การเขียนโปรแกรมตรวจสอบเลขคู่และเลขคี่

ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

เมื่อนักเรียนศึกษาเรื่อง การเขียนโปรแกรมตรวจสอบเลขคู่และเลขคี่ แล้ว นักเรียนสามารถบอกได้ว่า

การเขียนโปรแกรมเพื่อตรวจสอบค่าตัวเลขที่รับเข้าทางแป้นพิมพ์ว่าตัวเลขนั้นเป็นเลขคู่หรือเลขคี่     โปรแกรมลักษณะนี้สามารถใช้ Scratch เขียนได้เช่นกัน

เนื้อหาการศึกษาเรื่องการเขียนโปรแกรมตรวจสอบเลขคู่และเลขคี่

ถ้าต้องการเขียนโปรแกรมเพื่อตรวจสอบค่าตัวเลขที่รับเข้าทางแป้นพิมพ์ว่าตัวเลขนั้นเป็นเลขคู่หรือเลข โปรแกรมลักษณะนี้สามารถใช้ Scratch เขียนได้เช่นกัน หากพิจารณาเงื่อนไขข้อแตกต่างของเลขคู่และเลขคี่แล้ว จะพบว่าเลขคู่เมื่อนำมาหารด้วย 2 แล้วจะหารได้ลงตัว หรือหารแล้วมีเศษจากการหารเป็นศูนย์นั่นเอง โดยเราสามารถเขียนอัลกอริทึมเทียบกับคำสั่งของ Scratch ได้ดังนี้

ผังงานการตรวจสอบเลขคู่และเลขคี่ พร้อมทั้งเปรียบเทียบกับ บล็อกคำสั่งใน scratch
รูปที่ 1 ผังงานการตรวจสอบเลขคู่เลขคี่

วิธีการเขียนโปรแกรม

  1. เปิดโปรแกรม Scratch พร้อมประกาศตัวแปรขึ้นมา 2 ตัว โดยตัวแปร x ใช้เก็บตัวเลขที่รับเข้าไป ตัวแปร m เก็บเศษที่ได้จากการ หารด้วย 2
  2. เขียนโปรแกรมรับค่ามาเก็บในตัวแปร x โดยลากบล็อกคำสั่งมาวางดังภาพ
Code โปรแกรม Scratch  รับค่าจากแป้นพิมพ์ (Keyboard)
รูปที่ 1 รับค่า Input จาก Keyboard
  1. กำหนดให้ m เก็บเศษที่ได้จากการหาร x ด้วย 2 โดยการหาเศษที่ได้จากการหารจะใช้บล็อกคำสั่ง หารเอาเศษ ซึ่งอยู่ในกลุ่มคำสั่งโอเปอร์เรเตอร์ ดังภาพ
Code โปรแกรม Scratch กำหนดตัวแปร M ให้เก็บค่าเศษเหลือจากการหาร 2
รูปที่ 2 ตั้งค่าให้ตัวแปร M เก็บค่าเศษเหลือจากการหาร 2
  1. นำตัวแปร X มาวาง แล้วเติม 2 ลงไป

5. นำคำสั่งเงื่อนไข มาวาง โดยเลือกคำสั่ง

Code โปรแกรม Scratch บล็อกคำสั่งเงื่อนไข
รูปที่ 3 บล็อกคำสั่งเงื่อนไข ถ้า….แล้ว… มิฉะนั้น…. แล้ว
  1. นำตัวดำเนินการเท่ากับ มาวาง แล้วนำตัวแปร กับเลข 0 มาใส่เพื่อตรวจสอบว่าเศษจากการหารเป็นศูนย์หรือไม่
Code โปรแกรม Scratch  ตัวดำเนินการเท่ากับ (=)
รูปที่ 4 ตัวดำเนินการเท่ากับ (=)
  1. ถ้าเงื่อนไขเป็นจริง ให้ตอบว่าเป็นเลขคู่ ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จให้ตอบว่า
    เป็นเลขคี โดยนำบล็อกคำสั่ง แล้วเปลี่ยนข้อความเป็นเลขคู่ และเลขคี่ ดังภาพ
รหัสชุดคำสั่งโปรแกรม Scratch เพื่อตรวจสอบเลขคู่และเลขคี่ เวอร์ชันภาษาคอมพิวเตอร์
รูปที่ 5 รหัสชุดคำสั่งโปรแกรม Scratch เพื่อตรวจสอบเลขคู่และเลขคี่ เวอร์ชันภาษาคอมพิวเตอร์
รหัสชุดคำสั่งโปรแกรม Scratch เพื่อตรวจสอบเลขคู่และเลขคี่ เวอร์ชันภาษาไทย
รูปที่ 6 รหัสชุดคำสั่งโปรแกรม Scratch เพื่อตรวจสอบเลขคู่และเลขคี่ เวอร์ชันภาษาไทย
  1. ทดลองรันโปรแกรมแล้วป้อนค่าตัวเลขที่ต้องการตรวจสอบ
    เข้าไป โปรแกรมจะแสดงผลข้อมูลออกมา ดังภาพ
แสดงผลลัพธ์ (Output) การทำงานของโปรแกรมเลขคู่และเลขคี่
รูปที่ 7 แสดงผลลัพธ์ (Output) การทำงานของโปรแกรมเลขคู่และเลขคี่

