การค้นหาข้อมูล ป.4

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

การใช้คำค้นที่ตรงประเด็น กระชับ จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วและตรงตามความต้องการ พิจารณา   เปรียบเทียบข้อมูลของเนื้อหาที่ได้จากการสืบค้น แล้วเลือกข้อมูลที่มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กันในการนำข้อมูลมาใช้

การค้นหาข้อมูลที่สนใจบนอินเทอร์เน็ตนั้น เราจะต้องพิมพ์ที่อยู่ของเว็บไซต์ลงไปในโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ หากไม่ทราบชื่อเว็บไซต์หรือที่อยู่ของเว็บไซต์ เราสามารถนำเว็บไซต์สืบค้นข้อมูลมาใช้งานได้เว็บไซต์สืบค้นข้อมูลที่ได้รับความนิยม คือ เว็บไซต์ Google
เว็บไซต์หรือเครื่องมือที่ใช้สืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เรียกว่าSearch Engine เครื่องมือนี้สามารถใช้ค้นหาข้อมูลได้มากมาย เมื่อเปิดเว็บไซต์ https://www.google.co.th ขึ้นมา หน้าจอของเว็บไซต์จะเป็น ดังนี้

หน้าจอของเว็บ google.co.th
รูปที่ 1 หน้าจอของเว็บ google.co.th

เว็บไซต์ Google นี้เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้กันทั่วโลก หากเราอยู่ในประเทศไทยแล้วเปิดเครื่องมือนี้ขึ้นมา โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์จะไปที่
https://www.google.co.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่มีคำสั่งต่างๆ เป็นภาษาไทย ในการใช้งานเพียงพิมพ์ข้อความหรือคำที่ต้องการค้นหาลงไปในพื้นที่สำหรับพิมพ์คำสืบค้นข้อมูล ก็จะมีข้อมูลปรากฏให้เห็น เช่น ต้องการค้นหาด้วยคำว่า “เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

การพิมพ์คำค้นด้วยเว็บไซต์ google
รูปที่ 2 การพิมพ์คำค้นด้วยเว็บไซต์ google

เมื่อพิมพ์ข้อความลงไปแล้ว คลิกเมาส์ “ค้นหาด้วย Google” หรือกด Enter ที่คีย์บอร์ด โปรแกรมจะแสดงเว็บไซต์ต่างๆ ออกมา ดังภาพ

การแสดงข้อมูลจากการค้นหาบนเว็บไซต์ Google
รูปที่ 3 การแสดงข้อมูลจากการค้นหาบนเว็บไซต์ Google

การค้นหาข้อมูลนั้นจะใช้คำที่เราพิมพ์เข้าไปแล้วระบบจะค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคำนั้นหากใช้คำที่มีความหมายกว้างเกินไป ข้อมูลที่ได้อาจจะเป็นข้อมูลที่มีความหมายกว้างๆ ดังนั้นเราควรใช้คำที่ตรงประเด็น กระชับจะทำให้ได้ผลลัพธ์จากการค้นหาที่รวดเร็ว และตรงตามความต้องการตัวอย่าง นักเรียนกำลังศึกษาเรื่องแม่เหล็ก และสนใจเกี่ยวกับแรงของแม่เหล็ก
หากนักเรียนใช้คำค้นว่า “แรง” สิ่งที่ได้จะเป็นความหมายกว้าง ๆ เกี่ยวกับแรงต่าง ๆ แต่หากนักเรียนระบุให้ตรงประเด็นว่า “แรงแม่เหล็ก” สิ่งที่ได้จะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแรงของแม่เหล็กโดยตรง

ผลลัพธ์การใช้คำว่า "แรง" ในการค้นหา
รูปที่ 4 ผลลัพธ์การใช้คำว่า “แรง” ในการค้นหา
ผลลัพธ์การใช้คำว่า "แรงแม่เหล็ก" ในการค้นหา
รูปที่ 5 ผลลัพธ์การใช้คำว่า “แรงแม่เหล็ก” ในการค้นหา

การใช้คำค้นที่ตรงประเด็น กระชับ จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วและตรงตามความต้องการ พิจารณา เปรียบเทียบข้อมูลของเนื้อหาที่ได้จากการสืบค้น แล้วเลือกข้อมูลที่มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กันในการนำข้อมูลมาใช้

หากต้องการค้นหาภาพ เว็บไซต์ Google สามารถค้นหาได้เช่นกันโดยพิมพ์คำหรือข้อความที่ต้องการค้นหา แล้วคลิกเมาส์เลือก ค้นรูป สิ่งที่ได้จะปรากฎภาพที่เกี่ยวข้องขึ้นมา

