การแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ป.6

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การดำเนินการต่าง ๆ ในชีวิตของเรา บางเรื่องราวสามารถแก้ปัญหาได้หลายวิธี แต่ละวิธีจะมีประสิทธิภาพต่างกัน เช่น การเดินทางจากสถานที่หนึ่งไปยังสถานที่หนึ่ง การโดยสารรถประจำทางในบางจังหวัดมีรถหลายสาย แต่ไปจุดหมายปลายทางเดียวกันได้ รถแต่ละสายจะวิ่งเส้นทางไม่เหมือนกัน มีจุดจอดไม่เหมือนกัน ดังนั้น เราต้องเลือกเส้นทางที่เหมาะสมกับการเดินทางของเรา

แผนที่การเดินทางจากต้นทางถึงปลายทางที่แตกตำงกัน

ตัวอย่าง รถยนต์แต่ละคันอาจวิ่งด้วยความเร็วไม่เท่ากัน รถยนต์ที่วิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หมายความว่า 1 ชั่วโมงจะวิ่งไปได้ 50 กิโลเมตรถ้าระยะทาง 100 กิโลเมตรจะใช้เวลาวิ่ง 2 ชั่วโมง

ระยะทางที่รถยนต์A และ B วิ่งจากต้นทางถึงปลายทาง ด้วยความเร็วแตกต่างกัน

รถยนต์ Aวิ่งด้วยความเร็ว 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมงรถยนต์ Bวิ่งด้วยความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะทางจากต้นทางไปถึงปลายทางของรถยนต์ทั้ง 2 คัน เท่ากันคือ 400 กิโลเมตร และเส้นทางของรถยนต์ B มีจุดจอด P โดยรถยนต์ทุกคัน ที่ผ่านจุดนี้จะต้องจอดเป็นเวลา 1 ชั่วโมง การหาเวลาที่รถยนต์ทั้ง 2 คัน ต้องเดินทางจากต้นทางไปยังปลายทางจะทำได้ ดังนี้
รถยนต์ A ไม่มีจุดจอด ใช้เวลาเท่ากับ 400 กิโลเมตร / 50 กิโลเมตร
ต่อชั่วโมง = 8 ชั่วโมง
รถยนต์ B มีจุดจอดหนึ่งจุด (1) ใช้เวลาวิ่งจากจุดต้นทางไปยังจุดจอดเท่ากับ 300 / 100 = 3 ชั่วโมง (2) ใช้เวลาจอด 1 ชั่วโมง (3) ใช้เวลาวิ่งจากจุดจอดไปยังปลายทางเท่ากับ 100 / 100 = 1 ชั่วโมง
ดังนั้น เวลาที่รถยนต์ B วิ่งจากจุดต้นทางไปยังปลายทางคือ 3+1+1 = 5 ชั่วโมง

การแก้ปัญหาในบางเรื่องที่มีความซับซ้อน ต้องมีการทำซ้ำหลายๆ ครั้งเราอาจนำเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์มาใช้งานได้ เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถทำงานซ้ำ ๆ ได้ดี และทำงานตามโปรแกรมได้อย่างถูกต้อง โดยอาจเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมกับงานมาใช้ หรือเขียนโปรแกรมขึ้นมาใช้งานเอง ซึ่งการออกแบบโปรแกรมนั้นจะต้องออกแบบแนวทางการแก้ปัญหาให้ครบถ้วนทุกกรณี เช่นการพัฒนาโปรแกรมสำหรับคำนวณเวลาที่ใช้ในการเดินทาง โดยให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลระยะทางกับความเร็วในการเดินทางเข้าไป แล้วให้คอมพิวเตอร์คำนวณเวลาที่ต้องใช้ออกมา

ในการออกแบบโปรแกรมนั้นจะต้องรับข้อมูลทั้ง 2 ค่า เข้ามาเก็บในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ และเมื่อประมวลผลจะเก็บไว้ในหน่วยความจำเช่นกัน โดยข้อมูลต่าง ๆ จะเก็บไว้ในตัวแปร ถ้าให้ตัวแปร S แทนระยะทาง ตัวแปร V แทนความเร็วและตัวแปร T แทนเวลา
การประมวลผลสามารถเขียนวิธีการได้ ดังนี้

การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์

เริ่มต้น
1. รับค่าระยะทางมาเก็บใน S
2. รับค่าความเร็วมาเก็บใน V
3. คำนวณเวลาโดย T = S/V
4. แสดงผลเวลา T
จบ

กิจกรรมที่ 4 คำนวณการเดินทาง
นักเรียนแสดงวิธีคิดและตอบคำถามจากสถานการณ์ต่อไปนี้
รถประจำทาง 2 คัน ต้องเดินทางจากต้นทางไปยังปลายทาง มีระยะทางเท่ากัน คือ 180 กิโลเมตร โดยจะใช้คนละเส้นทางกัน ในแต่ละเส้นทางจะมีจุดจอด P รถต้องจอด 20 นาที และจุดจอด W รถต้องจอด 15 นาที รถคันที่ 1(เส้นทางสีน้ำเงิน) วิ่งด้วยความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รถคันที่ 2 (เส้นทางสีแดง) วิ่งด้วยความเร็ว 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีเส้นทาง ดังภาพ

แผนที่การเดินทางจากบ้านไปโรงเรียน
แผนที่การเดินทางจากบ้านไปโรงเรียน
  • รถประจำทางคันที่ 1 ใช้เวลาเดินทางเท่าไร
  • รถประจำทางคันที่ 2 ใช้เวลาเดินทางเท่าไร
  • รถประจำทางคันใดไปถึงปลายทางได้เร็วที่สุด และเร็วกว่ากี่นาที
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

แนวคิดเชิงนามธรรม: แกะเปลือกปัญหาเพื่อเข้าถึงแก่นแท้

แนวคิดเชิงนามธรรมเป็นมากกว่าการประเมินความสำคัญของปัญหา มันเป็นกระบวนการที่ช่วยให้เรา มองข้ามรายละเอียดปลีกย่อย เพื่อ เห็นภาพรวม หรือ แก่นแท้ ของปัญหาอย่างชัดเจนขึ้น ลองเปรียบเทียบกับการปอกผลไม้: เปลือกผลไม้: แทน รายละเอียดปลีกย่อย หรือข้อมูลที่ไม่จำเป็นต่อการแก้ปัญหา เนื้อผลไม้: คือ แก่นแท้ของปัญหา หรือข้อมูลที่สำคัญที่เราต้องการนำมาใช้ในการวิเคราะห์และแก้ไข ทำไมแนวคิดเชิงนามธรรมจึงสำคัญ? ช่วยให้เข้าใจปัญหาได้ง่ายขึ้น: เมื่อเราตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นออกไป จะทำให้เราเห็นภาพรวมของปัญหาได้ชัดเจนขึ้น และเข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาได้ง่ายขึ้น ช่วยให้แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ: เมื่อเราเข้าใจแก่นแท้ของปัญหาแล้ว ก็จะสามารถเลือกวิธีการแก้ไขที่เหมาะสมได้อย่างตรงจุด และประหยัดเวลาและทรัพยากรมากขึ้น ช่วยให้สื่อสารปัญหาได้อย่างชัดเจน:...

การใช้สื่อหรือแหล่งข้อมูลตามข้อตกลงการใช้: เข้าใจและปฏิบัติตามสัญญา Creative Commons

สัญญา Creative Commons (CC) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานสามารถกำหนดเงื่อนไขการใช้งานผลงานของตนได้อย่างชัดเจน โดยอนุญาตให้ผู้อื่นนำผลงานไปใช้ต่อได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามประเภทของสัญญา CC ทำไมต้องเข้าใจสัญญา Creative Commons? หลีกเลี่ยงการละเมิดลิขสิทธิ์: การใช้สื่อหรือแหล่งข้อมูลโดยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ อาจถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์และอาจถูกดำเนินคดีตามกฎหมายได้ ให้เครดิตผู้สร้าง: การให้เครดิตผู้สร้างตามที่กำหนดไว้ในสัญญา CC เป็นการแสดงความเคารพต่อผู้สร้างสรรค์ผลงาน ส่งเสริมการแบ่งปันความรู้: การใช้สื่อหรือแหล่งข้อมูลที่ได้รับอนุญาตภายใต้สัญญา CC ช่วยให้เกิดการเผยแพร่ความรู้และข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง ประเภทของสัญญา Creative Commons สัญญา...