คำถามชวนคิด

  1. มีตัวแปรกี่ตัว อะไรบ้าง
  2. ใช้เงื่อนไขอะไรในการตรวจสอบ
  3. การหารธรรมดา และ หารเอาเศษ แตกต่างกันอย่างไร
  4. การหารเอาเศษ มีชื่อเรียกภาษาคอมพิวเตอร์ว่าอย่างไร
ส่งต่อให้เพื่อนอ่าน :

หน่วยที่ 1 การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ป.6

  ว 4.2 ป.6/1 ตอนที่ 1.1 การออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา  1.1.1 การแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน 1.1.2 การใช้เหตุผลเชิงตรรกะ 1.1.3 แนวคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไขคิดของการทำงานแบบวนซ้ำ และเงื่อนไข 1.1.4 กระบวนการทำงานที่มีการทำงานแบบวนซ้ำหรือเงื่อนไข 1.1.5 ตัวอย่างปัญหา สาระสำคัญ การออกแบบวิธีการแก้ปัญหา เป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ควรมี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ...

หน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ป.6

ขั้นตอนการศึกษาประจำหน่วยที่ 2 การเขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ภาคเรียนที่ 1 ใช้เวลาเรียน 14 ชั่วโมง ขั้นตอนที่ 1 ให้นักเรียนศึกษาเนื้อหารายละเอียดในเอกสารประกอบการสอน วิชาวิทยาการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ จากเว็บไซต์ www.kruaof.com ขั้นตอนที่ 2 ทำแบบทดสอบหลังเรียน ตามตัวชี้วัด นักเรียนต้องทำแบบทดสอบผ่านทุกตัว ตัวชี้วัด ตอนที่ 2.1 การออกแบบโปรแกรม 2.1.1 การออกแบบโปรแกรมด้วยการเขียนเป็นข้อความ 2.1.2 การออกแบบโปรแกรมด้วยผังงาน ตอนที่...

การต่อต้านการทุจริตในฐานะพลเมือง: พลังเล็กๆ ที่เปลี่ยนแปลงโลกได้

การต่อต้านการทุจริต ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเลยนะทุกคน แม้ว่าเราจะเป็นเด็กตัวเล็กๆ แต่เราก็มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ดีได้เช่นกัน การเป็นพลเมืองที่ดีหมายถึงการรู้จักทำสิ่งที่ถูกต้องและช่วยกันต่อต้านสิ่งที่ไม่ดี ไม่ว่าเราจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม ทำไมเราต้องต่อต้านการทุจริต? เพื่อให้สังคมน่าอยู่: การทุจริตทำให้สังคมไม่เป็นธรรม คนดีเสียเปรียบ คนไม่ดีได้เปรียบ การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้สังคมของเรามีความยุติธรรมมากขึ้น เพื่ออนาคตของประเทศ: การทุจริตจะทำให้ประเทศชาติเสียหาย พัฒนาช้าลง การต่อต้านการทุจริตจะช่วยให้ประเทศของเราเจริญก้าวหน้า เพื่อตัวเราเอง: การเป็นคนดี ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิด จะทำให้เรามีความสุขใจและเป็นที่ยอมรับของสังคม เราจะต่อต้านการทุจริตได้อย่างไรบ้าง? แจ้งเบาะแส: ถ้าเราเห็นใครทำผิดกฎหมาย หรือทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง เราสามารถแจ้งให้ผู้ใหญ่ที่เราไว้วางใจทราบ หรือแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ไม่ร่วมมือกับการกระทำที่ผิดกฎหมาย:...

การสร้างสังคมที่ดี: ปลูกฝังเด็กให้เป็นพลเมืองดี

การสร้างสังคมที่ดีเริ่มต้นจากการปลูกฝังให้เด็กๆ มีจิตสำนึกที่ดีและเข้าใจถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันในสังคมค่ะ การสอนให้เด็กๆ เรียนรู้หลักการสำคัญต่างๆ เช่น การเคารพซึ่งกันและกัน การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข และการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จะเป็นการเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและสามารถสร้างสรรค์สังคมที่ดีได้ในอนาคต หลักการสำคัญในการสร้างสังคมที่ดีที่เด็กควรเรียนรู้ การเคารพซึ่งกันและกัน: หมายถึงการให้เกียรติผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน ครู ผู้ใหญ่ หรือคนในสังคม โดยไม่แบ่งแยก เชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือฐานะทางสังคม การเคารพผู้อื่นจะช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างสรรค์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข:...

About ครูออฟ 1547 Articles
https://www.kruaof.com

Be the first to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published.