การค้นหาข้อมูลอย่างเป็นขั้นตอน

การค้นหาข้อมูลอย่างเป็นขั้นตอน
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การค้นหาข้อมูล

การค้นหาข้อมูล หมายถึง การสืบค้นข้อมูลที่ต้องการทราบบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่สามารถเข้าถึงได้สะดวกและรวดเร็ว โดยวิธีการค้นหาที่สามารถทำได้ง่ายและให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ จะต้องทำการค้นหาจากเว็บไซต์สำหรับค้นหาข้อมูลหรือเรียกว่า Search Engine Site ที่มีหน้าที่ในการรวบรวมรายชื่อของเว็บไซต์ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่ ทำให้ประหยัดเวลาในการใช้งานมากกว่าการค้นหาข้อมูลด้วยตนเอง

รายชื่อ Search Engine Site ที่นิยม

  • Google (www.google.com) – อันดับหนึ่งของโลก ในเกือบทุกๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทย
  • Bing (www.bing.com) – เป็นเว็บค้นหา ของบริษัท Microsoft คู่แข่งกับ Google โดยตรง
  • Yahoo (www.yahoo.com) – ตั้งแต่ ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา Yahoo ถูกซื้อกิจการโดย Bing (จาก Microsoft)
  • Ask.com (www.ask.com) – เว็บแสดงผลการค้นหา โดยเจาะจงที่คำถาม-คำตอบ มากกว่า How-to
  • AOL.com (www.aol.com) – เอโอแอล network ค้นหาข้อมูล ภายใต้เว็บไซต์ที่มีส่วนร่วม
  • Baidu (www.baidu.com) – ไป่ตู้ เป็นเว็บ Search Engine ประจำประเทศจีน มีบริการต่างๆ คล้ายกับ Google
  • Wolframalpha (www.wolframalpha.com) – เว็บไซต์สำหรับค้นหา ข้อเท็จจริง เอกสารวิชาการต่างๆ
  • DuckDuckGo (duckduckgo.com) – ผลการค้นหาคล้าย Google ข้อดีคือ หน้าตาสะอาด ไม่ค่อยมีโฆษณา
  • Internet Archive (archive.org) – เป็นเว็บรวมผลการค้นหา เว็บไซต์เก่า – เว็บไซต์ที่ปิดตัวไปแล้ว

ขั้นตอนการค้นหาข้อมูล

 ขั้นตอนการค้นหาข้อมูล  คือ  แนวทางหรือแผนซึ่งช่วยให้การค้นหาข้อมูล  ดำเนินไปอย่างมี ประสิทธิภาพด้วยความเรียบร้อย  ได้ข้อมูลตามความต้องการ  ถูกต้อง  ตรงความเป็นจริง  และนำไปใช้ประโยชน์ได้  มีขั้นตอนดังนี้

 1. กำหนดหัวข้อของข้อมูลที่ต้องการ

               เมื่อทราบเรื่องที่ต้องการค้นหาแล้ว  ต้องกำหนดหัวข้อของข้อมูลที่ต้องการ  เพื่อกำหนดขอบเขตหรือเป้าหมายของความต้องการให้ชัดเจน  ดังตัวอย่าง  การค้นหาข้อมูลเรื่อง  การเลี้ยงแมว  หัวข้อของข้อมูลที่ต้องการ  เช่น  ชื่อพันธุ์ของแมว ลักษณะนิสัย อาหาร การเลี้ยง

     2. เลือกแหล่งข้อมูล

               เป็นการกำหนดแหล่งที่ใช้ค้นหาข้อมูล  ให้เลือกแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้  เพราะเป็นแหล่งที่ให้ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นจริง

     3. เตรียมอุปกรณ์บันทึกข้อมูล

               เป็นการเตรียมอุปกรณ์บันทึกข้อมูล เช่น ปากกา  สมุด  ดินสอ  ยางลบ  เครื่องบันทึกเสียง  กล้องดิจิทัล

