หน่วยที่ 1 การแก้ไขปัญหา วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ใช้หนังสือเรียนสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอน และเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงานและการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม
ตัวชี้วัด ว 4.2 ป.4/1 ใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา การอธิบายการทำงาน การคาดการณ์ผลลัพธ์จากปัญหาอย่างง่าย
เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง การแก้ไขปัญหา แล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า
- การฝึกลำดับความคิด ทำให้มองเห็นปัญหาแต่ละปัญหา แล้วตัดสินใจแก้ปัญหาโดยใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา
- การเลือกวิธีการแก้ปัญหาในแต่ละปัญหา ควรพิจารณาเงื่อนไขของปัญหาที่ครอบคลุมทุกกรณี โดยใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
- ปัญหาบางปัญหามีวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลายวิธี ควรให้ความสำคัญของการแก้ปัญหาแต่ละวิธี เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหา แล้วใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
- ปัญหาบางปัญหาต้องพิจารณาให้รอบคอบ หรือคาดการณ์ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น การแก้ปัญหาด้วยวิธีที่แตกต่างกันจะทำให้ผลลัพธ์ที่ได้แตกต่างกันไปด้วย
- ขั้นตอนการแก้ปัญหาเป็นหลักการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ และให้ผลลัพธ์ที่ดี ซึ่งประกอบด้วย ระบุปัญหา รวบรวมข้อมูล วางแผนแก้ปัญหา แก้ปัญหา ทดสอบและประเมินผล นำไปใช้แก้ปัญหา ที่พบในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การออกแบบโปรแกรมการแก้ปัญหา เป็นการออกแบบขั้นตอนการแก้ปัญหาที่ควรออกแบบให้ครอบคลุมทุกกรณีตามเงื่อนไขที่โจทย์กำหนด และอาจนำขั้นตอนนี้ไปใช้ได้หลาย ๆ ครั้ง ตามต้องการ
- การเขียนโปรแกรมเป็นการสร้างลำดับของคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการ หากมีข้อผิดพลาดให้ตรวจสอบการทำงานทีละคำสั่ง เมื่อพบจุดที่ทำให้ผลลัพธ์ไม่ถูกต้องให้ทำการแก้ไขจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง
เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง การแก้ไขปัญหา แล้ว นักเรียนสามารถตอบคำถามต่อไปนี้
- นักเรียนมีวิธีการทำงานนี้วิธีใดอีกบ้าง วิธีการของนักเรียนดีอย่างไร
- การเลือกวิธีการแก้ปัญหา ควรพิจารณาอย่างไร
- นักเรียนจะมีแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร
- นักเรียนมีแนวทางการแก้ปัญหาการไปโรงเรียนสายของตนเองอย่างไร
- การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหามีประโยชน์อย่างไร
- จากตัวอย่างพาเด็กน้อยไปขึ้นจรวด จงบอกจำนวนครั้งของด่านที่ต้องผ่าน
- มีเส้นทางที่สั้นกว่านี้หรือไม่ ถ้ามีทำไมจึงไม่เลือกเส้นทางนั้น
- การแก้ปัญหาตามขั้นตอนการแก้ปัญหามีประโยชน์อย่างไร
- การออกแบบขั้นตอนการแก้ปัญหา สามารถนำไปใช้กับเรื่องใดได้บ้าง
- การออกแบบโปรแกรมการแก้ปัญหามีหลักการออกแบบอย่างไร
- เว็บไซต์ https://code.org มีประโยชน์อย่างไร
โครงสร้างหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 การแก้ปัญหา
เนื้อหาการเรียนรู้ หน่วยที่ 1 การแก้ไขปัญหา
- การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ไขปัญหา (4 ชั่วโมง)
- การฝึกลำดับความคิด (1 ชั่วโมง)
- การต้มมาม่า
- ชงนม/โอวัลติน
- บวกเลข
- เกมรอดชีวิต
- การเลือกวิธีการแก้ปัญหา (1 ชั่วโมง)
- วัดขนาดห้องเรียน
- เติมน้ำให้เต็มขวด
- แนวทางการแก้ปัญหา (1 ชั่วโมง)
- เดินทางไปโรงเรียน
- การคาดการณ์ผลลัพธ์ของปัญหา (1 ชั่วโมง)
- เกมส์ OX
- การฝึกลำดับความคิด (1 ชั่วโมง)
- ขั้นตอนการแก้ปัญหา (3 ชั่วโมง)
- รู้จักขั้นตอนการแก้ปัญหา (1 ชั่วโมง)
- ขั้นตอนแก้ไขปัญหา
- เด็กน้อยขึ้นจรวด
- การแก้ปัญหาตามขั้นตอนการแก้ปัญหา (2 ชั่วโมง)
- กล่องลูกบาศก์
- ปัญหาของฉัน
- รู้จักขั้นตอนการแก้ปัญหา (1 ชั่วโมง)
- การออกแบบโปรแกรมในการแก้ไขปัญหา (2 ชั่วโมง)
- การออกแบบขั้นตอนการแก้ปัญหา (1 ชั่วโมง)
- บัวรดน้ำ
- ประดิษฐ์กล่อง
- การออกแบบโปรแกรมการแก้ปัญหา (1 ชั่วโมง)
- เครื่องคำนวณตัวเลข 2 จำนวน
- การเขียนโปรแกรมให้ตัวละครสื่อสารระหว่างกัน
- การเขียนโปรแกรมให้ตัวละครสื่อสารระหว่างกัน
- การออกแบบขั้นตอนการแก้ปัญหา (1 ชั่วโมง)
ความรู้ฝังแน่น ความเข้าใจที่คงทน
- การใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา เป็นการนำกฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่ครอบคลุมทุกกรณี มาพิจารณาในการแก้ปัญหา การอธิบายการทำงาน หรือคาดการณ์ผลลัพธ์
- ขั้นตอนการแก้ปัญหาเป็นหลักการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพและให้ผลลัพธ์ที่ดี ซึ่งประกอบด้วย ระบุปัญหา รวบรวมข้อมูล วางแผนแก้ปัญหา แก้ปัญหา ทดสอบและประเมินผล
- การออกแบบโปรแกรมการแก้ปัญหา เป็นการออกแบบขั้นตอนการแก้ปัญหาที่ควรออกแบบให้ครอบคลุมทุกกรณีตามเงื่อนไขที่โจทย์กำหนด และอาจนำขั้นตอนนี้ไปใช้ได้หลาย ๆ ครั้งตามต้องการ
- การเขียนโปรแกรมเป็นการสร้างลำดับของคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามความต้องการ หากมีข้อผิดพลาดให้ตรวจสอบการทำงานทีละคำสั่ง เมื่อพบจุดที่ทำให้ผลลัพธ์ไม่ถูกต้อง ให้ทำการแก้ไขจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง
Leave a Reply