เทคโนโลยีสารสนเทศ

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทอย่างกว้างขวางในทุกวงการ และเทคโนโลยีสารสนเทศกลายเป็นเครื่องมือสำคัญของการทำงานทุกด้าน นับตั้งแต่ทางด้านการศึกษา พาณิชยกรรม เกษตรกรรม อุตสาหกรรม สาธารณสุข การวิจัยและพัฒนา ตลอดจนด้านการเมืองและราชการ อันที่จริงแล้วจะเห็นว่าไม่มีงานด้านใดที่ไม่มีผู้คิดประยุกต์หรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปช่วยให้การทำงานนั้น ๆ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น

ข้อมูลกับสารสนเทศ

ข้อมูล (Data) หมายถึง กลุ่มตัวอักขระที่เมื่อนำมารวมกันแล้วมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งและมีสำคัญควรค่าแก่การจัดเก็บเพื่อนำไปใช้ในโอกาสต่อ ๆ ไป ข้อมูลมักเป็นข้อความที่อธิบายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจเป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่สามารถนำไปประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ได้ (ทักษิณา สวนานนท์ และฐานิศรา เกียรติบารมี 2546: 165)

สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ ที่ได้รับการสรุป คำนวณ จัดเรียง หรือประมวลแล้วจากข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ จนได้เป็นข้อความรู้ เพื่อนำมาเผยแพร่และใช้ประโยชน์ในงานด้านต่าง ๆ (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี 2538: 3)

หมวดหมู่ของข้อมูล (Data Catagory)
รูปที่ 1 หมวดหมู่ของข้อมูล (Data Catagory)
ที่มา https://www.iok2u.com/index.php/article/information-technology/1364-data-governance-data-catagory

ข้อมูลและสารสนเทศนับว่ามีประโยชน์ต่อการนำไปใช้บริหารงานด้านต่าง ๆ มากมาย อาทิเช่น

1. ด้านการวางแผน สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการวางแผนเกี่ยวกับการจัดการองค์การ การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ กระบวนการผลิตสินค้า การตลาด เป็นต้น
2. ด้านการตัดสินใจ สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการตัดสินใจเพื่อเลือกแนวทางหรือทางเลือกที่มีปัญหาน้อยที่สุดในการแก้ปัญหาต่าง ๆ การมีสารสนเทศที่สมบูรณ์ ทันสมัย และครบถ้วนจะช่วยให้การตัดสินใจถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. ด้านการดำเนินงาน สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ เช่น ใช้เพื่อควบคุมหรือติดตามผลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology: IT) หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technologies: ICTs) ก็คือ เทคโนโลยีสองด้านหลัก ๆ ที่ประกอบด้วยเทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อใช้ในกระบวนการจัดหา จัดเก็บ สร้าง และเผยแพร่สารสนเทศในรูปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหวข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
รูปที่ 2 ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ที่มา https://sites.google.com/site/thipthanyaswc/khwam-hmay-khxng-thekhnoloyi-sarsnthes

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

มี 5 ประการ (Souter 1999: 409) ได้แก่

ประการแรก การสื่อสารถือเป็นสิ่งจำเป็นในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ สิ่งสำคัญที่มีส่วนในการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ประกอบด้วย Communications media, การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecoms), และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) 
ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากไปกว่าโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ เช่น แฟกซ์, อินเทอร์เน็ต, อีเมล์ ทำให้สารสนเทศเผยแพร่หรือกระจายออกไปในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก
ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลให้การใช้งานด้านต่าง ๆ มีราคาถูกลง 
ประการที่สี่ เครือข่ายสื่อสาร (Communication networks) ได้รับประโยชน์จากเครือข่ายภายนอก เนื่องจากจำนวนการใช้เครือข่าย จำนวนผู้เชื่อมต่อ และจำนวนผู้ที่มีศักยภาพในการเข้าเชื่อมต่อกับเครือข่ายนับวันจะเพิ่มสูงขึ้น
ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำให้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และต้นทุนการใช้ ICT มีราคาถูกลงมาก

องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
รูปที่ 3 องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ที่มา https://sites.google.com/site/computeratchariya/xngkh-prakxb-khxng-rabb-sarsnthes

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นอาจกล่าวได้ว่าประกอบขึ้นจากเทคโนโลยีสองสาขาหลักคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม สำหรับรายละเอียดพอสังเขปของแต่ละเทคโนโลยีมีดังต่อไปนี้คือ

1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า ซอฟต์แวร์ (Software) (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2546: 4)

ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ

อุปกรณ์รับข้อมูล (Input) เช่น แผงแป้นอักขระ (Keyboard), เมาส์, เครื่องตรวจกวาดภาพ (Scanner), จอภาพสัมผัส (Touch Screen), ปากกาแสง (Light Pen), เครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Strip Reader), และเครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader)