หากเราสนใจภาพใดให้คลิกเมาส์เลือกที่ภาพนั้น เช่น สนใจภาพสนามแม่เหล็ก

หากเราต้องการเก็บภาพไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำได้โดยคลิกเมาส์ขวาภาพที่เลือก จากนั้นบันทึกไว้ในโฟลเดอร์ที่ต้องการ ตามขั้นตอน ดังนี้

  1. คลิกเมาส์ขวาภาพที่เลือกจะปรากฎหน้าต่างคำสั่งออกมา ให้คลิกเมาส์เลือกคำสั่ง Save image as…
  1. คลิกเมาส์เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บข้อมูลแล้วคลิกเมาส์เลือกปุ่ม Open
  2. คลิกเมาส์เลือกปุ่ม Save ภาพที่เลือกจะบันทึกไว้ในโฟลเดอร์

การค้นหาภาพ สามารถค้นหาได้โดยการพิมพ์คำหรือข้อความที่ต้องการค้นหา แล้วคลิกเมาส์เลือกค้นรูป หน้าเว็บไซต์จะปรากฏภาพที่เกี่ยวข้องกับคำที่ค้นหาขึ้นมา

จะเห็นว่าเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลจะแสดงข้อมูล หรือเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องมากมาย หากเราสนใจเว็บไซต์ใด สามารถคลิกเมาส์เข้าไปดูได้ทันที ซึ่งบนอินเทอร์เน็ตมีข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ อยู่มากมาย ทุกคนสามารถเข้ามาเขียนข้อมูลได้ และข้อมูลต่าง ๆ เหล่านั้นเป็นไปได้ที่ข้อมูลเรื่องเดียวกันอาจจะมีเนื้อหาที่แตกต่างกัน ซึ่งการนำข้อมูลมาใช้จะต้องพิจารณาถึงผู้ที่สร้างเว็บไซต์ หรือนำเสนอข้อมูลนั้นด้วยการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้อาจประเมินจากประเภทของเว็บไซต์ หากเป็นของหน่วยงานราชการสำนักข่าว หรือองค์กรต่าง ๆ ความน่าเชื่อถืออาจจะมากกว่าเว็บไซต์ที่สร้างโดยบุคคลทั่วไป จึงต้องพิจารณาถึงผู้เขียนหรือผู้ให้ข้อมูลด้วย นอกจากนี้เมื่อเวลาผ่านไปข้อมูลต่างๆ อาจต้องปรับให้ทันสมัย ดังนั้นเราควรพิจารณาถึงวันที่ที่เผยแพร่ข้อมูลนั้นด้วย
ตัวอย่าง หากนักเรียนต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับรุงเทพมหานครโดยใช้คำค้นว่า “กรุงเทพมหานคร” จะพบข้อมูลต่าง ๆ มากมาย แต่ข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้มากที่สุด คือ เว็บไซต์ของหน่วยงานราชการของกรุงเทพมหานครโดยตรง

การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับกรุงเทพมหานคร
รูปที่ 6 การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับกรุงเทพมหานคร

ข้อมูลต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตนั้นบางเว็บไซต์เขียนเป็นภาษาวิชาการบางเว็บไซต์เขียนเป็นภาษาพูด รวมทั้งภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว หากนำมาใช้อาจต้องปรับให้เหมาะสม นำข้อมูลมาเรียบเรียง หรือสรุปให้เป็นภาษาของตนเอง และเป็นภาษาที่เหมาะสมกับการนำเสนอ เช่น การนำข้อมูลและภาพมาทำเป็นรายงาน จะต้องนำข้อมูลทั้งหมดมาเรียบเรียงให้เป็นภาษาสำหรับผู้อ่านรายงานนั้นด้วย และต้องอ้างอิงที่มา หรือแหล่งที่เก็บข้อมูลนั้นด้วย
ตัวอย่าง นักเรียนนำข้อมูลหรือข่าวสารมาจากเว็บไซต์ของ อพวช. นักเรียนจะต้องระบุด้วยว่า ข้อมูลจาก www.nsm.or.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์ขององค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เมื่อวันที่ เดือน พ.ศ.

เว็บไซต์ของ อพวช.
รูปที่ 7 เว็บไซต์ของ อพวช.

การค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ควรเลือกจากเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ จากหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ มากกว่าเว็บไซต์บุคคลทั่วไป และเมื่อต้องการใช้ข้อมูลควรอ้างอิงที่มาหรือแหล่งเก็บข้อมูลนั้นด้วย

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.