การทำงานของคอมพิวเตอร์ ป.5

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

คำศัพท์ที่ต้องรู้

คำศัพท์คำอ่านคำแปล
body mass indexบอดี แมส อินเด็กดัชนีมวลกาย
calculatorแคล คิวเล เทอะเครื่องคิดเลข
commandคอมมานดคำสั่ง
complementaryคอมพลิเมน โทรการแต่งเติม
mistakeมิสเทคข้อผิดพลาด

การทำงานของคอมพิวเตอร์จะรับข้อมูลเข้ามา จากนั้นประมวลผลแล้วส่งข้อมูลออกไป โดยการรับข้อมูลจะรับผ่านทางหน่วยรับเข้า เช่น แป้นพิมพ์ เมาส์ แล้วมาประมวลผลด้วยหน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู แล้วส่งข้อมูลออกมาทางหน่วยส่งออก เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์ ลำโพง

รูปที่1 การทำงานของคอมพิวเตอร์

การที่คอมพิวเตอร์จะทำงานได้จะต้องมีโปรแกรมเป็นตัวสั่งงาน ถ้าต้องการพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาเองจะมีสองขั้นตอนหลัก คือ ขั้นตอนแรกต้องนึกถึงสิ่งที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ทำงาน โดยกำหนดออกมาเป็นขั้นตอนการทำงานขั้นตอนที่สองเปลี่ยนจากขั้นตอนการทำงานให้เป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ

ลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์จะคล้ายกับการทำงานของมนุษย์เมื่อมนุษย์จะทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งต้องมีลำดับการทำงานซึ่งออกแบบไว้อย่างเป็นขั้นตอนเช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ ถ้าต้องการให้ทำงานลักษณะใดจะต้องมีโปรแกรมที่ออกแบบการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนมาให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ได้ออกแบบไว้

การออกแบบขั้นตอนการทำงานเบื้องต้นให้กับคอมพิวเตอร์ เราอาจพิจารณาว่าต้องการให้คอมพิวเตอร์รับค่าใดเข้าไป แล้วต้องการให้ประมวลผลอย่างไร ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาเป็นแบบใด

ตัวอย่าง ถ้าต้องการออกแบบโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์ทำงานคล้ายเครื่องคิดเลข โดยบวกตัวเลขสองจำนวน ระหว่าง 10 กับ 20 ออกแบบขั้นตอนการทำงานได้ ดังนี้

การรับข้อมูลจากหน่วยรับเข้า เช่น แป้นพิมพ์มาเก็บในเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องสร้างตัวแปรขึ้นมา จากตัวอย่างนี้ จะต้องมีตัวแปรสองตัวเพื่อเก็บข้อมูลสองค่า โดยการออกแบบขั้นตอน

โดยทั่วไปการออกแบบโปรแกรมจะต้องวาง storyboard หมายถึง ลำดับขั้นการทำงานที่ละขั้นตอนการออกแบบขั้นตอนการทำงานเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อัลกอริทึม เราอาจเขียนออกมาเป็นแผนภาพ หรือเขียนลำดับขั้นตอนเป็นคำพูด เพื่อให้เข้าใจการทำงานถ้าผลลัพธ์ออกมามีค่าผิดพลาดเราอาจตรวจสอบจากอัลกอริทึมได้เช่นกัน

การทำงานของคอมพิวเตอร์ หากเปรียบเทียบกับการทำงานของร่างกายเราจะเปรียบเทียบได้กับอวัยวะใดบ้าง

(หน่วยรับเข้า ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง
หน่วยประมวลผลกลาง ได้แก่ สมอง
หน่วยส่งออก ได้แก่ ปาก มือ)

แนวข้อสอบ

Storyboard หมายถึงข้อใด
1) ลำดับขั้นการทำงานที่ละขั้นตอน
2) การออกแบบภาพวาด
3) วาดแผนภาพความคิด
4) จัดลำดับความสำคัญ

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1546 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.