อุปกรณ์ส่งข้อมูล (Output) เช่น จอภาพ (Monitor), เครื่องพิมพ์ (Printer), และเทอร์มินัล

หน่วยประมวลผลกลาง จะทำงานร่วมกับหน่วยความจำหลักในขณะคำนวณหรือประมวลผล โดยปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการดึงข้อมูลและคำสั่งที่เก็บไว้ไว้ในหน่วยความจำหลักมาประมวลผล

หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เก็บข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเพื่อใช้ในการคำนวณ และผลลัพธ์ของการคำนวณก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์ส่งข้อมูล รวมทั้งการเก็บคำสั่งขณะกำลังประมวลผล

หน่วยความจำสำรอง ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมขณะยังไม่ได้ใช้งาน เพื่อการใช้ในอนาคตซอฟต์แวร์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นมากในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

ซอฟต์แวร์ระบบ มีหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ระบบสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิดใหญ่ คือ 
1. โปรแกรมระบบปฏิบัติการ ใช้ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์พ่วงต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กัน ในปัจจุบัน เช่น UNIX, DOS, Microsoft Windows
2. โปรแกรมอรรถประโยชน์ ใช้ช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระหว่างการประมวลผลข้อมูลหรือในระหว่างที่ใช้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน เช่น โปรแกรมเอดิเตอร์ (Editor)
3. โปรแกรมแปลภาษา ใช้ในการแปลความหมายของคำสั่งที่เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ และทำงานตามที่ ผู้ใช้ต้องการ

ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อทำงานเฉพาะด้านตามความต้องการ ซึ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์นี้สามารถแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
1. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่องานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานทั่วไปไม่เจาะจงประเภทของธุรกิจ ตัวอย่าง เช่น Word Processing, Spreadsheet, Database Management เป็นต้น
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในธุรกิจเฉพาะ ตามแต่วัตถุประสงค์ของการนำไปใช้3. ซอฟต์แวร์ประยุกต์อื่น ๆ เป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อความบันเทิง และอื่น ๆ นอกเหนือจากซอฟต์แวร์ประยุกต์สองชนิดข้างต้น ตัวอย่าง เช่น Hypertext, Personal Information Management และซอฟต์แวร์เกมต่าง ๆ เป็นต้น 

2. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม

เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารรับ/ส่งข้อมูลจากที่ไกล ๆ เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice)
เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder) ดังแผนภาพต่อไปนี้ คือ
สำหรับกลไกหลักของการสื่อสารโทรคมนาคมมีองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน ได้แก่ ต้นแหล่งของข้อความ (Source/Sender), สื่อกลางสำหรับการรับ/ส่งข้อความ (Medium), และส่วนรับข้อความ (Sink/Decoder) ดังแผนภาพต่อไปนี้ คือ

นอกจากนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น 6 รูปแบบ ดังนี้ต่อไปนี้ คือ
1. เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เช่น ดาวเทียมถ่ายภาพทางอากาศ, กล้องดิจิทัล, กล้องถ่ายวีดีทัศน์, เครื่องเอกซเรย์ ฯลฯ
2. เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล จะเป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เช่น เทปแม่เหล็ก, จานแม่เหล็ก, จานแสงหรือจานเลเซอร์, บัตรเอทีเอ็ม ฯลฯ
3. เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ได้แก่ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
4. เทคโนโลยีที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูล เช่น เครื่องพิมพ์, จอภาพ, พลอตเตอร์ ฯลฯ
5. เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม
6. เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูล ได้แก่ ระบบโทรคมนาคมต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์, วิทยุกระจายเสียง, โทรเลข, เทเล็กซ์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งระยะใกล้และไกล

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
รูปที่ 4 ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ที่มา https://sites.google.com/site/sasiya571031241/khwam-hmay-laea-khwam-sakhay-khxng-thekhnoloyi-sarsnthes

สามารถอธิบายความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้ (จอห์น ไนซ์บิตต์ อ้างถึงใน ยืน ภู่วรวรรณ)

ประการที่หนึ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์
ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว
ประการที่สี่ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
ประการที่หก เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น
กล่าวโดยสรุปแล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ

แนวข้อสอบ

[ays_quiz id=”3″]
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สาระสำคัญของการเรียนรู้การออกแบบอัลกอริทึมในระดับชั้น ม.1

การเรียนรู้การออกแบบอัลกอริทึมในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถือเป็นการปูพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณและการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัลนี้ ทำไมต้องเรียนรู้การออกแบบอัลกอริทึม? พัฒนากระบวนการคิด: การออกแบบอัลกอริทึมช่วยฝึกให้เด็กคิดเป็นขั้นเป็นตอน วิเคราะห์ปัญหา และหาทางแก้ไขได้อย่างเป็นระบบ เตรียมพร้อมสำหรับอนาคต: ทักษะการออกแบบอัลกอริทึมเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรม และการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์: การออกแบบอัลกอริทึมมีหลายวิธี เด็กๆ สามารถคิดค้นวิธีการแก้ปัญหาที่แตกต่างกันได้ พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกัน: การทำงานกลุ่มในการออกแบบอัลกอริทึมช่วยให้เด็กเรียนรู้การทำงานร่วมกันและการสื่อสาร อัลกอริทึมคืออะไร? อัลกอริทึมก็เหมือนกับสูตรอาหารหรือคู่มือการประกอบเฟอร์นิเจอร์ คือชุดคำสั่งที่ระบุขั้นตอนในการทำงานอย่างชัดเจน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น อัลกอริทึมในการต้มไข่ต้มก็คือ 1. นำไข่ใส่หม้อ...

