 25 เซนติเมตร x 25 เซนติเมตร และให้สีแต่ละแผ่นเรียงเป็นลำดับ ดังนี้ เขียว เหลือง น้ำตาล แดง เขียว เหลือง น้ำตาล แดง อยากทราบว่าจะต้องใช้กระเบื้องแต่ละสีจำนวนกี่แผ่น
  2. ถ้าผึ้งต้องการเดินทางไปเก็บน้ำหวาน ดังภาพซึ่งการเดินแต่ละบล็อกใช้เวลา2 วินาที การเก็บน้ำหวานแต่ละครั้งใช้เวลา 2 วินาที จงเขียนอัลกอริทึมของการแก้ปัญหานี้และผึ้งต้องใช้เวลาในการทำงานทั้งหมดเท่าไร

กิจกรรมที่ 1.3 สนุกกับเกมทายตัวเลข

นักเรียนจับคู่กับเพื่อนทายตัวเลขระหว่าง 1 ถึง 1,000,000 โดยคนหนึ่ง
เป็นผู้ตั้งโจทย์ อีกคนหนึ่งเป็นผู้ตั้งคำถามและตอบให้ถูกภายใน 20 คำถาม
1. นักเรียนตอบถูกภายในกี่คำถาม
2. นักเรียนมีวิธีการอย่างไรในการตั้งคำถาม

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิธีการปกป้องข้อมูลส่วนตัว

การปกป้องข้อมูลส่วนตัวเป็นเรื่องสำคัญที่เราทุกคนต้องเรียนรู้ เพื่อป้องกันไม่ให้คนที่ไม่หวังดีนำข้อมูลของเราไปใช้ในทางที่ไม่ดี เรามีวิธีหลายอย่างในการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของเรา วิธีการปกป้องข้อมูลส่วนตัว: ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวกับคนแปลกหน้า: ไม่บอกชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ให้กับคนที่เราไม่รู้จัก ไม่นัดเจอคนที่เราคุยด้วยทางอินเทอร์เน็ต หากไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง ระมัดระวังในการพูดคุยกับคนแปลกหน้าในเกมออนไลน์ หรือแอปพลิเคชันต่างๆ สร้างรหัสผ่านที่ปลอดภัย: ใช้รหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก โดยใช้ตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ผสมกัน ไม่ใช้รหัสผ่านเดียวกันในหลายบัญชี เก็บรักษารหัสผ่านเป็นความลับ ไม่บอกให้ใครรู้ ระมัดระวังในการใช้งานอินเทอร์เน็ต: ไม่คลิกลิงก์ หรือเปิดไฟล์แนบจากอีเมล หรือข้อความที่ไม่รู้จัก ไม่ดาวน์โหลดโปรแกรม หรือแอปพลิเคชันจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวในโซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชันต่างๆ บอกผู้ปกครองหรือคุณครู เมื่อเจอสิ่งผิดปกติ: หากมีคนแปลกหน้าทักมา หรือขอข้อมูลส่วนตัวของเรา หากเจอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม หรือน่ากลัวบนอินเทอร์เน็ต หากถูกกลั่นแกล้ง...

ทำไมเราต้องปกป้องข้อมูลส่วนตัว?

ข้อมูลส่วนตัวของเรานั้นสำคัญมาก เหมือนกับกุญแจที่ใช้เปิดบ้าน ถ้ามีคนที่ไม่หวังดีได้กุญแจไป เขาอาจจะเข้ามาในบ้านของเราและทำสิ่งที่ไม่ดีได้ ข้อมูลส่วนตัวก็เช่นกัน ถ้าคนที่ไม่หวังดีได้ข้อมูลส่วนตัวของเราไป เขาอาจจะนำไปใช้ในทางที่ไม่ดี ทำให้เราเดือดร้อนได้ เหตุผลที่เราต้องปกป้องข้อมูลส่วนตัว: ป้องกันการถูกแอบอ้าง: คนที่ไม่หวังดีอาจนำข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้แอบอ้างเป็นตัวเรา เช่น สมัครบัญชีออนไลน์ หรือทำธุรกรรมต่างๆ ในชื่อของเรา ทำให้เราต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เราไม่ได้ทำ ป้องกันการถูกหลอกลวง: คนที่ไม่หวังดีอาจใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการหลอกลวง เช่น ส่งอีเมลหรือข้อความหลอกลวงให้เราโอนเงิน หรือให้ข้อมูลส่วนตัวเพิ่มเติม ป้องกันการถูกกลั่นแกล้ง: คนที่ไม่หวังดีอาจใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ เช่น เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของเราให้คนอื่นรู้ หรือใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการสร้างข่าวลือที่ไม่ดี ป้องกันการถูกขโมยข้อมูล: คนที่ไม่หวังดีอาจขโมยข้อมูลส่วนตัวของเราไปขาย หรือนำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย ป้องกันอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน: ข้อมูลส่วนตัวบางอย่างเช่น...

