หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ป.5

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

เมื่อนักเรียนศึกษา เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น แล้วนักเรียนสามารถบอกได้ว่า

  1. การทำงานของคอมพิวเตอร์จะรับข้อมูลเข้ามา จากนั้นประมวลผลแล้วส่งข้อมูลออกไป โดยการรับ ข้อมูลจะรับผ่านทางหน่วยรับเข้า เช่น แป้นพิมพ์ เมาส์ แล้วมาประมวลผลด้วยหน่วยประมวลผลกลาง หรือซีพียู แล้วส่งข้อมูลออกมาทางหน่วยส่งออก เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ เสียง
  2. คอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่งหรืออัลกอริทึมที่กำหนดการให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างถูกต้องนั้น ต้องออกแบบอัลกอริทึมให้สมบูรณ์ โดยตรวจสอบเงื่อนไขให้ครอบคลุมทุกกรณี แล้วจึงพัฒนาเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ถ้าทำงานผิดพลาดหรือมีส่วนใดที่ทำงานไม่สมบูรณ์ เราสามารถปรับปรุงอัลกอริทึมได้แล้วจึงแก้ไขโปรแกรมต่อไป
  3.  สำหรับปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น การเขียนโปรแกรมอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ การตรวจสอบ ข้อผิดพลาดอาจทำได้โดยทดลองตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมทีละขั้นตอน หรือทีละคำสั่ง เมื่อพบจุดที่ทำงานไม่ถูกต้องให้ทำการแก้ไขจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง
  4.  การเขียนโปรแกรมเบื้องต้นมีเครื่องมือสำหรับเขียนโปรแกรมมากมาย โปรแกรมสแครช (Scratch)  เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่นำมาฝึกเขียนโปรแกรมได้ง่าย โดยการออกแบบอัลกอริทึมแล้วนำบล็อกคำสั่งที่เกี่ยวข้องมาวางเพื่อให้โปรแกรมทำงาน
  5. การเขียนโปรแกรมข้อมูลนำเข้าของโปรแกรม คือ การกดคีย์ลูกศร ซึ่งเป็นไปได้ 2 คีย์ โดยมีการทำงานแตกต่างกัน และตัวละครจะเคลื่อนที่ตามข้อมูลนำเข้า หรือคีย์ที่กด
  6. ในการออกแบบการเขียนโปรแกรมให้ตัวละครเคลื่อนที่ได้จริง ต้องพิจารณาการเคลื่อนที่ของตัวละครให้เดินออกไปเป็นระยะ ๆ จนครบหน่วยที่กำหนด จะทำให้การเคลื่อนที่ของตัวละครดูสวยงามมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถเปลี่ยนรูปร่างไปด้วยได้
  7.  การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ประมวลผลข้อมูลมักมีการประกาศตัวแปร สำหรับเก็บข้อมูลที่รับเข้าไปประมวลผล หรือเก็บข้อมูลที่ได้จากการประมวลผล
  8. การเขียนโปรแกรม Scratch ในการสร้างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสจะใช้คำสั่งการวางปากกา โดยให้โปรแกรมวาดรูปตามที่เราต้องการ โดยการใช้บล็อกคำสั่งและการกำหนดค่าต่าง ๆ
  9. การเขียนโปรแกรมเพื่อตรวจสอบค่าตัวเลขที่รับเข้าทางแป้นพิมพ์ว่าตัวเลขนั้นเป็นเลขคู่หรือเลขคี่ โปรแกรมลักษณะนี้สามารถใช้ Scratch เขียนได้เช่นกัน
  10. น้ำหนักของคนเราแต่ละคนจะไม่เท่ากัน หากจะพิจารณาว่าใครหนักกว่าใคร หรือใครอ้วนกว่าใครจะพิจารณาจากน้ำหนักเพียงอย่างเดียวไม่ได้ แต่จะต้องพิจารณาถึงน้ำหนักและส่วนสูงไปพร้อมกัน ซึ่งสามารถคำนวณได้โดยการนำ 22.9 คูณกับความสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง

เมื่อนักเรียน ศึกษาเรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น แล้ว นักเรียนสามารถตอบคำถามต่อไปนี้ได้