สาระสำคัญของการฝึกฝนการแก้ปัญหาอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพในระดับชั้น ม.1

การฝึกฝนให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีทักษะการแก้ปัญหาอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้นักเรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการทำงานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำไมต้องฝึกฝนทักษะการแก้ปัญหา? พัฒนากระบวนการคิด: ช่วยให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ปัญหา แยกแยะประเด็นสำคัญ และวางแผนแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพิ่มความมั่นใจ: เมื่อนักเรียนสามารถแก้ปัญหาได้เอง จะส่งผลให้มีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น เตรียมพร้อมสำหรับอนาคต: ทักษะการแก้ปัญหาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น และการทำงานในสายอาชีพต่างๆ ส่งเสริมการเรียนรู้แบบอัตโนมัติ: การแก้ปัญหาจะทำให้นักเรียนค้นพบวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเองมากขึ้น วิธีการฝึกฝน จัดกิจกรรมที่ท้าทาย: ให้โจทย์ปัญหาที่หลากหลายและซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ สอนวิธีการคิดแบบมีระบบ: แนะนำขั้นตอนการแก้ปัญหา เช่น การกำหนดปัญหา การหาข้อมูล...

สาระสำคัญของการฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีตรรกะในระดับชั้น ม.1

การฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีตรรกะในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นับเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักเรียน ทักษะเหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนสามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อน วิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ และตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และการทำงานในอนาคต เหตุผลที่ต้องฝึกฝนทักษะเหล่านี้ในระดับชั้น ม.1 พัฒนากระบวนการคิด: ช่วยให้นักเรียนพัฒนากระบวนการคิดที่เป็นระบบ มีขั้นตอนในการแก้ปัญหา เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้: ทำให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ดีขึ้น เข้าใจเนื้อหาได้ลึกซึ้ง เตรียมความพร้อมสำหรับการศึกษาต่อ: เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งต้องใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน พัฒนาทักษะการสื่อสาร: ช่วยให้นักเรียนสามารถสื่อสารความคิดเห็นของตนเองได้อย่างชัดเจนและมีเหตุผล เสริมสร้างความมั่นใจ: การฝึกฝนทำให้เกิดความมั่นใจในการแก้ปัญหาและตัดสินใจ วิธีการฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดอย่างมีตรรกะ ตั้งคำถาม: สอนให้นักเรียนตั้งคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการคิดวิเคราะห์ หาเหตุผลสนับสนุน: ฝึกให้นักเรียนหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดเห็นของตนเอง เปรียบเทียบและหาความแตกต่าง:...

สาระสำคัญของการเรียนรู้แนวคิดพื้นฐานของการคิดเชิงคำนวณ ระดับชั้น ม.1

การเรียนรู้แนวคิดพื้นฐานของการคิดเชิงคำนวณ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นับเป็นการปูพื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งในการเตรียมความพร้อมให้นักเรียนเข้าสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกวงการ สาระสำคัญที่นักเรียนจะได้เรียนรู้มีดังนี้ 1. เข้าใจกระบวนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ: การวิเคราะห์ปัญหา: เรียนรู้ที่จะแยกแยะปัญหาออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อให้เข้าใจปัญหาได้อย่างชัดเจน การออกแบบอัลกอริทึม: ฝึกคิดขั้นตอนในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ การเขียนรหัสลำลอง: ฝึกเขียนคำอธิบายขั้นตอนการแก้ปัญหาเป็นภาษาที่คนทั่วไปเข้าใจ การทดสอบและปรับปรุง: เรียนรู้ที่จะตรวจสอบผลลัพธ์และแก้ไขข้อผิดพลาด 2. พัฒนาทักษะการคิดเชิงตรรกะ: การใช้เหตุผล: ฝึกใช้เหตุผลในการตัดสินใจและเลือกวิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสม การเปรียบเทียบ: ฝึกเปรียบเทียบข้อมูลและหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ การสรุป: ฝึกสรุปผลจากข้อมูลที่ได้ 3. สร้างสรรค์และนวัตกรรม: การคิดนอกกรอบ: ฝึกคิดหาแนวทางแก้ปัญหาใหม่ๆ ที่แตกต่าง การสร้างสรรค์ผลงาน:...

About ครูออฟ 1553 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.