     4. รวบรวมข้อมูล

               เป็นการอ่าน  สังเกต  สัมภาษณ์  สอบถาม  ทดลอง  จากแหล่งข้อมูลที่คัดเลือกไว้  แล้วบันทึกข้อมูลที่ได้ตามหัวข้อที่กำหนด  พร้อมแหล่งที่มาของข้อมูล เพื่อใช้สำหรับการอ้างอิง

     5. พิจารณาข้อมูลและสรุปผล

               นำข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆมาพิจารณาเปรียบเทียบกันและสรุปผล

การทำป้ายนิเทศเพื่อนำเสนอข้อมูลที่ค้นหา
รูปที่ 1 การทำป้ายนิเทศเพื่อนำเสนอข้อมูลที่ค้นหา

แนวข้อสอบ

[ays_quiz id=”2″]
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิธีการปกป้องข้อมูลส่วนตัว

การปกป้องข้อมูลส่วนตัวเป็นเรื่องสำคัญที่เราทุกคนต้องเรียนรู้ เพื่อป้องกันไม่ให้คนที่ไม่หวังดีนำข้อมูลของเราไปใช้ในทางที่ไม่ดี เรามีวิธีหลายอย่างในการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของเรา วิธีการปกป้องข้อมูลส่วนตัว: ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวกับคนแปลกหน้า: ไม่บอกชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ให้กับคนที่เราไม่รู้จัก ไม่นัดเจอคนที่เราคุยด้วยทางอินเทอร์เน็ต หากไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง ระมัดระวังในการพูดคุยกับคนแปลกหน้าในเกมออนไลน์ หรือแอปพลิเคชันต่างๆ สร้างรหัสผ่านที่ปลอดภัย: ใช้รหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก โดยใช้ตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ผสมกัน ไม่ใช้รหัสผ่านเดียวกันในหลายบัญชี เก็บรักษารหัสผ่านเป็นความลับ ไม่บอกให้ใครรู้ ระมัดระวังในการใช้งานอินเทอร์เน็ต: ไม่คลิกลิงก์ หรือเปิดไฟล์แนบจากอีเมล หรือข้อความที่ไม่รู้จัก ไม่ดาวน์โหลดโปรแกรม หรือแอปพลิเคชันจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวในโซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชันต่างๆ บอกผู้ปกครองหรือคุณครู เมื่อเจอสิ่งผิดปกติ: หากมีคนแปลกหน้าทักมา หรือขอข้อมูลส่วนตัวของเรา หากเจอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม หรือน่ากลัวบนอินเทอร์เน็ต หากถูกกลั่นแกล้ง...

ทำไมเราต้องปกป้องข้อมูลส่วนตัว?

ข้อมูลส่วนตัวของเรานั้นสำคัญมาก เหมือนกับกุญแจที่ใช้เปิดบ้าน ถ้ามีคนที่ไม่หวังดีได้กุญแจไป เขาอาจจะเข้ามาในบ้านของเราและทำสิ่งที่ไม่ดีได้ ข้อมูลส่วนตัวก็เช่นกัน ถ้าคนที่ไม่หวังดีได้ข้อมูลส่วนตัวของเราไป เขาอาจจะนำไปใช้ในทางที่ไม่ดี ทำให้เราเดือดร้อนได้ เหตุผลที่เราต้องปกป้องข้อมูลส่วนตัว: ป้องกันการถูกแอบอ้าง: คนที่ไม่หวังดีอาจนำข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้แอบอ้างเป็นตัวเรา เช่น สมัครบัญชีออนไลน์ หรือทำธุรกรรมต่างๆ ในชื่อของเรา ทำให้เราต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เราไม่ได้ทำ ป้องกันการถูกหลอกลวง: คนที่ไม่หวังดีอาจใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการหลอกลวง เช่น ส่งอีเมลหรือข้อความหลอกลวงให้เราโอนเงิน หรือให้ข้อมูลส่วนตัวเพิ่มเติม ป้องกันการถูกกลั่นแกล้ง: คนที่ไม่หวังดีอาจใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ เช่น เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของเราให้คนอื่นรู้ หรือใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการสร้างข่าวลือที่ไม่ดี ป้องกันการถูกขโมยข้อมูล: คนที่ไม่หวังดีอาจขโมยข้อมูลส่วนตัวของเราไปขาย หรือนำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย ป้องกันอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน: ข้อมูลส่วนตัวบางอย่างเช่น...