  1. การทำงานของคอมพิวเตอร์ หากเปรียบเทียบกับการทำงานของร่างกายเราจะเปรียบได้กับอวัยวะใดบ้าง
  2. อัลกอริทึมมีความสำคัญอย่างไรกับการออกแบบการทำงานของการเขียนโปรแกรม
  3. นักเรียนจะเขียนโปรแกรมอย่างไรไม่ให้เกิดความผิดพลาด หรือถ้าเกิดก็มีความผิดพลาดน้อยที่สุด
  4. ถ้านักเรียนเขียนโปรแกรมแล้วเกิดปัญหาโปรแกรมไม่ทำงานตามที่เราเขียน นักเรียนจะมีวิธีการตรวจสอบความผิดพลาดของโปรแกรมอย่างไร
  5. การใช้งานโปรแกรม Scratch มีกี่รูปแบบ อะไรบ้าง
  6. การกำหนดให้ตัวละครเคลื่อนที่เป็น –100 และ 100 ต่างกันอย่างไร
  7. ถ้านักเรียนต้องการให้แมวเคลื่อนที่แบบสวยงาม โดยเคลื่อนที่ไปทางซ้ายเมื่อกดคีย์ลูกศรชี้ไปทางซ้าย และเคลื่อนที่ไปทางขวาเมื่อกดคีย์ลูกศรชี้ไปทางขวา นักเรียนจะเขียนโปรแกรมอย่างไร
  8. การเขียนโปรแกรมให้ตัวละครเคลื่อนที่แล้วเปลี่ยนรูปร่างและฉากหลังไปเรื่อย ๆ มีผลดีอย่างไร
  9. ทำไมจึงกำหนดตัวแปรในการเขียนโปรแกรม
  10. หากนักเรียนต้องการให้โปรแกรมการลบของตนเองมีความน่าสนใจ นักเรียนจะเขียนโปรแกรมอย่างไร
  11. การเขียนโปรแกรมการสร้างเครื่องคิดเลขอย่างง่ายด้วยการคูณ มีประโยชน์อย่างไร
  12. นักเรียนจะทำอย่างไรให้โปรแกรมเครื่องคิดเลขของนักเรียนมีความสมบูรณ์แบบ
  13. ถ้านักเรียนต้องการให้วาดรูปสามเหลี่ยม นักเรียนจะออกแบบอัลกอริทึมสำหรับเขียนโปรแกรม อย่างไร
  14. นักเรียนคิดว่าโปรแกรม Scratch สามารถเขียนโปรแกรมให้ตรวจสอบเลขคู่และเลขคี่ได้จริงหรือไม่
  15. นักเรียนคำนวณหาค่าความสมส่วนของร่างกายเราอย่างไร
รายละเอียดวันที่สอน
แผนการจัดการเรียนรู้ที่   1  เรื่อง การทำงานของคอมพิวเตอร์
แผนการจัดการเรียนรู้ที่   2  เรื่อง การออกแบบอัลกอริทึม
แผนการจัดการเรียนรู้ที่   3  เรื่อง การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
แผนการจัดการเรียนรู้ที่   4  เรื่อง การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม
แผนการจัดการเรียนรู้ที่   5  เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch
แผนการจัดการเรียนรู้ที่   6  เรื่อง การเขียนโปรแกรมควบคุมการเคลื่อนที่ของตัวละคร
แผนการจัดการเรียนรู้ที่   7  เรื่อง การเขียนโปรแกรมให้ตัวละครเคลื่อนที่เหมือนจริง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่   8  เรื่อง การแต่งเติมภาพเคลื่อนไหว
แผนการจัดการเรียนรู้ที่   9  เรื่อง ตัวแปรและการเขียนโปรแกรมการสร้างเครื่องคิดเลขอย่างง่าย (การบวก)
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10  เรื่อง การเขียนโปรแกรมการสร้างเครื่องคิดเลขอย่างง่าย (การลบ)
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 11  เรื่อง การเขียนโปรแกรมการสร้างเครื่องคิดเลขอย่างง่าย (การคูณ)
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 12  เรื่อง การเขียนโปรแกรมการสร้างเครื่องคิดเลขอย่างง่าย (การหาร)
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 13  เรื่อง การเขียนโปรแกรม Scratch ในการสร้างรูปเรขาคณิต
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 14  เรื่อง การเขียนโปรแกรมตรวจสอบเลขคู่และเลขคี่
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 15  เรื่อง การเขียนโปรแกรมคำนวณความสมส่วนของร่างกาย

