หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :
  1. การทำงานของคอมพิวเตอร์แม้ว่ามนุษย์จะเป็นผู้พัฒนาคอมพิวเตอร์ โดยคอมพิวเตอร์ต้องทำงาน ตามคำสั่งที่มนุษย์ออกแบบขึ้น แต่คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ถูกต้อง แม่นยำตามโปรแกรมที่เขียนขึ้น   และสามารถทำงานซ้ำ ๆ ได้รวดเร็ว
  2. การทำงานของคอมพิวเตอร์จะต้องทำงานตามนตอนวิธีหรืออัลกอริทึมที่มนุษย์ออกแบบขึ้น โดยจะต้องวิเคราะห์ปัญหาที่ต้องการจะแก้ไข รวมถึงข้อมูลนำเข้า การประมวลผล และข้อมูลส่งออก เพื่อนำไปเขียนวิธีการเป็นข้อความหรือผังงานการสั่งงานคอมพิวเตอร์
  3. การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีเครื่องมืออยู่หลายชนิด เช่น เว็บไซต์ makecode สามารถเขียนโปรแกรมโดยการวางบล็อกคำสั่ง โปรแกรมที่ออกแบบขึ้นสามารถนำไปใช้กับบอร์ดสมองกลได้ใช้ทำโครงการต่าง ๆ ได้ หรือเว็บไซต์สำหรับเขียนโปรแกรม เช่น https://code.org   โปรแกรม Scratch หรือการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูง
  4. เว็บไซต์ https://code.org เป็นเว็บไซต์สำหรับการฝึกเขียนโปรแกรมโดยการใช้บล็อกคำสั่งมาต่อกัน เพื่อสั่งให้โปรแกรมทำงาน ซึ่งง่ายต่อการเข้าใจมากกว่าการเขียนด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง
  5. การเขียนโปรแกรมบางครั้งอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการเขียนลำดับขั้นตอนผิด เรียงลำดับคำสั่งผิด การตรวจสอบอาจทำได้โดยการตรวจสอบผลลัพธ์ของการทำงานทีละขั้นตอน
  6. การหาและแก้ไขข้อผิดพลาดของโปรแกรมเป็นทักษะที่ต้องฝึกฝน ถ้าเราแก้ปัญหาของผู้อื่น หรือฝึกตรวจหาข้อผิดพลาดจากโปรแกรมของผู้อื่นจะช่วยพัฒนาทักษะการหาสาเหตุของปัญหาได้ดียิ่งขึ้น
  7. การเขียนโปรแกรมเบื้องต้นมีเครื่องมือสำหรับการเขียนมากมาย โปรแกรมสแครช (Scratch)  เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่นำมาฝึกเขียนโปรแกรมได้ง่าย โดยการออกแบบอัลกอริทึมแล้วนำบล็อกคำสั่งที่เกี่ยวข้องมาวาง เพื่อให้โปรแกรมทำงาน
  8. การประมวลผลของคอมพิวเตอร์จะต้องใช้หน่วยความจำในการเก็บข้อมูล เช่น การเขียนโปรแกรมประมวลผลทางคณิตศาสตร์ ถ้าต้องการรับข้อมูลเข้าไปประมวลผล ข้อมูลที่ป้อนเข้าไปแต่ละค่าจะเก็บไว้ในหน่วยความจำ การแทนตำแหน่งของหน่วยความจำแต่ละตำแหน่งจะใช้ตัวแปรเพื่อให้สะดวกในการอ้างอิง
  9. การเขียนโปรแกรมคำนวณหาพื้นที่รูปสามเหลี่ยม เมื่อป้อนค่าความยาวฐานและความสูงของรูปสามเหลี่ยมค่าที่ป้อนเข้าไปจะเก็บไว้ในตัวแปรแล้วนำมาประมวลผล ค่าที่ได้จากการประมวลผลจะเก็บไว้ในตัวแปรเพื่อนำมาแสดงผลทางจอภาพ
  10. การเขียนโปรแกรมนับเลข 1 ถึง 10 เราจะเริ่มนับค่า 1 ก่อน จากนั้นเพิ่มค่าขึ้นครั้งละ 1 ค่า แล้วกลับมานับซ้ำ โดยการนับซ้ำแต่ละครั้งจะตรวจสอบว่าค่าที่นับได้เกิน 10 จริงหรือไม่   ถ้าจริงให้หยุดนับและจบการทำงาน
  11. การเขียนโปรแกรมหาผลรวมตัวเลข ถ้าต้องการหาค่าผลรวมตัวเลข 10 จำนวน จะต้องวนซ้ำ 10 ครั้ง  โดยมีตัวแปรสำหรับนับการวนซ้ำและกำหนดจำนวนครั้งของการวนซ้ำได้ และสามารถนำมาใช้สำหรับทำซ้ำตามจำนวนครั้งที่กำหนดได้ทันที
  12. การเขียนโปรแกรมหาตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.) นั้น สามารถหาค่าตัวเลขที่หารจำนวนเต็มทั้งสองค่าได้ลงตัว อาจใช้วิธีการวนซ้ำไปเรื่อย ๆ แล้วลดค่าตัวหารขึ้นจนพบค่าที่หารแล้วเหลือเศษเป็นศูนย์ หรือหารได้ลงตัวแล้วนำค่าทั้งหมดมาหารตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)
  13. ตัวละครหรือสไปรต์ของโปรแกรม Scratch สามารถเปลี่ยนภาพได้โดยใช้การเปลี่ยนคอสตูมหรือลักษณะของตัวละคร สำหรับตัวละครของโปรแกรมเราสามารถวาดขึ้นมาเองหรือนำรูปแบบที่มีอยู่แล้วมาใช้ได้
  14. การเขียนโปรแกรมให้ตัวละครเคลื่อนที่เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ใช้ศึกษาการเขียนโปรแกรมและเห็นผลลัพธ์ได้อย่างชัดเจน โดยการเคลื่อนที่นั้นสามารถกำหนดจำนวนก้าวหรือขั้นตอนของการเคลื่อนที่ได้ แล้วใช้ตัวแปรในการเปลี่ยนจำนวนขั้น โดยมีการตรวจสอบเงื่อนไข ถ้าชนขอบของเวทีให้ตัวละครสะท้อนกลับแล้วเดินหน้าต่อ โดยทำซ้ำไปเรื่อย ๆ
  15. การพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์จะต้องมีการออกแบบเกม ออกแบบเนื้อเรื่อง และเขียนโปรแกรมโดยเกมส่วนใหญ่มักจะมีการสุ่มภาพ หรือสุ่มตัวละครต่าง ๆ แล้วนำมาแสดงเป็นแอนิเมชัน  เช่น การแสดงตัวละครแล้วเปลี่ยนภาพของตัวละครเป็นรูปร่างต่าง ๆ หรือการสุ่มตัวเลขแล้วมีการแสดงผลต่าง ๆ
  16. การหาตัวอักษรบนคีย์บอร์ดของคอมพิวเตอร์มักเป็นปัญหาของผู้ที่ยังใช้คีย์บอร์ดไม่คล่องการเล่นเกมฝึกพิมพ์สามารถช่วยแก้ปัญหาได้ เกมฝึกพิมพ์ทำได้หลายวิธี สำหรับวิธีการง่าย ๆ อาจให้คอมพิวเตอร์สุ่มตัวอักษรขึ้นมา แล้วให้ผู้ใช้ลองพิมพ์ตัวอักษรเข้าไป

