การใช้สีคู่ตรงข้าม ป.6

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

สีคู่ตรงข้ามจะให้ความรู้สึกขัดแย้ง ดังนั้น การใช้สีคู่ตรงข้ามจึงนิยมใช้สีใดสีหนึ่งให้มากกว่าอีกสีหนึ่งในพื้นที่การระบายสี หรือใช้สีคู่ตรงข้ามโดยมีการผสมสีคู่นั้นในอัตราส่วนที่ต่างกันเพื่อลดความขัดแย้งของสี ทำให้ภาพมีความกลมกลืนสวยงาม

การใช้สีคู่ตรงข้ามหรือสีตัดกัน

วิธีการใช้สีคู่ตรงข้ามหรือสีตัดกัน สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

วิธีที่ 1 ใช้ในปริมาณต่างกัน โดยใช้สีใดสีหนึ่งจำนวน 80% ส่วนอีกสีหนึ่งต้องเป็น 20% จึงจะเกิดคุณค่าทางศิลปะ

สีคู่ตรงข้าม
รูปที่ 1 สีคู่ตรงข้าม

วิธีที่ 2 ลดปริมาณค่าของสีลงหากจำเป็นต้องใช้สีคู่ใดคู่หนึ่งในปริมาณเท่า ๆ กัน ต้องลดค่าของสีลงด้วยการผสมสีขาวหรือสีเทาดำ

วิธีที่ 3 ผสมซึ่งกันและกัน เพื่อลดความรุนแรงที่เกิดจากการตัดกันของสีภายในภาพ

การใช้สีตรงข้ามสร้างลวดลายให้ดูโดดเด่น
รูปที่ 2 การใช้สีตรงข้ามสร้างลวดลายให้ดูโดดเด่น

การใช้สีคู่ตรงข้ามในปริมาณที่ต่างกัน

การใช้สีคู่ตรงข้ามในปริมาณที่ต่างกัน คือใช้สีใดสีหนึ่งมากกว่าอีกสีหนึ่ง จะเพิ่มความน่าสนใจให้กับภาพมากขึ้น

การใช้คู่สีในปริมาณที่แตกต่างกันระหว่างสีแดงและสีเขียว
รูปที่ 2 การใช้คู่สีในปริมาณที่แตกต่างกันระหว่างสีแดงและสีเขียว
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

3.1.5 การประมวลผลและการนำเสนอข้อมูล

ข้อมูล (DATA) แบ่งตามลักษณะของข้อมูล ได้ 2 ประเภท ครอบคลุม (1) ข้อมูลเชิงปริมาณ และ (2) ข้อมูลเชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) ข้อมูลที่วัดออกมาเป็นตัวเลข ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) อยู่ในรูปข้อความ อธิบายความหมาย บรรยายความคิดเห็น...

3.1.4 การใช้ฟังก์ชัน (Function) ในการคำนวณ

Function (ฟังก์ชัน) คือ ชุดคำสั่งในการคำนวณอัตโนมัติเป็นฟังก์ชันสำเร็จรูปที่ได้เขียนเอาไว้เรียบร้อยแล้ว เพียงแต่ใส่ชื่อฟังก์ชัน แล้วระบุค่าที่จะนำไปคำนวณตามรูปแบบของฟังก์ชัน หรือเรียกว่า Argument (อาร์กิวเมนต์) ฟังก์ชันพื้นฐาน ประกอบด้วย Sum (ผลรวม) หาผลรวมตัวเลข Max (ค่ามากที่สุด) หาค่าสูงสุดของตัวเลขที่เลือก Min (ค่าที่น้อยที่สุด) หาค่าต่ำสุดของตัวเลขที่เลือก                                                    Average (ค่าเฉลี่ย) หาค่าเฉลี่ย Count Numbers...

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เทคโนโลยีรอบตัว

แนวคิด 1.1 เทคโนโลยี เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างหรือพัฒนาขึ้น ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งชิ้นงานหรือวิธีการ เพื่อใช้แก้ปัญหา สนองความต้องการ หรือเพิ่มความสามารถในการทำงานของมนุษย์ 1.2 ระบบทางเทคโนโลยี เป็นกลุ่มของส่วนต่าง ๆ ตั้งแต่สองส่วนขึ้นไป ประกอบเข้าด้วยกันและทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยในการทำงานของระบบทางเทคโนโลยีจะประกอบไปด้วย ตัวป้อน (input) กระบวนการ (process) และผลผลิต (output)...

ประโยชน์ของการวิเคราะห์ระบบทางเทคโนโลยีที่ครอบคลุมยิ่งขึ้น

สิ่งที่คุณกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งของประโยชน์ที่สำคัญของการวิเคราะห์ระบบทางเทคโนโลยี แต่ยังมีประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายที่น่าสนใจ ดังนี้ ประโยชน์หลักๆ ของการวิเคราะห์ระบบ เข้าใจระบบอย่างลึกซึ้ง: ทำให้เห็นภาพรวมของระบบทั้งหมด ไม่ใช่แค่ส่วนประกอบ ทำให้สามารถระบุจุดแข็ง จุดอ่อน และโอกาสในการปรับปรุงได้อย่างชัดเจน เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน: ไม่เพียงแต่แก้ไขปัญหา แต่ยังช่วยให้ระบบทำงานได้รวดเร็วขึ้น ลดต้นทุน และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ปรับปรุงคุณภาพ: ช่วยให้ได้ผลผลิตหรือบริการที่มีคุณภาพสูงขึ้น ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ สนับสนุนการตัดสินใจ: ช่วยในการเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม วางแผนการพัฒนาระบบ และประเมินผลการลงทุน สร้างนวัตกรรม: ช่วยให้มองเห็นโอกาสในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ...

About ครูออฟ 1574 Articles
https://www.kruaof.com

2 Comments

Leave a Reply

Your email address will not be published.