ข้อมูลส่วนตัวคืออะไร?

ข้อมูลส่วนตัว คือ ข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนของเราได้ ข้อมูลเหล่านี้สำคัญมาก เพราะหากมีคนรู้ข้อมูลส่วนตัวของเรา อาจนำไปใช้ในทางที่ไม่ดีได้ ตัวอย่างข้อมูลส่วนตัว: ชื่อ-นามสกุล: ชื่อจริงและนามสกุลของเรา ที่อยู่: บ้านเลขที่ ถนน ตำบล อำเภอ จังหวัด รหัสไปรษณีย์ เบอร์โทรศัพท์: เบอร์โทรศัพท์บ้านหรือเบอร์โทรศัพท์มือถือของเรา วันเดือนปีเกิด: วัน เดือน และปีที่เราเกิด รูปภาพ: รูปถ่ายของเรา ข้อมูลโรงเรียน: ชื่อโรงเรียน ชั้นเรียน...

พัฒนาอินโฟกราฟิกให้ปัง! ด้วยการรับฟังและปรับปรุงผลงาน

ความสำคัญของการรับฟังความคิดเห็น: ช่วยให้เข้าใจมุมมองและความต้องการของผู้ฟัง ช่วยให้เห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของผลงาน ช่วยให้สามารถปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้น ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็น: 1. เปิดใจรับฟัง: ตั้งใจฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างตั้งใจ หลีกเลี่ยงการโต้แย้งหรือตัดสินความคิดเห็น 2. จดบันทึก: จดบันทึกความคิดเห็นที่สำคัญ เพื่อนำมาพิจารณา 3. วิเคราะห์ความคิดเห็น: แยกแยะความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ พิจารณาว่าความคิดเห็นใดที่สามารถนำมาปรับปรุงผลงานได้ 4. ปรับปรุงผลงาน: นำความคิดเห็นที่ได้มาปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้น ทดสอบผลงานที่ปรับปรุงแล้วกับกลุ่มเป้าหมาย 5. ขอบคุณผู้ให้ความคิดเห็น: แสดงความขอบคุณต่อผู้ที่ให้ความคิดเห็น แสดงให้เห็นว่าความคิดเห็นของพวกเขาได้รับการนำไปใช้ประโยชน์ เทคนิคการรับฟังความคิดเห็น: ตั้งคำถามปลายเปิด เพื่อให้ผู้ฟังแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ แสดงความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้ฟัง สรุปความคิดเห็นของผู้ฟัง เพื่อให้แน่ใจว่าเข้าใจถูกต้อง ขอคำแนะนำเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน การนำเสนอผลงาน และรับฟังความคิดเห็น หลังจากนำเสนอผลงาน Infographic เสร็จ ควรเปิดโอกาศให้ผู้ร่วมรับชมผลงานนั้น ได้แสดงความคิดเห็น จดบันทึกคำถาม และข้อสงสัยต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขผลงาน กิจกรรม: ให้นักเรียนนำเสนออินโฟกราฟิกที่ตนเองสร้าง และรับฟังความคิดเห็นจากเพื่อนๆ หรือครู ให้นักเรียนปรับปรุงอินโฟกราฟิกของตนเองตามความคิดเห็นที่ได้รับ ให้นักเรียนสะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นและการปรับปรุงผลงาน คำถามทบทวน: ทำไมการรับฟังความคิดเห็นจึงสำคัญ? มีขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นอย่างไร? มีเทคนิคอะไรบ้างในการรับฟังความคิดเห็น?...

About ครูออฟ 1711 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.