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหาแล้ว นักเรียนสามารถตอบคำถามต่อไปนี้ได้

  1.  นักเรียนอธิบายการทำงานของคอมพิวเตอร์
  2. การเขียนอัลกอริทึมเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์มีความสำคัญอย่างไร
  3. นักเรียนเคยใช้เครื่องมือใดในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
  4. เว็บไซต์ https://code.org เป็นการเขียนโปรแกรมในลักษณะใด
  5. เมื่อนักเรียนทดลองรันโปรแกรมแล้วไม่แสดงผลลัพธ์ตามที่ต้องการ นักเรียนจะทำอย่างไร
  6. การตรวจสอบความผิดพลาดของโปรแกรมมีประโยชน์อย่างไร
  7. นักเรียนสามารถนำการเขียนโปรแกรมด้วย Scratch มาประยุกต์ใช้กับการเรียนได้อย่างไร
  8. นักเรียนสามารถใช้ตัวแปรและตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์เขียนโปรแกรมอะไรบ้าง
  9. การเขียนโปรแกรมคำนวณพื้นที่รูปสามเหลี่ยมมีประโยชน์อย่างไร
  10. การเขียนโปรแกรมนับเลข 1 ถึง 10 มีเงื่อนไขอย่างไร
  11. ถ้าต้องการเขียนโปรแกรมให้หาผลรวมของตัวเลขที่ป้อนเข้าไปตามจำนวนครั้งที่กำหนดจะเขียนอัลกอริทึมและโปรแกรมได้อย่างไร
  12. การเขียนโปรแกรมหาตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.) มีตัวแปรกี่ตัว อะไรบ้าง
  13. นักเรียนสามารถเปลี่ยนภาพของตัวละครได้อย่างไร
  14. นักเรียนสามารถกำหนดจำนวนก้าวของตัวละครได้อย่างไร
  15. ถ้านักเรียนสามารถสร้างเกมคอมพิวเตอร์ได้ นักเรียนจะสร้างเกมอะไร เพราะเหตุใดจึงสร้างเกมนั้น
  16. โปรแกรมฝึกพิมพ์มีประโยชน์อย่างไร

