หน่วยที่ 3 การค้นหาข้อมูล ป.5

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง การค้นหาข้อมูล แล้วนักเรียนสามารถบอกได้ว่า

  1. อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้มากมาย โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์นอกจากจะใช้พิมพ์เอกสาร ตกแต่งภาพ วาดภาพ สร้างงานการนำเสนอ การใช้คอมพิวเตอร์ในการติดต่อสื่อสารต่าง ๆ ยังเป็นอีกความสามารถหนึ่งที่มีประโยชน์ทั้งด้านการเรียน การทำงาน
  2. การเริ่มใช้อินเทอร์เน็ตครั้งแรก ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอยู่แล้วจะต้องใช้โปรแกรมสำหรับเปิดเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ต โปรแกรมนี้เรียกว่า เว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งมีอยู่หลายโปรแกรม เช่น Internet Explorer หรือ Google Chrome ที่จะใช้ในการค้นหาข้อมูล
  3. อินเทอร์เน็ตมีประโยชน์มากมาย ทำให้การติดต่อสื่อสารสะดวกมากขึ้น สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว การแลกเปลี่ยนความคิดทำได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในงาน ด้านการศึกษา ด้านธุรกิจ จนเกิดเทคโนโลยีต่าง ๆ ขึ้นอีกมากมาย เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ สื่อสังคมออนไลน์
  4. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า อีเมล (e-mail) เป็นบริการประเภทหนึ่ง บนอินเทอร์เน็ต การใช้งานมีผู้ให้บริการฟรี หรือที่เรียกว่า ฟรีอีเมล โดยเข้าไปในเว็บไซต์แล้วสมัครใช้งาน เช่น Gmail Hotmail หรือ Windows Live นอกจากนี้ยังมีอีเมลของหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมาเฉพาะอีกด้วย
  5. การสมัครใช้งานอีเมลของผู้ให้บริการแต่ละแห่งอาจแตกต่างกันไป แต่สิ่งที่มักเหมือนกันคือ ต้องกรอกข้อมูลส่วนตัว ป้อนชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่าน ซึ่งข้อมูลนี้เป็นข้อมูลที่สำคัญ สามารถใช้ยืนยันตัวตนได้ และเมื่อสมัครเข้าใช้งานแล้วเราสามารถส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือข้อมูลที่เราต้องการได้อย่างหลากหลาย
  6. ในการส่งข้อมูลต่าง ๆ ผ่านทาง Gmail นั้น นอกจากจะใช้พิมพ์ข้อความส่งหากันแล้ว ยังสามารถแนบไฟล์งานต่าง ๆ ได้ เช่น ไฟล์ภาพ ไฟล์เวิร์ด ไฟล์เพาเวอร์พอยต์
  7. การสื่อสารบนอินเทอร์เน็ตนอกจากจะใช้อีเมลแล้ว ยังมีสื่อสังคมออนไลน์ที่เราสามารถใช้ในการ นำเสนอข้อมูลแลกเปลี่ยนความคิดต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก เราสามารถสื่อสารกับเพื่อน ๆ ได้อย่างรวดเร็ว สามารถโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ เพียงมีอุปกรณ์ที่ต่ออยู่กับอินเทอร์เน็ต สื่อสังคมออนไลน์มีหลายชนิด สำหรับชนิดที่ให้บริการฟรีและมีผู้ใช้จำนวนมาก เช่น เฟซบุ๊ก (Facebook)
  8. เฟซบุ๊กเป็นบริการฟรีที่สามารถใช้ในการติดต่อสื่อสาร เพื่อสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโพสต์ภาพ ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว หรือวิดีโอ อีกทั้งยังสามารถส่งไฟล์งานต่าง ๆ ผ่านทางเฟซบุ๊ก ได้อีกด้วย และยังมีฟังก์ชันการใช้งานต่าง ๆ อย่างมากมาย
  9. การนัดหมายกับเพื่อน ๆ หรือประชาสัมพันธ์กิจกรรมในห้องเรียน สามารถตรวจสอบเวลาว่าง ของเพื่อน ๆ ว่าติดงานอื่นหรือไม่ ในเวลาที่เรานัดสามารถใช้บริการของสื่อต่าง ๆ ได้ เช่น Google

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง การค้นหาข้อมูล แล้ว นักเรียนสามารถตอบคำถามต่อไปนี้ได้