เนื้อหาการศึกษา หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ป.5

  1. การทำงานของคอมพิวเตอร์
    • หน่วยรับข้อมูล
    • หน่วยประมวลผล
    • หน่วยความจำ
    • หน่วยแสดงผลข้อมูล
  2. การออกแบบอัลกอริทึม
    • การปลูกต้นไม้
    • พิจารณาผลการเรียน
  3. การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
    • เว็บ www.code.org
  4. การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม
  5. การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch
    • หน้าตาโปรแกรม Scratch
    • กลุ่มคำสั่งโปรแกรม Scratch
    • ตำแหน่งของตัวละคร (พิกัด)
  6. การเขียนโปรแกรมควบคุมการเคลือนที่ของตัวละคร (Sprite)
    • การกดปุ่มบน Keyboard เพื่อให้ ตัวละคร เคลื่อนที่
  7. การเขียนโปรแกรมให้ตัวละครให้เคลือนที่เหมือนจริง
    • การเดินของตัวละคร (Sprite)
  8. การแต่งเติมภาพเคลื่อนไหว
    • การเปลี่ยนฉาก Stage
  9. ตัวแปรและการเขียนโปรแกรมการสร้างเครื่องคิดเลขอย่างง่าย (การบวก)
    • ตัวแปร
    • การบวกเลขสองจำนวน
  10. การเขียนโปรแกรมการสร้างเครื่องคิดเลขอย่างง่าย (การลบ)
    • การลบเลขสองจำนวน
  11. การเขียนโปรแกรมการสร้างเครื่องคิดเลขอย่างง่าย (การคูณ)
    • การคูณเลขสองจำนวน
  12. การเขียนโปรแกรมการสร้างเครื่องคิดเลขอย่างง่าย (การหาร)
    • การหารเลขสองจำนวน
  13. การเขียนโปรแกรม Scratch ในการสร้างรูปเรขาคณิต
    • สามเหลี่ยม
    • สี่เหลี่ยม
    • วงกลม
  14. การเขียนโปรแกรมตรวจสอบเลขคู่เลขคี่
    • การหารเอาเศษ Moduration (MOD)
  15. การเขียนโปรแกรมคำนวณความสมส่วนของร่างกาย
    • ดัชนีมวลกาย BMI
    • น้ำหนักที่เหมาะสม
คลิปการสอนโดย-kruaof-by-youtube
คลิปการสอนโดย-kruaof-by-youtube
ติดตามช่อง-kruaof-คลิกที่นี่
ติดตามช่อง-kruaof-คลิกที่นี่
ใบงาน กิจกรรม แบบฝึกปฏิบัติ

การวัดผลประเมินผล

มาตรฐานตัวชี้วัดคะแนนเก็บคะแนนปลายภาค
ว4.2ป.5/2 ออกแบบ และเขียนโปรแกรมที่มีการใช้เหตุผลเชิงตรรกะอย่างง่าย ตรวจหาข้อผิดพลาดและแก้ไข73
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิธีการสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดี

การสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดีเป็นสิ่งสำคัญมากในยุคปัจจุบัน เพราะโซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว การใช้โซเชียลมีเดียอย่างมีสติและสร้างสรรค์ จะช่วยให้เราได้รับประโยชน์สูงสุดและหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบ นี่คือวิธีการสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดี: 1. กำหนดเวลา: ตั้งเวลา: กำหนดเวลาที่ชัดเจนสำหรับการใช้โซเชียลมีเดียแต่ละครั้ง เช่น 1 ชั่วโมงต่อวัน ใช้แอปพลิเคชันช่วย: มีแอปพลิเคชันมากมายที่ช่วยในการติดตามและจำกัดเวลาการใช้งานโซเชียลมีเดีย 2. สร้างกิจวัตร: หาอะไรทำ: หากิจกรรมอื่นๆ ที่สนใจทำ เช่น อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย พบปะเพื่อน เพื่อลดเวลาที่ใช้ไปกับโซเชียลมีเดีย วางแผนวัน: วางแผนกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน...

