หน่วย 1 งานบ้าน ป.6

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง “งานบ้าน” แล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า

  1. การดูแลรักษาสมบัติภายในบ้าน  เป็นวิธีการใช้งานและทำความสะอาดเครื่องเรือน   เครื่องใช้ไฟฟ้าที่อยู่ภายในบ้านอย่างถูกต้อง เหมาะสม โดยใช้ทักษะการจัดการในการทำงาน และทักษะการทำงานร่วมกัน เพื่อยืดอายุการใช้งานของสมบัติภายในบ้าน ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย โดยไม่ต้องซื้อใหม่
  2. การมีมารยาทในการทำงานกับครอบครัวและผู้อื่นจะทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และมีความสุขในการทำงาน

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง “งานบ้าน” แล้ว นักเรียนสามารถตอบคำถามต่อไปนี้ได้

  1. นักเรียนจะดูแลรักษาสมบัติภายในบ้านอย่างไรให้มีอายุการใช้งานยาวนาน
  2. การดูแลรักษาสมบัติภายในบ้านมีประโยชน์อย่างไร
  3. ทักษะการจัดการในการทำงานมีความสำคัญอย่างไร
  4. ทักษะการทำงานร่วมกันมีความสำคัญต่องานอย่างไร
  5. หากบ้านของนักเรียนมีเครื่องเรือนที่ไม่ได้รับการดูแลและทำความสะอาด นักเรียนจะทำอย่างไร
  6. หากเครื่องเรือนไม้มีคราบเป็นวง นักเรียนจะทำความสะอาดอย่างไร
  7. นักเรียนจะดูแลรักษาเครื่องเรือนหวายอย่างไรให้ใช้งานได้นาน
  8. เครื่องเรือนหนังแท้และหนังเทียมมีวิธีการดูแลรักษาเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
  9. หากเครื่องเรือนบุผ้ามีขนของสัตว์เลี้ยงติดอยู่จะทำความสะอาดอย่างไร
  10. นักเรียนมีวิธีดูแลรักษาเครื่องเรือนอย่างไรให้มีอายุการใช้งานยาวนาน
  11. การดูแลรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้ามีผลดีอย่างไร
  12. การดูแลรักษาเครื่องเรือนและเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างถูกวิธีมีผลดีอย่างไร
  13. นักเรียนชอบทำงานร่วมกับบุคคลที่มีนิสัยอย่างไร
  14. เพราะเหตุใดเราจึงควรมีมารยาทที่ดีในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

เนื้อหาหน่วยที่ 1 งานบ้าน (14 ชั่วโมง)

  1. การดูแลรักษาสมบัติภายในบ้าน
  2. ประโยชน์ของการดูแลรักษาสมบัติภายในบ้าน
  3. ทักษะการจัดการในการทำงาน
  4. ทักษะการทำงานร่วมกัน
  5. การดูแลรักษาและทำความสะอาดเครื่องเรือน
  6. เครื่องเรือนไม้
  7. เครื่องเรือนหวาย
  8. เครื่องเรือนหนัง
  9. เครื่องเรือนบุผ้า
  10. เครื่องเรือนโลหะ
  11. เครื่องใช้ไฟฟ้า
  12. การดูแลรักษาเครื่องเรือนและเครื่องใช้ไฟฟ้า
  13. มารยาทในการทำงานร่วมกับสมาชิกในครอบครัว
  14. มารยาทในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1547 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.