  1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่นักเรียนรู้จักหรือเคยใช้งานมีอะไรบ้าง
  2. นักเรียนจะค้นหาข้อมูลที่ต้องการอย่างไรให้สะดวกและรวดเร็ว
  3. ถ้าไม่มีคอมพิวเตอร์ นักเรียนจะใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศใดในการค้นหาข้อมูล
  4. ในชีวิตประจำวันนักเรียนใช้การติดต่อสื่อสารอินเทอร์เน็ตในช่องทางใดบ้าง
  5. นักเรียนคิดว่าจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ดีหรือไม่ อย่างไร
  6. นอกจากการใช้ Gmail ในการพิมพ์ข้อความส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แล้ว นักเรียนคิดว่า Gmail สามารถส่งไฟล์หรืองานต่าง ๆ ในรูปแบบใดได้อีกบ้าง
  7. หากนักเรียนไปทำการลงชื่อเข้าใช้งานในคอมพิวเตอร์จากที่อื่น หลังจากการใช้งานควรทำอย่างไร
  8. หากต้องการส่งไฟล์ภาพยนตร์ 1 เรื่อง โดยใช้ Gmail นักเรียนคิดว่าจะส่งไฟล์ได้หรือไม่ อย่างไร
  9. นอกจากการสื่อสารผ่านทางอีเมลแล้ว นักเรียนคิดว่ามีช่องทางการสื่อสารอื่นอีกหรือไม่ อย่างไร
  10. การติดต่อสื่อสารผ่านทางออนไลน์ด้วยการสนทนาโดยการแชต และการสนทนาแบบเห็นหน้า หรือการวิดีโอคอล ต่างกันอย่างไร
  11. การสร้างตารางนัดหมายหรือประชาสัมพันธ์โดยใช้บริการ Google มีประโยชน์อย่างไร
รายละเอียดวันที่สอน
แผนการจัดการเรียนรู้ที่   1  เรื่อง เครือข่ายคอมพิวเตอร์
แผนการจัดการเรียนรู้ที่   2  เรื่อง การค้นหาข้อมูล : 1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่   3  เรื่อง การค้นหาข้อมูล : 2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่   4  เรื่อง การติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต
แผนการจัดการเรียนรู้ที่   5  เรื่อง การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
แผนการจัดการเรียนรู้ที่   6  เรื่อง การสมัครใช้งาน Gmail และการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
แผนการจัดการเรียนรู้ที่   7  เรื่อง การส่งข้อมูลทาง Gmail โดยการแนบไฟล์
แผนการจัดการเรียนรู้ที่   8  เรื่อง การติดต่อสื่อสารผ่านสังคมออนไลน์
แผนการจัดการเรียนรู้ที่   9  เรื่อง การติดต่อสื่อสารผ่านทางออนไลน์โดยใช้เฟซบุ๊ก
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10  เรื่อง การสร้างตารางนัดหมายหรือประชาสัมพันธ์โดยใช้บริการ Google