ข้อมูลส่วนตัวคืออะไร?

ข้อมูลส่วนตัว คือ ข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนของเราได้ ข้อมูลเหล่านี้สำคัญมาก เพราะหากมีคนรู้ข้อมูลส่วนตัวของเรา อาจนำไปใช้ในทางที่ไม่ดีได้ ตัวอย่างข้อมูลส่วนตัว: ชื่อ-นามสกุล: ชื่อจริงและนามสกุลของเรา ที่อยู่: บ้านเลขที่ ถนน ตำบล อำเภอ จังหวัด รหัสไปรษณีย์ เบอร์โทรศัพท์: เบอร์โทรศัพท์บ้านหรือเบอร์โทรศัพท์มือถือของเรา วันเดือนปีเกิด: วัน เดือน และปีที่เราเกิด รูปภาพ: รูปถ่ายของเรา ข้อมูลโรงเรียน: ชื่อโรงเรียน ชั้นเรียน...

พัฒนาอินโฟกราฟิกให้ปัง! ด้วยการรับฟังและปรับปรุงผลงาน

ความสำคัญของการรับฟังความคิดเห็น: ช่วยให้เข้าใจมุมมองและความต้องการของผู้ฟัง ช่วยให้เห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของผลงาน ช่วยให้สามารถปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้น ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็น: 1. เปิดใจรับฟัง: ตั้งใจฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างตั้งใจ หลีกเลี่ยงการโต้แย้งหรือตัดสินความคิดเห็น 2. จดบันทึก: จดบันทึกความคิดเห็นที่สำคัญ เพื่อนำมาพิจารณา 3. วิเคราะห์ความคิดเห็น: แยกแยะความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ พิจารณาว่าความคิดเห็นใดที่สามารถนำมาปรับปรุงผลงานได้ 4. ปรับปรุงผลงาน: นำความคิดเห็นที่ได้มาปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้น ทดสอบผลงานที่ปรับปรุงแล้วกับกลุ่มเป้าหมาย 5. ขอบคุณผู้ให้ความคิดเห็น: แสดงความขอบคุณต่อผู้ที่ให้ความคิดเห็น แสดงให้เห็นว่าความคิดเห็นของพวกเขาได้รับการนำไปใช้ประโยชน์ เทคนิคการรับฟังความคิดเห็น: ตั้งคำถามปลายเปิด เพื่อให้ผู้ฟังแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ แสดงความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้ฟัง สรุปความคิดเห็นของผู้ฟัง เพื่อให้แน่ใจว่าเข้าใจถูกต้อง ขอคำแนะนำเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน การนำเสนอผลงาน และรับฟังความคิดเห็น หลังจากนำเสนอผลงาน Infographic เสร็จ ควรเปิดโอกาศให้ผู้ร่วมรับชมผลงานนั้น ได้แสดงความคิดเห็น จดบันทึกคำถาม และข้อสงสัยต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขผลงาน กิจกรรม: ให้นักเรียนนำเสนออินโฟกราฟิกที่ตนเองสร้าง และรับฟังความคิดเห็นจากเพื่อนๆ หรือครู ให้นักเรียนปรับปรุงอินโฟกราฟิกของตนเองตามความคิดเห็นที่ได้รับ ให้นักเรียนสะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นและการปรับปรุงผลงาน คำถามทบทวน: ทำไมการรับฟังความคิดเห็นจึงสำคัญ? มีขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นอย่างไร? มีเทคนิคอะไรบ้างในการรับฟังความคิดเห็น?...

About ครูออฟ 1711 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.