ผลกระทบ แนวทางป้องกัน และวิธีการแก้ปัญหาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย

เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราอย่างแยกไม่ออก การใช้งานอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ นำมาซึ่งความสะดวกสบายและประสิทธิภาพในการทำงานและการสื่อสาร แต่ในขณะเดียวกันก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบในด้านลบหากเราไม่ระมัดระวังในการใช้งาน ผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ไม่ปลอดภัย การถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว: เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต ข้อมูลส่วนบุคคล อาจนำไปสู่การถูกหลอกลวงหรือการใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด การถูกแฮ็ก: ผู้ไม่ประสงค์ดีอาจเข้าควบคุมอุปกรณ์ของเราเพื่อขโมยข้อมูลหรือทำลายระบบ การถูกคุกคามทางออนไลน์: เช่น การถูกกลั่นแกล้ง การถูกคุกคาม หรือการถูกข่มขู่ การติดไวรัส: โปรแกรมที่เป็นอันตรายอาจเข้ามาทำลายระบบคอมพิวเตอร์หรือขโมยข้อมูล การเสพติดอินเทอร์เน็ต: การใช้เวลากับอุปกรณ์ดิจิทัลมากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและใจ แนวทางป้องกัน สร้างรหัสผ่านที่แข็งแกร่ง: ใช้รหัสผ่านที่ประกอบด้วยตัวอักษรตัวใหญ่ ตัวเล็ก...

วิธีการป้องกันความเป็นส่วนตัวและข้อมูลของตนเองในยุคดิจิทัล

ในยุคที่ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญและมีมูลค่าสูง การรักษาความเป็นส่วนตัวและปกป้องข้อมูลของตนเองจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ต่อไปนี้คือวิธีการป้องกันที่คุณสามารถทำได้: การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวบนโซเชียลมีเดียและแอปพลิเคชัน จำกัดการเข้าถึงข้อมูล: ปรับตั้งค่าความเป็นส่วนตัวให้แคบลง ใครบ้างที่สามารถเห็นโพสต์ รูปภาพ หรือข้อมูลส่วนตัวของคุณ ตรวจสอบแอปพลิเคชันที่ขออนุญาตเข้าถึงข้อมูล: ก่อนอนุญาตให้แอปพลิเคชันเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว เช่น สถานที่ตั้ง รายชื่อติดต่อ หรือรูปภาพ ควรพิจารณาให้รอบคอบว่าจำเป็นต้องให้สิทธิ์เหล่านั้นหรือไม่ ตรวจสอบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวเป็นประจำ: บริษัทเทคโนโลยีมักมีการปรับเปลี่ยนนโยบายความเป็นส่วนตัวอยู่เสมอ จึงควรตรวจสอบและปรับเปลี่ยนการตั้งค่าเป็นประจำ การสร้างรหัสผ่านที่แข็งแกร่ง หลีกเลี่ยงการใช้รหัสผ่านซ้ำ: ไม่ควรใช้รหัสผ่านเดียวกันสำหรับบัญชีต่างๆ สร้างรหัสผ่านที่ซับซ้อน: รวมตัวอักษรใหญ่เล็ก ตัวเลข และสัญลักษณ์ ใช้ตัวจัดการรหัสผ่าน: ช่วยในการจัดเก็บรหัสผ่านที่ซับซ้อนหลายรหัส การระวังภัยไซเบอร์ ระวังอีเมลขยะและลิงก์ที่น่าสงสัย:...

About ครูออฟ 1563 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.