โครงสร้างการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา

รายละเอียดวันที่สอน
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การทำงานของคอมพิวเตอร์15 มิย.65
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง การเขียนอัลกอริทึมเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์22 มิย.65
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์29 มิย.65
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง การเขียนโปรแกรมแบบมีเงื่อนไข6 กค.65
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม13 กค.65
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง การฝึกหาข้อผิดพลาดของโปรแกรม20 กค.65
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch27 กค.65
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 8 เรื่อง ตัวแปรและตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์3 สค. 65
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 เรื่อง การเขียนโปรแกรมคำนวณพื้นที่รูปสามเหลี่ยม10 สค. 65
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 10 เรื่อง การเขียนโปรแกรมนับเลข 1 ถึง 1017 สค. 65
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 11 เรื่อง การเขียนโปรแกรมหาผลรวมตัวเลข24 สค. 65
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 12 เรื่อง การเขียนโปรแกรมหาตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)31 สค. 65
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 13 เรื่อง การเขียนโปรแกรมตัวละครเปลี่ยนท่าทาง7 กย. 65
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 14 เรื่อง การเขียนโปรแกรมเคลื่อนที่แบบมีเงื่อนไข14 กย. 65
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 15 เรื่อง การพัฒนาโปรแกรม21 กย. 65
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 16 เรื่อง การพัฒนาโปรแกรมฝึกพิมพ์28 กย. 65

เนื้อหาการศึกษาเรื่อง การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา

  1. การทำงานของคอมพิวเตอร์
  2. การเขียนอัลกอริทึมเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์
  3. การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์
  4. การเขียนโปรแกรมแบบมีเงื่อนไข
  5. การตรวจสอบข้อผิดพลาดของโปรแกรม
  6. การฝึกหาข้อผิดพลาดของโปรแกรม
  7. การเขียนโปรแกรมด้วย Scratch
  8. ตัวแปรและตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์
  9. การเขียนโปรแกรมคำนวณพื้นที่รูปสามเหลี่ยม
  10. การเขียนโปรแกรมนับเลข 1 ถึง 10
  11. การเขียนโปรแกรมหาผลรวมตัวเลข
  12. การเขียนโปรแกรมหาตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.)
  13. การเขียนโปรแกรมตัวละครเปลี่ยนท่าทาง
  14. การเขียนโปรแกรมเคลื่อนที่แบบมีเงื่อนไข
  15. การพัฒนาโปรแกรม
  16. การพัฒนาโปรแกรมฝึกพิมพ์

การประเมินผล

มาตรฐานตัวชี้วัดคะแนนเก็บปลายภาค
ว4.2ป.6/2 ออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่าย เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันตรวจหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมและแก้ไข73
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

วิธีการสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดี

การสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดีเป็นสิ่งสำคัญมากในยุคปัจจุบัน เพราะโซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว การใช้โซเชียลมีเดียอย่างมีสติและสร้างสรรค์ จะช่วยให้เราได้รับประโยชน์สูงสุดและหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบ นี่คือวิธีการสร้างนิสัยการใช้โซเชียลมีเดียที่ดี: 1. กำหนดเวลา: ตั้งเวลา: กำหนดเวลาที่ชัดเจนสำหรับการใช้โซเชียลมีเดียแต่ละครั้ง เช่น 1 ชั่วโมงต่อวัน ใช้แอปพลิเคชันช่วย: มีแอปพลิเคชันมากมายที่ช่วยในการติดตามและจำกัดเวลาการใช้งานโซเชียลมีเดีย 2. สร้างกิจวัตร: หาอะไรทำ: หากิจกรรมอื่นๆ ที่สนใจทำ เช่น อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย พบปะเพื่อน เพื่อลดเวลาที่ใช้ไปกับโซเชียลมีเดีย วางแผนวัน: วางแผนกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน...