เนื้อหาการเรียนรู้ หน่วยที่ 3 การค้นหาข้อมูล

  1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์
    • อินเทอร์เน็ต
    • ยุคของคอมพิวเตอร์
    • ประโยชน์จากการใช้อินเทอร์เน็ต
  2. การค้นหาข้อมูล
    • ประเภทของข้อมูล
    • โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์
    • ค้นหาข้อมูลแบบเจาะจงและไม่เจาะจง
    • ค้นหารูปภาพ
    • อ้างอิงแหล่งข้อมูล
  3. การติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต
    • ความหมายการติดต่อสื่อสาร
    • การติดต่อสื่อสารในอดีตและปัจจุบัน
    • ข้อดี และข้อเสียของการติดต่อสื่อสารในอดีตและปัจจุบัน
  4. การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
    • ความหมายการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
    • สมัคร Gmail
    • การส่ง mail ถึงกัน
    • วิเคราะห์ปัญหาการที่เกิดจากการส่ง Mail
    • ข้อดีและข้อเสีย การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
  5. การสมัครใช้งาน Gmail และการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
    • สมัคร Gmail
    • ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ทักทายเพื่อน ๆ
  6. การส่งข้อมูลทาง Gmail โดยการแนบไฟล์
  7. การติดต่อสื่อสารผ่านสังคมออนไลน์
    • แอปพลิเคชันที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต
    • สัญลักษณ์เกี่ยวกับสื่อที่เป็นบริการติดต่อสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต
    • การสมัครเข้าใช้งานเฟซบุ๊ก
    • ประโยชน์ของบริการเฟซบุ๊ก
    • ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการติดต่อสื่อสารผ่านสังคมออนไลน์
  8. การติดต่อสื่อสารผ่านทางออนไลน์โดยใช้เฟซบุ๊ก
    • สมัครเข้าใช้งานเฟซบุ๊ก
    • สนทนาแนะนำตนเองผ่านทางเฟซบุ๊กด้วยการพิมพ์แชต
    • สนทนาแนะนำตนเองผ่านทางเฟซบุ๊กด้วยวิดีโอคอล
  9. การสร้างตารางนัดหมายหรือประชาสัมพันธ์โดยใช้บริการ Google
    • การสร้างตารางนัดหมายด้วยปฏิทิน
    • ประโยชน์ของการสร้างตารางนัดหมายหรือประชาสัมพันธ์โดยใช้บริการ Google
คลิปการสอนโดย-kruaof-by-youtube
คลิปการสอนโดย-kruaof-by-youtube
ติดตามช่อง-kruaof-คลิกที่นี่
ติดตามช่อง-kruaof-คลิกที่นี่
  • EP21 เครือข่ายคอมพิวเตอร์
  • EP22 การค้นหาข้อมูล : 1
  • EP23 การค้นหาข้อมูล : 2
  • EP24 การติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต
  • EP25 การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
  • EP26 การสมัครใช้งาน Gmail และการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
  • EP27 การส่งข้อมูลทาง Gmail โดยการแนบไฟล์
  • EP28 การติดต่อสื่อสารผ่านสังคมออนไลน์
  • EP29 การติดต่อสื่อสารผ่านทางออนไลน์โดยใช้เฟซบุ๊ก
  • EP30 การสร้างตารางนัดหมายหรือประชาสัมพันธ์โดยใช้บริการ Google
ใบงาน กิจกรรม แบบฝึกปฏิบัติ
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิธีการปกป้องข้อมูลส่วนตัว

การปกป้องข้อมูลส่วนตัวเป็นเรื่องสำคัญที่เราทุกคนต้องเรียนรู้ เพื่อป้องกันไม่ให้คนที่ไม่หวังดีนำข้อมูลของเราไปใช้ในทางที่ไม่ดี เรามีวิธีหลายอย่างในการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของเรา วิธีการปกป้องข้อมูลส่วนตัว: ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวกับคนแปลกหน้า: ไม่บอกชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ให้กับคนที่เราไม่รู้จัก ไม่นัดเจอคนที่เราคุยด้วยทางอินเทอร์เน็ต หากไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง ระมัดระวังในการพูดคุยกับคนแปลกหน้าในเกมออนไลน์ หรือแอปพลิเคชันต่างๆ สร้างรหัสผ่านที่ปลอดภัย: ใช้รหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก โดยใช้ตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ผสมกัน ไม่ใช้รหัสผ่านเดียวกันในหลายบัญชี เก็บรักษารหัสผ่านเป็นความลับ ไม่บอกให้ใครรู้ ระมัดระวังในการใช้งานอินเทอร์เน็ต: ไม่คลิกลิงก์ หรือเปิดไฟล์แนบจากอีเมล หรือข้อความที่ไม่รู้จัก ไม่ดาวน์โหลดโปรแกรม หรือแอปพลิเคชันจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวในโซเชียลมีเดีย และแอปพลิเคชันต่างๆ บอกผู้ปกครองหรือคุณครู เมื่อเจอสิ่งผิดปกติ: หากมีคนแปลกหน้าทักมา หรือขอข้อมูลส่วนตัวของเรา หากเจอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม หรือน่ากลัวบนอินเทอร์เน็ต หากถูกกลั่นแกล้ง...

ทำไมเราต้องปกป้องข้อมูลส่วนตัว?

ข้อมูลส่วนตัวของเรานั้นสำคัญมาก เหมือนกับกุญแจที่ใช้เปิดบ้าน ถ้ามีคนที่ไม่หวังดีได้กุญแจไป เขาอาจจะเข้ามาในบ้านของเราและทำสิ่งที่ไม่ดีได้ ข้อมูลส่วนตัวก็เช่นกัน ถ้าคนที่ไม่หวังดีได้ข้อมูลส่วนตัวของเราไป เขาอาจจะนำไปใช้ในทางที่ไม่ดี ทำให้เราเดือดร้อนได้ เหตุผลที่เราต้องปกป้องข้อมูลส่วนตัว: ป้องกันการถูกแอบอ้าง: คนที่ไม่หวังดีอาจนำข้อมูลส่วนตัวของเราไปใช้แอบอ้างเป็นตัวเรา เช่น สมัครบัญชีออนไลน์ หรือทำธุรกรรมต่างๆ ในชื่อของเรา ทำให้เราต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เราไม่ได้ทำ ป้องกันการถูกหลอกลวง: คนที่ไม่หวังดีอาจใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการหลอกลวง เช่น ส่งอีเมลหรือข้อความหลอกลวงให้เราโอนเงิน หรือให้ข้อมูลส่วนตัวเพิ่มเติม ป้องกันการถูกกลั่นแกล้ง: คนที่ไม่หวังดีอาจใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ เช่น เผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของเราให้คนอื่นรู้ หรือใช้ข้อมูลส่วนตัวของเราในการสร้างข่าวลือที่ไม่ดี ป้องกันการถูกขโมยข้อมูล: คนที่ไม่หวังดีอาจขโมยข้อมูลส่วนตัวของเราไปขาย หรือนำไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย ป้องกันอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน: ข้อมูลส่วนตัวบางอย่างเช่น...