วิธีจัดการกับความรู้สึก FOMO (Fear of Missing Out) บนโซเชียลมีเดีย

ความรู้สึก FOMO หรือกลัวว่าจะพลาดอะไรดีๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวบนโซเชียลมีเดียนั้นเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่การปล่อยให้ความรู้สึกนี้ครอบงำชีวิตประจำวันมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตได้ ดังนั้น มาลองดูวิธีจัดการกับความรู้สึก FOMO กันค่ะ 1. ตระหนักถึงความเป็นจริง: ภาพที่เห็นบนโซเชียลมีเดียไม่ใช่ชีวิตจริงทั้งหมด: สิ่งที่เราเห็นบนโซเชียลมีเดียส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของคนอื่นๆ การเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นๆ บนโซเชียลมีเดียอาจทำให้เรารู้สึกด้อยค่า ทุกคนมีช่วงเวลาที่ดีและไม่ดี: ไม่มีใครมีความสุขตลอดเวลา การเห็นคนอื่นมีความสุขตลอดเวลาบนโซเชียลมีเดียอาจทำให้เรารู้สึกว่าชีวิตของตัวเองไม่ดีพอ 2. จำกัดเวลาในการใช้โซเชียลมีเดีย: กำหนดเวลา: ตั้งเวลาที่แน่นอนสำหรับการใช้โซเชียลมีเดียแต่ละครั้ง สร้างกิจวัตร: หากิจกรรมอื่นๆ ที่สนใจทำ...

ปัญหาการติดโซเชียลมีเดีย: ภัยเงียบที่คุกคามชีวิตประจำวัน

การติดโซเชียลมีเดีย กลายเป็นปัญหาที่พบเห็นได้บ่อยในยุคดิจิทัล ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้คนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพจิต สังคม และการทำงาน การใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไปอาจนำไปสู่ปัญหาต่างๆ ดังนี้ ผลกระทบต่อสุขภาพจิต ความเครียดและวิตกกังวล: การเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นบนโซเชียลมีเดียอาจนำไปสู่ความรู้สึกไม่ดีต่อตนเองและก่อให้เกิดความเครียด ภาวะซึมเศร้า: การใช้เวลากับโซเชียลมีเดียมากเกินไปอาจทำให้ขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในชีวิตจริง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า การนอนไม่หลับ: การใช้โทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตก่อนนอนซึ่งมีแสงสีฟ้าจะรบกวนการหลับพักผ่อน ความรู้สึกโดดเดี่ยว: แม้จะมีเพื่อนมากมายบนโซเชียลมีเดีย แต่การขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในชีวิตจริงอาจทำให้รู้สึกโดดเดี่ยว ผลกระทบต่อสังคม ความสัมพันธ์ส่วนตัว: การใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับโซเชียลมีเดียอาจทำให้ความสัมพันธ์กับครอบครัวและเพื่อนฝูงเสื่อมลง ผลการเรียน: นักเรียนที่ใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไปอาจมีสมาธิในการเรียนลดลงและผลการเรียนตกต่ำ ประสิทธิภาพในการทำงาน: การตรวจสอบโซเชียลมีเดียบ่อยครั้งขณะทำงานจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ผลกระทบต่อสุขภาพกาย ปัญหาสายตา: การจ้องหน้าจอมือถือเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการตาแห้ง ปวดตา และสายตาสั้น ปวดคอและไหล่:...

วิธีการใช้โซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัย

การใช้โซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว แต่ก็มีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ หากเราไม่ระมัดระวังในการใช้งาน ดังนั้น มาดูวิธีการใช้โซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัยกันค่ะ 1. ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว จำกัดผู้ที่สามารถเห็นโพสต์: เลือกให้เฉพาะเพื่อนหรือกลุ่มคนที่คุณไว้วางใจเท่านั้นที่สามารถเห็นโพสต์ของคุณได้ ปรับการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของแต่ละแอป: แต่ละแอปจะมีการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวที่แตกต่างกันไป ควรศึกษาและปรับตั้งค่าให้เหมาะสมกับความต้องการของคุณ ตรวจสอบการตั้งค่าบ่อยๆ: โซเชียลมีเดียอาจมีการปรับเปลี่ยนการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวอยู่เสมอ ควรตรวจสอบเป็นประจำ 2. สร้างรหัสผ่านที่แข็งแรง หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูลส่วนตัว: อย่าใช้วันเกิด ชื่อสัตว์เลี้ยง หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ มาเป็นรหัสผ่าน ใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกัน: สำหรับแต่ละบัญชีโซเชียลมีเดีย ควรใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกัน เปิดใช้งานการยืนยันตัวตนสองชั้น: เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเข้าสู่ระบบ 3. ระวังการคลิกลิงก์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบ...

About ครูออฟ 1606 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.