วิธีจัดการกับความรู้สึก FOMO (Fear of Missing Out) บนโซเชียลมีเดีย

ความรู้สึก FOMO หรือกลัวว่าจะพลาดอะไรดีๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวบนโซเชียลมีเดียนั้นเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่การปล่อยให้ความรู้สึกนี้ครอบงำชีวิตประจำวันมากเกินไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตได้ ดังนั้น มาลองดูวิธีจัดการกับความรู้สึก FOMO กันค่ะ 1. ตระหนักถึงความเป็นจริง: ภาพที่เห็นบนโซเชียลมีเดียไม่ใช่ชีวิตจริงทั้งหมด: สิ่งที่เราเห็นบนโซเชียลมีเดียส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของคนอื่นๆ การเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นๆ บนโซเชียลมีเดียอาจทำให้เรารู้สึกด้อยค่า ทุกคนมีช่วงเวลาที่ดีและไม่ดี: ไม่มีใครมีความสุขตลอดเวลา การเห็นคนอื่นมีความสุขตลอดเวลาบนโซเชียลมีเดียอาจทำให้เรารู้สึกว่าชีวิตของตัวเองไม่ดีพอ 2. จำกัดเวลาในการใช้โซเชียลมีเดีย: กำหนดเวลา: ตั้งเวลาที่แน่นอนสำหรับการใช้โซเชียลมีเดียแต่ละครั้ง สร้างกิจวัตร: หากิจกรรมอื่นๆ ที่สนใจทำ...

ปัญหาการติดโซเชียลมีเดีย: ภัยเงียบที่คุกคามชีวิตประจำวัน

การติดโซเชียลมีเดีย กลายเป็นปัญหาที่พบเห็นได้บ่อยในยุคดิจิทัล ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้คนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพจิต สังคม และการทำงาน การใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไปอาจนำไปสู่ปัญหาต่างๆ ดังนี้ ผลกระทบต่อสุขภาพจิต ความเครียดและวิตกกังวล: การเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่นบนโซเชียลมีเดียอาจนำไปสู่ความรู้สึกไม่ดีต่อตนเองและก่อให้เกิดความเครียด ภาวะซึมเศร้า: การใช้เวลากับโซเชียลมีเดียมากเกินไปอาจทำให้ขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในชีวิตจริง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า การนอนไม่หลับ: การใช้โทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตก่อนนอนซึ่งมีแสงสีฟ้าจะรบกวนการหลับพักผ่อน ความรู้สึกโดดเดี่ยว: แม้จะมีเพื่อนมากมายบนโซเชียลมีเดีย แต่การขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในชีวิตจริงอาจทำให้รู้สึกโดดเดี่ยว ผลกระทบต่อสังคม ความสัมพันธ์ส่วนตัว: การใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับโซเชียลมีเดียอาจทำให้ความสัมพันธ์กับครอบครัวและเพื่อนฝูงเสื่อมลง ผลการเรียน: นักเรียนที่ใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไปอาจมีสมาธิในการเรียนลดลงและผลการเรียนตกต่ำ ประสิทธิภาพในการทำงาน: การตรวจสอบโซเชียลมีเดียบ่อยครั้งขณะทำงานจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ผลกระทบต่อสุขภาพกาย ปัญหาสายตา: การจ้องหน้าจอมือถือเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการตาแห้ง ปวดตา และสายตาสั้น ปวดคอและไหล่:...

วิธีการใช้โซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัย

การใช้โซเชียลมีเดียเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว แต่ก็มีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ หากเราไม่ระมัดระวังในการใช้งาน ดังนั้น มาดูวิธีการใช้โซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัยกันค่ะ 1. ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว จำกัดผู้ที่สามารถเห็นโพสต์: เลือกให้เฉพาะเพื่อนหรือกลุ่มคนที่คุณไว้วางใจเท่านั้นที่สามารถเห็นโพสต์ของคุณได้ ปรับการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของแต่ละแอป: แต่ละแอปจะมีการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวที่แตกต่างกันไป ควรศึกษาและปรับตั้งค่าให้เหมาะสมกับความต้องการของคุณ ตรวจสอบการตั้งค่าบ่อยๆ: โซเชียลมีเดียอาจมีการปรับเปลี่ยนการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวอยู่เสมอ ควรตรวจสอบเป็นประจำ 2. สร้างรหัสผ่านที่แข็งแรง หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมูลส่วนตัว: อย่าใช้วันเกิด ชื่อสัตว์เลี้ยง หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ มาเป็นรหัสผ่าน ใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกัน: สำหรับแต่ละบัญชีโซเชียลมีเดีย ควรใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกัน เปิดใช้งานการยืนยันตัวตนสองชั้น: เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเข้าสู่ระบบ 3. ระวังการคลิกลิงก์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ตรวจสอบ...

About ครูออฟ 1606 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.