ข้อมูลส่วนตัวคืออะไร?

ข้อมูลส่วนตัว คือ ข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนของเราได้ ข้อมูลเหล่านี้สำคัญมาก เพราะหากมีคนรู้ข้อมูลส่วนตัวของเรา อาจนำไปใช้ในทางที่ไม่ดีได้ ตัวอย่างข้อมูลส่วนตัว: ชื่อ-นามสกุล: ชื่อจริงและนามสกุลของเรา ที่อยู่: บ้านเลขที่ ถนน ตำบล อำเภอ จังหวัด รหัสไปรษณีย์ เบอร์โทรศัพท์: เบอร์โทรศัพท์บ้านหรือเบอร์โทรศัพท์มือถือของเรา วันเดือนปีเกิด: วัน เดือน และปีที่เราเกิด รูปภาพ: รูปถ่ายของเรา ข้อมูลโรงเรียน: ชื่อโรงเรียน ชั้นเรียน...

พัฒนาอินโฟกราฟิกให้ปัง! ด้วยการรับฟังและปรับปรุงผลงาน

ความสำคัญของการรับฟังความคิดเห็น: ช่วยให้เข้าใจมุมมองและความต้องการของผู้ฟัง ช่วยให้เห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของผลงาน ช่วยให้สามารถปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้น ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็น: 1. เปิดใจรับฟัง: ตั้งใจฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างตั้งใจ หลีกเลี่ยงการโต้แย้งหรือตัดสินความคิดเห็น 2. จดบันทึก: จดบันทึกความคิดเห็นที่สำคัญ เพื่อนำมาพิจารณา 3. วิเคราะห์ความคิดเห็น: แยกแยะความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ พิจารณาว่าความคิดเห็นใดที่สามารถนำมาปรับปรุงผลงานได้ 4. ปรับปรุงผลงาน: นำความคิดเห็นที่ได้มาปรับปรุงผลงานให้ดียิ่งขึ้น ทดสอบผลงานที่ปรับปรุงแล้วกับกลุ่มเป้าหมาย 5. ขอบคุณผู้ให้ความคิดเห็น: แสดงความขอบคุณต่อผู้ที่ให้ความคิดเห็น แสดงให้เห็นว่าความคิดเห็นของพวกเขาได้รับการนำไปใช้ประโยชน์ เทคนิคการรับฟังความคิดเห็น: ตั้งคำถามปลายเปิด เพื่อให้ผู้ฟังแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ แสดงความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้ฟัง สรุปความคิดเห็นของผู้ฟัง เพื่อให้แน่ใจว่าเข้าใจถูกต้อง ขอคำแนะนำเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน การนำเสนอผลงาน และรับฟังความคิดเห็น หลังจากนำเสนอผลงาน Infographic เสร็จ ควรเปิดโอกาศให้ผู้ร่วมรับชมผลงานนั้น ได้แสดงความคิดเห็น จดบันทึกคำถาม และข้อสงสัยต่างๆ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขผลงาน กิจกรรม: ให้นักเรียนนำเสนออินโฟกราฟิกที่ตนเองสร้าง และรับฟังความคิดเห็นจากเพื่อนๆ หรือครู ให้นักเรียนปรับปรุงอินโฟกราฟิกของตนเองตามความคิดเห็นที่ได้รับ ให้นักเรียนสะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นและการปรับปรุงผลงาน คำถามทบทวน: ทำไมการรับฟังความคิดเห็นจึงสำคัญ? มีขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นอย่างไร? มีเทคนิคอะไรบ้างในการรับฟังความคิดเห็น?...

About ครูออฟ 1711 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.